ผลต่างระหว่างรุ่นของ "Kueng hilights"
(ไม่แสดง 12 รุ่นระหว่างกลางโดยผู้ใช้ 1 คน) | |||
แถว 24: | แถว 24: | ||
นอกจากทีม KU Racing จะสามารถคว้ารางวัลที่ 2 จากประเทศมาเลเซียแล้ว ยังมีทีม KU Racing อีกทีม ที่คว้ารางวัลชมเชยจากการการแข่งขัน Bosch Thailand Cordless Racing 2011 จัดขึ้นเมื่อวันที่ 2-3 กรกฎาคม 2554 โดยบริษัทโรเบิร์ต บ๊อช (ประเทศไทย) จำกัด ณ ศูนย์สรรพสินค้าเซ็นทรัลเวิลด์ โดยสมาชิกทีม KU Racing ที่ร่วมการแข่งขัน ประกอบด้วยนิสิตภาควิชาวิศวกรรมเครื่องกล ชั้นปีที่ 3 จำนวน 4 คน คือ นายอนุรักษ์ คุณานพรัตน์ นายทศพล ตรีโกศล นายณัฐชัย อึ้งโสภาพงษ์ และนายอาทิตย์เก้า อ้นมณี | นอกจากทีม KU Racing จะสามารถคว้ารางวัลที่ 2 จากประเทศมาเลเซียแล้ว ยังมีทีม KU Racing อีกทีม ที่คว้ารางวัลชมเชยจากการการแข่งขัน Bosch Thailand Cordless Racing 2011 จัดขึ้นเมื่อวันที่ 2-3 กรกฎาคม 2554 โดยบริษัทโรเบิร์ต บ๊อช (ประเทศไทย) จำกัด ณ ศูนย์สรรพสินค้าเซ็นทรัลเวิลด์ โดยสมาชิกทีม KU Racing ที่ร่วมการแข่งขัน ประกอบด้วยนิสิตภาควิชาวิศวกรรมเครื่องกล ชั้นปีที่ 3 จำนวน 4 คน คือ นายอนุรักษ์ คุณานพรัตน์ นายทศพล ตรีโกศล นายณัฐชัย อึ้งโสภาพงษ์ และนายอาทิตย์เก้า อ้นมณี | ||
+ | |||
+ | == นวัตกรรมทางวิทยาศาสตร์การกีฬา โดยนิสิตวิศวกรรมศาสตร์ ชมรมโรบอท == | ||
+ | |||
+ | จากการที่ในปัจจุบันนี้มีการนำเครื่องมือและอุปกรณ์ด้านวิทยาศาสตร์การกีฬามาใช้พัฒนาทักษะความสามารถด้านกีฬาและสุขภาพมากขึ้น แต่เครื่องมือเหล่านั้นส่วนใหญ่ยังต้องนำเข้าจากต่างประเทศและมีราคาแพง จุดนี้เองทำให้ทีม Performer นิสิตชมรมโรบอท จากคณะวิศวกรรมศาสตร์ ได้คิดค้นพัฒนาเครื่องมือวิทยาศาสตร์การกีฬาดังกล่าวขึ้น เพื่อให้คนไทยได้มีโอกาสใช้เครื่องมือที่มีราคาถูกลงแต่ประสิทธิภาพเท่าเทียมกับสินค้าที่นำเข้าจากต่างประเทศ | ||
+ | |||
+ | ผลงาน เครื่องทดสอบสมรรถภาพ 7 สถานี ที่ทีมนิสิตพัฒนาขึ้นคว้ารางวัลชนะเลิศในการประกวดโครงการนวัตกรรมด้านวิทยาศาสตร์การกีฬา จัดโดยสำนักงานพัฒนาการกีฬาและนันทนาการ กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา เพื่อส่งเสริม สนับสนุน การประดิษฐ์คิดค้นทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการกีฬา ในการสร้างเครื่องมือและอุปกรณ์ทางด้านวิทยาศาสตร์การกีฬาสำหรับใช้ในประเทศให้มีศักยภาพเท่าเทียมต่างชาติ ลดการนำเข้าสินค้าจากต่างประเทศ เมื่อวันที่ 8 กันยายน 2552 | ||
+ | |||
+ | ทีม Performer ประกอบด้วยนิสิตจากหลายภาควิชาร่วมมือกันนำความรู้ความสามารถแต่ละอย่างมาบูรณาการ ส่วนที่ท้าทายและยากที่สุดในการสร้างเครื่องมือนี้ คือ การต้องค้นคว้าเพิ่มเติมรวมถึงสอบถามจากผู้เชี่ยวชาญในเรื่องเกี่ยวกับวิทยาศาสตร์การกีฬา และต้องนำความรู้เหล่านั้นมาใช้ร่วมกับความรู้ในสาขาวิศวกรรมศาสตร์ด้วย | ||
+ | |||
+ | เครื่องทดสอบสมรรถภาพ 7 สถานี ประกอบด้วย | ||
+ | |||
+ | 1. สถานีวิ่งระยะ 50 เมตร โดยในสถานี้จะมีการติดตั้งเซ็นเซอร์ 2 ชุด 4 ตัว โดยเซ็นเซอร์ชุดแรกจะติดตั้งที่จุดเริ่มต้น และอีกจุดติดตั้งที่จุด 50 เมตร สามารถปรับระดับได้ | ||
+ | |||
+ | 2. สถานีวิ่งระยะ 1,000 เมตร จะมีเซ็นเซอร์ 1 ชุด 2 ตัว ตรงจุดเริ่มและจุดเข้าเส้นชัย | ||
+ | |||
+ | 3. สถานีกระโดดไกล จะมีเซ็นเซอร์วัดระยะทางติดอยู่ที่แผ่นยางสำหรับกระโดด | ||
+ | |||
+ | 4. สถานีวัดความอ่อนตัวของร่างกาย จะมีตัววัดระยะยืดหยุ่น มีหน้าจอแสดงผล และสามารถพับเก็บได้ | ||
+ | |||
+ | 5. สถานีวิ่งเก็บของ จะมีแผงวงจรตรวจจับขณะผู้ใช้หยิบท่อนไม้ที่ฝังโลหะ | ||
+ | |||
+ | 6. สถานีดึงข้อ บริเวณคานที่ใช้ดึงข้อ สามารถปรับระดับได้ โดยมีเซ็นเซอร์ตรวจจับ 3 ชุด | ||
+ | |||
+ | 7. สถานีลุก-นั่ง 30 วินาที จะมีเบาะรองรับผู้ใช้ เพื่อลดการกระแทก สามารถพับเก็บได้ และมีเซ็นเซอร์ตรวจวัด 3 ชุด | ||
+ | |||
+ | ในการพัฒนาเครื่องมือ ได้เน้นถึงความปลอดภัยต่อผู้ใช้งานเป็นหลัก โดยแบ่งหน้าที่การพัฒนา ออกเป็น 4 ด้าน คือ 1. ด้านกลไกการออกแบบ คือ ออกแบบอุปกรณ์ทดสอบให้ถูกกับสรีระร่างกาย 2. ด้านอิเล็กทรอนิกส์ คือ การออกแบบวงจรและการจ่ายไฟ 3. ด้านไมโครคอนโทรลเลอร์ คือ การประมวลผลกลางและการส่งข้อมูลการทดสอบผ่านระบบวิทยุไร้สาย (Wireless) และ 4. ด้านฐานข้อมูล คือ การเขียนโปรแกรมประมวลผลร่วมกับผลสอบ โดยรับข้อมูลจากผู้ ใช้ทั้ง อายุ เพศ น้ำหนัก และส่วนสูง โดยเครื่องที่ทางทีมฯ สร้างเสร็จโดยสมบูรณ์นั้น ใช้งบประมาณในการสร้าง จำนวน 50,000 บาท ประสิทธิภาพทัดเทียมกับสินค้านำเข้า ซึ่งมีราคาสูงถึง 3-4 แสนบาท | ||
+ | |||
+ | เครื่องมือที่พัฒนาขึ้นนี้ สามารถนำมาใช้ในการฝึกและทดสอบ ตลอดจนการวิเคราะห์ความสามารถในแต่ละทักษะของแต่ละชนิดกีฬา รวมทั้งการนำผลการทดสอบสมรรถภาพมาปรับปรุงแก้ไขข้อบกพร่องของนักกีฬา และลดอาการบาดเจ็บจากการทดสอบสมรรถภาพ การวินิจฉัย หรือการประเมินผลของการบาดเจ็บ ตลอดจนการฟื้นฟูบำบัดร่างกายได้ | ||
+ | |||
+ | ล่าสุด ผลงานเครื่องมือทดสอบสมรรถภาพ 7 สถานี กำลังอยู่ในขั้นตอนของการจดสิทธิบัตร และคาดว่าจะมีการนำไปใช้จริง ณ ศูนย์ออกกำลังกายเพื่อสุขภาพ ม.เกษตร และ คณะวิทยาศาสตร์การกีฬา ม.เกษตร กำแพงแสน | ||
+ | |||
+ | สมาชิกทีม Performer มีนิสิตจำนวน 10 คน รวมตัวกันจาก 3 ภาควิชา ประกอบด้วย นายพงษ์ศิริ เตี๋ยมนา หัวหน้าทีม จากภาควิชาวิศวกรรมเครื่องกล, นายวุฒิชัย นนทะโคตร จากภาควิชาวิศวกรรมการบินและอวกาศ, นายภูษิต สุเสวนานนท์, นายปัญณะภาคย์ ธงวาส, นายประพัฒน์พล ทิพย์เนตรมงคล, นายอธิมาตร ติระนาถวิทยากุล, นายเมธา พูนพานิช, นายศรัณย์ สุวิทยพันธุ์, และ นายทศชัย อินดี นิสิตภาควิชาวิศวกรรมไฟฟ้า รวมถึงมีนิสิตชั้นปีที่ 1 ที่ยังไม่ได้แยกสาขาวิชาหนึ่งคน คือ นายเพิ่มทรัพย์ สุขแสงจันทร์ โดยมี อ.ดร.ดุสิต ธนเพทาย และ อ.ปัญญา เหล่าอนันต์ธนา อาจารย์ประจำภาควิชาวิศวกรรมไฟฟ้า เป็นอาจารย์ที่ปรึกษา | ||
+ | |||
+ | == จักรยานหุ่นยนต์ไร้คนขับ == | ||
+ | ทีม CRV Bike ได้พัฒนาจักรยานหุ่นยนต์ไร้คนขับเพื่อเข้าร่วมการแข่งขันจักรยานหุ่นยนต์ชิงแชมป์ประเทศไทย ครั้งที่ 1 (BicyRobo Thailand Championship) ที่จัดขึ้นในเดือนสิงหาคม 2553 โดยสมาคมวิชาการหุ่นยนต์แห่งประเทศไทย, ภาควิชาเมคาโทรนิกส์ คณะวิศวกรรมศาสตร์และเทคโนโลยี สถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเชีย (เอไอที), และบริษัทซีเกท เทคโนโลยี (ประเทศไทย) จำกัด การเข้าร่วมการแข่งขันครั้งนี้ของทีม CRV Bike นับเป็นความท้าทายในการนำความรู้ในตำรามาใช้งานจริง เนื่องจากเป็นครั้งแรกของประเทศไทยและครั้งแรกของโลกที่มีการแข่งขันเช่นนี้ | ||
+ | |||
+ | จักรยานที่พัฒนาขึ้นเพื่อเข้าแข่งขันนี้จะต้องสามารถวิ่งและทรงตัวอยู่ได้ด้วยล้อสองล้อโดยไม่ล้ม และต้องวิ่งผ่านเส้นทางไปยังจุดหมายที่กำหนดให้โดยไม่ต้องใช้คนบังคับ จักรยานหุ่นยนต์ของทีม CRV Bike สามารถวิ่งด้วยความเร็ว 10 – 15 กิโลเมตรต่อชั่วโมง โดยมีส่วนประกอบต่างๆ คือ มอเตอร์ขับเคลื่อน มอเตอร์บังคับเลี้ยว โซ่ส่งกำลัง ชุดบังคับวิทยุ เซ็นเซอร์นับรอบล้อ Gyro Sensor Accelerometer Microcontroller ชุด Driver มอเตอร์ โครงประกอบ Hovercraft และมอเตอร์ Brushless ซึ่งมีน้ำหนักประมาณ 50 กิโลกรัม | ||
+ | |||
+ | นายศักรินทร์ ทินมณี นิสิตวิศวกรรมเครื่องกล ชั้นปีที่ 4 ในฐานะหัวหน้าทีม เปิดเผยว่า “ส่วนที่ยากที่สุดของการพัฒนาจักรยานหุ่นยนต์ไร้คนขับ คือ ทางทีมเราไม่มีความรู้โดยตรงในด้านนี้มาก่อน ต้องพยายามค้นคว้าหาความรู้เพิ่มเติมจากแหล่งต่างๆ ทั้งในเรื่องของการออกแบบการควบคุม การออกแบบวงจรไฟฟ้า และในการพัฒนาแต่ละขั้นล้วนเจอปัญหาใหม่ๆ ตลอดเวลา ทั้งยังเป็นช่วงของการฝึกงาน ทำให้เรามีเวลาน้อยมากในการรวมกลุ่มกันเพื่อพัฒนาจักรยานหุ่นยนต์ครั้งนี้” | ||
+ | |||
+ | “ประโยชน์ที่ได้รับจากการเข้าร่วมแข่งขันครั้งนี้ คือ สามารถนำความรู้ไปพัฒนาต่อยอดได้ในหลายด้าน เช่น ด้าน Mechanics ได้ใช้ความรู้เกี่ยวกับ Gyroscopic Effect ไปใช้ในการออกแบบการควบคุมไม่ให้อุปกรณ์ที่ไม่มีความเสถียร ให้สามารถ มีความเสถียรได้ รวมทั้งสามารถนำไปออกแบบยานพาหนะแบบอื่นๆ ได้ ด้าน Electrical สามารถนำความรู้ไปประยุกต์ใช้กับอุปกรณ์ต่างๆ ได้อย่างเหมาะสม และ นำความรู้ด้าน Control ไปพัฒนาต่อยอดสิ่งที่มีความซับซ้อนยิ่งขึ้น” สมาชิกในทีมกล่าวทิ้งท้าย | ||
+ | |||
+ | ในการแข่งขันครั้งนี้นิสิตวิศวฯ ทีม CRV Bike ได้นำผลงานจักรยานหุ่นยนต์ไร้คนขับ คว้ารางวัลรองชนะเลิศมาครอง สมาชิกทีม CRV Bike ประกอบด้วย นิสิตวิศวกรรม เครื่องกล ชั้นปีที่ 4 จำนวน 4 คน คือ นายศักรินทร์ ทินมณี นายนภนต์ คอรัตนกุลชัย นายศศิน เหลืองไพบูลย์ และนายธีรพงษ์ พรพิมาน และนิสิตวิศวกรรมไฟฟ้า ชั้นปีที่ 4 จำนวน 1 คน คือ นายวัชระ แจ่มนุช พร้อมด้วยนักวิจัยจากภาควิชาวิศวกรรมไฟฟ้า คือ นายธนัตถ์ ศรีสุขสันต์ โดยมี ผศ.ดร.วิทิต ฉัตรรัตนกุลชัย ผศ.ดร.วิชัย ศิวะโกศิษฐ อาจารย์ประจำภาควิชาวิศวกรรมเครื่องกล และ ผศ.ดร.พีระยศ แสนโภชน์ อาจารย์ประจำภาควิชาวิศวกรรมไฟฟ้า เป็นอาจารย์ที่ปรึกษาทีม | ||
+ | |||
+ | == eyeFeel ซอฟต์แวร์ช่วยแก้ปัญหาการสื่อสารสำหรับผู้พิการทางการได้ยิน == | ||
+ | |||
+ | ทีม Skeek นิสิตสาขาวิชาวิศวกรรมซอฟต์แวร์และความรู้ ภาควิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ พัฒนาซอฟต์แวร์สำหรับช่วยแก้ปัญหาการสื่อสาร ระหว่างผู้ที่พิการทางการได้ยินกับคนปกติ ผ่านระบบที่แปลงเสียงพูดและจับความเคลื่อนไหวของใบหน้าผู้พูดให้เป็นตัวอักษรและภาษามือที่สร้างด้วยแอนิเมชั่นหรือภาพเคลื่อนไหวในรูปแบบทันท่วงทีเสมือนการได้เห็นและได้ยินจริง โดยการใช้เทคโนโลยีจดจำเสียงพูด (speech recognition) และระบบแปลงข้อความเป็นภาษามือ (sign language animation) เข้ามาช่วยแปลความหมายในการสื่อสาร | ||
+ | |||
+ | หลักการทำงาน คือ เมื่อผู้ใช้พูดใส่ไมโครโฟนที่ตั้งอยู่หน้าเว็บแคม ส่วนระบบจดจำเสียงพูดจะแปลงสัญญาณเสียงเป็นข้อความ จากนั้นระบบ sign language จะแปลงข้อความปกติเป็นข้อความตามไวยากรณ์ภาษามือ และสร้างภาพเคลื่อนไหวของข้อความนั้นขึ้นมา หลังจากนั้น ระบบจะแสดงทั้งข้อความและภาพภาษามือเคลื่อนไหวตรงหน้าของผู้พูดโดยใช้ระบบตรวจจับใบหน้า (face detection) เพื่อให้ผู้พิการทางหูมีความรู้สึกว่าสิ่งที่ได้เห็นและได้ยินจากผู้พูดนั้นเป็นจริง ซึ่งเป็นที่มาของชื่อซอฟต์แวร์นี้ คือ eyeFeel คือ สามารถรู้สึก รับรู้และเข้าใจการสื่อสารจากคนปกติได้ด้วยตา | ||
+ | |||
+ | แม้ว่าซอฟต์แวร์ eyeFeel ประกอบด้วยส่วนย่อย ๆ หลายส่วน ทั้งส่วนจดจำเสียงพูด ระบบภาษามือ และระบบตรวจจับใบหน้า แต่ส่วนที่ยากที่สุดคือสร้างสรรค์แนวความคิด (Idea) ในการพัฒนาซอฟต์แวร์ขึ้นมา | ||
+ | |||
+ | การพัฒนาซอฟต์แวร์ eyeFeel ได้พัฒนาด้วยโปรแกรมภาษา C# โดยใช้ Microsoft Visual Studio 2008 และ Expression Blend 3 เพื่อส่งเข้าแข่งขัน Imagine Cup 2010 ซึ่งมี theme ในการแข่งขัน คือ Imagine a world where technology helps solve the toughest problems หรือการนำเทคโนโลยีมาใช้ในการแก้ปัญหาที่ยากที่สุด ทีม Skeek ใช้เวลาในการคิดค้นและพัฒนาซอฟต์แวร์เพียง 3 เดือนก่อนเข้าร่วมแข่งขัน คือในช่วงเดือนกุมภาพันธ์ 2553 | ||
+ | |||
+ | ซอฟต์แวร์ eyeFeel คว้ารางวัลชนะเลิศจากการแข่งขัน Microsoft World Imagine Cup 2010 ที่ประเทศโปแลนด์ | ||
+ | |||
+ | ทีม Skeek ประกอบด้วย นิสิตสาขาวิชาวิศวกรรมซอฟต์แวร์และความรู้ ภาควิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ จำนวน 4 คน คือ นายพิชัย โสดใส นายกฤตธี ศิริสิทธิ์ นายนทวรรธ ศรีจาด และนายธนะสรรค์ ดิลกพินิจนันท์ โดยมี รศ.ดร.อัศนีย์ ก่อตระกูล อาจารย์ประจำภาควิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ เป็นอาจารย์ที่ปรึกษา | ||
+ | |||
+ | == หุ่นยนต์เตะฟุตบอล SKUBA แชมป์โลก 3 สมัย == | ||
+ | |||
+ | หนึ่งในผลงานที่น่าภูมิใจของคณะวิศวกรรมศาสตร์ ที่สร้างชื่อเสียงระดับโลกติดต่อกันเป็นเวลาหลายปี ก็คือทีมหุ่นยนต์เตะฟุตบอล SKUBA ที่คว้าแชมป์โลก RoboCup Soccer ประเภท small size league ติดต่อกันเป็นสมัยที่ 3 เมื่อเดือนกรกฎาคม 2554 ที่ผ่านมา | ||
+ | |||
+ | ในการแข่งขันหุ่นยนต์เตะฟุตบอลประเภท small size league นั้น แต่ละทีมมีหุ่นยนต์ 5 ตัว แบ่งแยกทีมด้วยสีสัญลักษณ์ที่ต่างกัน ตัวถังเป็นรูปทรงกระบอกเส้นผ่าศูนย์กลาง 180 มิลลิเมตร และสูงไม่เกิน 150 มิลลิเมตร แข่งขันกันบนสนามซึ่งเป็นพื้นพรม ขนาด 6.05 x 4.05เมตร หุ่นยนต์จะถูกควบคุมและสั่งการโดยคอมพิวเตอร์ที่อยู่นอกสนาม และหุ่นยนต์แต่ละตัวจะติดต่อถึงกันด้วยระบบการสื่อสารไร้สาย โดยมีกล้องซึ่งติดตั้งอยู่เหนือสนามขึ้นไปที่ระดับ 4 เมตร เพื่อจับตำแหน่งในสนามของหุ่นยนต์ทุกตัวรวมทั้งลูกบอลด้วย | ||
+ | |||
+ | ทีม SKUBA มีหุ่นนักเตะ 5 ตัว และหุ่นสำรอง 5 ตัว ทางทีมได้มีการพัฒนาความสามารถของหุ่นยนต์อย่างต่อเนื่องทั้งด้านซอฟต์แวร์และฮาร์ดแวร์ ปัจจุบันหุ่นยนต์ของทีม SKUBA ได้พัฒนาตัวถังของหุ่นยนต์โดยใช้อลูมิเนียม อัลลอยด์ ทำให้หุ่นยนต์ทนต่อการกระแทกได้มากขึ้น ส่วนล้อของหุ่นยนต์ได้ใช้ยางคู่ ทำให้หุ่นยนต์เคลื่อนที่ไปยังตำแหน่งที่ต้องการได้ถูกต้องถึง 99 % และมีระบบ Top Control ซึ่งช่วยในการเคลื่อนที่บนพื้นสนามที่เป็นพรม แม้ว่าพื้นพรมจะมีความหนาบางแตกต่างกัน หุ่นยนต์จะวิ่งได้ในความเร็วที่เท่าเดิม ไม่มีการสะดุด นอกจากนี้ ยังมีการใช้กล้องจับตำแหน่งหุ่นยนต์รุ่นใหม่ สามารถเก็บภาพได้มากกว่าเดิมทำให้มองเห็นเกมการแข่งขันได้เร็วขึ้น รวมถึงการเขียนโปรแกรม AI หรือปัญญาประดิษฐ์แบบใหม่ ให้หุ่นยนต์สามารถตัดสินเองในการแก้เกมการแข่งขันได้อย่างรวดเร็ว | ||
+ | |||
+ | และเคล็ดลับที่สำคัญของทีมคือ ทีม SKUBA มีการทำงานเป็นทีมที่ดีมาก ช่วยกันคิดและหาแนวทางในการตั้งรับการจู่โจมของฝ่ายตรงข้ามจากการศึกษาแผนการเล่นของทีมต่างๆ พร้อมทั้งคิดหาวิธีทำให้หุ่นยนต์ทีมของเราสามารถจู่โจมได้เร็วและแม่นยำมากขึ้นตลอดเวลา แม้สมาชิกในทีมจะเปลี่ยนไปเรื่อย ๆ เนื่องจากนิสิตได้จบการศึกษาไป ทีม SKUBA ก็ได้ส่งต่อความรู้จากรุ่นก่อน ๆ ไปยังนิสิตที่เข้ามาร่วมทีมรุ่นถัด ๆ ไป ทำให้สามารถสร้างผลงานได้อย่างต่อเนื่อง | ||
+ | |||
+ | นอกจากการแข่งฟุตบอลที่ทีม SKUBA ได้เป็นแชมป์โลกแล้ว ทีม SKUBA ยังเคยได้รับรางวัลอื่น ๆ จาการแข่งขันอีกเช่น รางวัล Best Extended Team Description ในปี 2009 ซึ่งเป็นการนำเสนอผลการศึกษาวิจัยของหุ่นยนต์นักเตะทีม SKUBA ซึ่งจะมีทีมอื่นๆ จากทั่วโลกนำไปใช้เป็นทฤษฎีอ้างอิงในเรื่องการเคลื่อนไหวของหุ่นยนต์เตะฟุตบอล รวมทั้งได้รับรางวัลเทคนิคยอดเยี่ยมจากการแข่งขันในปีต่าง ๆ อีกหลายครั้ง เช่น รางวัลระบบนำทางยอดเยี่ยม และรางวัลผสมทีมยอดเยี่ยม เป็นต้น | ||
+ | |||
+ | นิสิตวิศวกรรมศาสตร์ ทีม SKUBA ในปีล่าสุดประกอบด้วย นายพีรพัฒน์ กิตติบริลักษณ์ นิสิตชั้นปีที่ 4 ภาควิชาวิศวกรรมเครื่องกล นายกฤษฎิ์ ชัยโส นิสิตชั้นปีที่ 3 ภาควิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ นายธีรธัช อริยชาติผดุงกิจ(หัวหน้าทีม) นิสิตชั้นปีที่ 3 ภาควิชาวิศวกรรมไฟฟ้า นายศุภวิชญ์ ศิริวรรณ นิสิตชั้นปีที่ 2 ภาควิชาวิศวกรรมไฟฟ้า นายภาวัต เลิศอริยศักดิ์ชัย นิสิตชั้นปีที่ 2 ภาควิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ นายธนากร ปัญญาเปียง นิสิตชั้นปีที่ 2 ภาควิชาวิศวกรรมซอฟแวร์และความรู้ นายณัฐพล รัญเสวะ นิสิตชั้นปีที่ 4 ภาควิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ และนายคัคนะ ธิมาชัย นิสิตชั้นปีที่ 4 ภาควิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์โดยมี อาจารย์ปัญญา เหล่าอนันต์ธนา และ อาจารย์กาญจนพันธุ์ สุขวิชชัย เป็นอาจารย์ที่ปรึกษา | ||
+ | |||
+ | == หุ่นยนต์ต้นแบบเพื่อเกษตรกรรมความแม่นยำสูง == | ||
+ | นิสิตวิศวกรรมศาสตร์ กลุ่มบ่มเพาะนวัตกรรม ทีม KU Agrobot โชว์ไอเดียเยี่ยมคิดค้นพัฒนา “หุ่นยนต์ต้นแบบเพื่อเกษตรกรรมความแม่นยำสูง” (Robo Farming) เพื่อลดต้นทุนและใช้ทรัพยากรให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุดในงานด้านเกษตรกรรม | ||
+ | |||
+ | Robo Farming หรือ หุ่นยนต์ต้นแบบเพื่อเกษตรกรรมความแม่นยำสูงที่ทางทีมได้พัฒนาขึ้น ประกอบด้วยหุ่นยนต์ 2 ตัว คือหุ่นยนต์ปฐพีกับหุ่นยนต์วารี ซึ่งหุ่นทั้งสองตัวนี้ทำหน้าที่ต่างกัน | ||
+ | |||
+ | 1. หุ่นยนต์ปฐพี ใช้สำหรับขุดเจาะสำรวจหน้าดิน เก็บตัวอย่างความอุดมสมบูรณ์ของดิน ตามตำแหน่งพิกัดที่ได้จาก GPS และนำตัวอย่างดินที่เก็บได้มาวิเคราะห์หาค่าธาตุอาหาร ธาตุอาหารหลักหรือธาตุปุ๋ย ซึ่งมี 3 ธาตุ คือ ไนโตรเจน (N) ฟอสฟอรัส (P) และโปรตัสเซียม (K) ธาตุอาหารในกลุ่มนี้ พืชต้องการในปริมาณมาก และดินมักจะมีไม่เพียงพอต่อความต้องการของพืช จึงต้องเพิ่มเติมให้แก่พืชโดยการใช้ปุ๋ย รวมทั้งการหาค่าความเป็นกรด-ด่าง (PH) และความเค็มของดิน หลังจากนั้นนำค่าที่ได้นั้นมา Search ฐานข้อมูลการใช้ธาตุอาหาร (ปุ๋ย) ที่เหมาะสม ว่าดินนั้นเหมาะกับพืชไร่ชนิดใด พื้นที่ใดเหมาะแก่การเพาะปลูก ลักษณะของดินเป็นอย่างไร รวมทั้งทราบถึงความลาดเอียงของพื้นที่ การใกล้แหล่งน้ำ สภาพภูมิอากาศ ณ ช่วงนั้น มีระยะเวลาการปลูกผ่านมานานเท่าใด เป็นต้น ซึ่งทั้งหมดถูกจัดเก็บในฐานข้อมูลในรูปแบบแผนที่ GIS ที่มีค่าที่เป็นปัจจุบันเสมอ | ||
+ | |||
+ | 2. หุ่นยนต์วารี มีหน้าที่ให้ปุ๋ย ให้น้ำและแก้สภาพความเป็นกรด-ด่างของดิน แก้ไขความเค็มของดินเนื่องจากการใส่ปุ๋ยที่มากเกินไป รวมทั้งชดเชยหรือซ่อมแซมให้ดินกลับมาอุดมสมบูรณ์ให้เหมาะสมกับการปลูกพืชชนิดที่ต้องการตามค่าที่ต้องการ โดยไปเสริมสิ่งที่ขาดที่ได้มาจากค่าวิเคราะห์ที่เก็บจากตัวอย่างดินโดยหุ่นยนต์ปฐพี นอกจากนั้นยังป้องกันแมลงโดยวิธีไม่ให้เกิดปริมาณปุ๋ยที่ใช้เกินความต้องการของพืชซึ่งเป็นอาหารของแมลงและทำให้แมลงแพร่พันธุ์เร็ว รวมถึงหลักการให้ปุ๋ยของหุ่นยนต์เป็นแบบปุ๋ยสั่งตัด ซึ่งช่วยลดค่าต้นทุนปุ๋ยและไม่ทำให้ดินเสื่อมสภาพ | ||
+ | |||
+ | ความยากและท้าทายของการคิดค้นและพัฒนาหุ่นยนต์ทั้งสองตัว คือ การสร้างหุ่นยนต์ที่ต้องทำให้การเกษตรนั้นๆ เกิดผลผลิตสูงสุด ทั้งปริมาณและคุณภาพ ต้องลดต้นทุนการผลิต รวมทั้งต้องเกิดการใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่าและรักษาสภาพแวดล้อมไปพร้อมๆ กัน ซึ่งจุดมุ่งหมายในอนาคต คือ การพัฒนาหุ่นยนต์ให้สามารถทำงานได้ด้วยตัวเองโดยไม่ต้องมีคนบังคับ และทำงานอย่างอื่นนอกเหนือจากการเก็บตัวอย่างดินและการฉีดปุ๋ย คือ เดินได้เองภายในไร่และสามารถเช็ควัชพืชได้ | ||
+ | |||
+ | ผลงานชิ้นนี้คว้ารางวัลรองชนะเลิศอันดับ 1 จากเวทีฉลาดคิดแบบคนรุ่นใหม่ Brand’s GEN ปี 3 เมื่อเดือนตุลาคม 2553 | ||
+ | |||
+ | นิสิตทีม KU Agrobot ประกอบด้วย นายพงษ์ศิริ เตี๋ยมนา นิสิตวิศวกรรมเครื่องกล หัวหน้าทีม, นายอธิมาตร ติระนาถวิทยากุล, นายภูชิต สุเสวนานนท์, นายปัญณะภาคย์ ธงวาส, และนายเพิ่มทรัพย์ สุขแสงจันทร์ นิสิตวิศวกรรมไฟฟ้า โดยมี อ.ปัญญา เหล่าอนันต์ธนา อาจารย์ประจำภาควิชาวิศวกรรมไฟฟ้า เป็นอาจารย์ที่ปรึกษา | ||
+ | |||
+ | หุ่นยนต์ทั้งสองตัวพัฒนาโดยใช้อุปกรณ์ที่หลากหลาย มีต้นทุนต่ำ มีรายละเอียดดังนี้ | ||
+ | |||
+ | 1. หุ่นยนต์ปฐพี มีขนาดกว้าง 60 ซม. ยาว 65 ซม. สูง 90 ซม. ประกอบด้วย ล้อเครื่องตัดหญ้า อะลูมิเนียม มอเตอร์กระจกไฟฟ้าของรถยนต์ ชุดโรตารี่ ประกอบด้วย เฟืองขับเคลื่อน แท่งอะลูมิเนียม มอเตอร์ขับ เป็นต้น ต้นทุน 30,000 บาท ใช้ไฟจากแบตเตอรี่ จำนวน 2 ก้อน | ||
+ | |||
+ | 2. หุ่นยนต์วารี มีขนาดกว้าง 80 ซม. ยาว 70 ซม. สูง 65 ซม. ประกอบด้วย ล้อเครื่องตัดหญ้า อะลูมิเนียม มอเตอร์กระจกไฟฟ้าของรถยนต์ ชุดฉีดปุ๋ย ประกอบด้วย กระบองของเครื่องกรองน้ำ มอเตอร์ที่ปัดน้ำฝนรถยนต์ เป็นต้น ต้นทุน 20,000 บาท ใช้ไฟจากแบตเตอรี่ จำนวน 2 ก้อน |
รุ่นแก้ไขปัจจุบันเมื่อ 07:39, 6 มกราคม 2555
เนื้อหา
- 1 รถยนต์ประหยัดเชื้อเพลิงโดยทีมนิสิตวิศวกรรมเครื่องกล KU Racing
- 2 นวัตกรรมทางวิทยาศาสตร์การกีฬา โดยนิสิตวิศวกรรมศาสตร์ ชมรมโรบอท
- 3 จักรยานหุ่นยนต์ไร้คนขับ
- 4 eyeFeel ซอฟต์แวร์ช่วยแก้ปัญหาการสื่อสารสำหรับผู้พิการทางการได้ยิน
- 5 หุ่นยนต์เตะฟุตบอล SKUBA แชมป์โลก 3 สมัย
- 6 หุ่นยนต์ต้นแบบเพื่อเกษตรกรรมความแม่นยำสูง
รถยนต์ประหยัดเชื้อเพลิงโดยทีมนิสิตวิศวกรรมเครื่องกล KU Racing
นิสิตวิศวกรรมเครื่องกล ทีม KU Racing นำความรู้ในตำราเรียนมาประยุกต์สร้างรถยนต์ประหยัดเชื้อเพลิงเข้าร่วมการแข่งขันในสนามแข่งขันระดับนานาชาติ คว้ารางวัลที่ 2 ประเภท E-Mobility Class Plug In Award จากการแข่งขันเชลล์อีโค-มาราธอน เอเชีย 2011 (Shell Eco-Marathon Asia 2011) จัดขึ้นโดยบริษัท เชลล์มาเลเซีย จำกัด เมื่อวันที่ 6-9 กรกฎาคม 2554 ณ ประเทศมาเลเซีย จากกว่าร้อยทีมจากเกือบ 20 ประเทศในแถบเอเชียที่เข้าร่วมการแข่งขันครั้งนี้
การแข่งขันจะเป็นการขับรถในสนามรอบเล็กของสนามแข่งขันเซปัง (Sepang International Circuit) ที่มาเลเซีย ครั้งละ 4 รอบ เป็นระยะทางรวม 11.8 กิโลเมตร โดยกำหนดให้ใช้เวลาไม่เกิน 28 นาที การเก็บสถิติจะใช้เป็นหน่วย km/kWh (กิโลเมตร/กิโลวัตต์ต่อชั่วโมง) โดยแต่ละทีมสามารถนำรถลงแข่งเพื่อเก็บสถิติได้ 5 ครั้ง
ในปีนี้สมาชิกในทีม KU Racing ได้วางแผนและปรับปรุงเพื่อให้สามารถเก็บสถิติการวิ่งได้ดีที่สุด โดยรถของทีม KU Racing เป็นรถที่ใช้พลังงานไฟฟ้า และทำสถิติได้ 45 km/kWh เป็นลำดับที่สองรองจากสิงคโปร์
รถยนต์ประหยัดเชื้อเพลิงของนิสิตวิศวฯ ทีม KU Racing ประกอบด้วย 4 ส่วนหลักๆ คือ 1. Frame หรือโครงสร้าง ทำจากเหล็กท่อ ขนาด 4 หุน ทำการออกแบบและวิเคราะห์ความแข็งแรงด้วยโปรแกรม Finite Element Analysis 2. Body หรือตัวถังรถ สร้างจากไฟเบอร์กลาส 3. ระบบไฟฟ้าและระบบเครื่องยนต์ ทีม KU Racing ใช้มอเตอร์ไฟฟ้าเป็นเครื่องยนต์ ใช้พลังงานจากแบตเตอรี่ Li-Polymer และ 4. ระบบ steering and tranmission การขับเคลื่อนรถใช้ระบบคล้ายรถโกคาร์ท รวมถึงล้อรถยนต์ได้ดัดแปลงมาจากล้อรถของจักรยานยนต์ให้เหมาะสมกับการใช้งาน
เปิดใจนิสิตทีม KU Racing
จาตุรันต์ หนึ่งในสมาชิกทีม KU Racing เล่าถึงการแข่งขันว่า "สิ่งที่ยากที่สุดในการแข่งขัน คือ การแข่งกับตัวเอง เนื่องจากรถยนต์ของทีมเราสร้างมาจากเทคโนโลยี และงบประมาณที่มีอย่างจำกัด ดังนั้น การสร้างรถให้ออกมาอย่างสมบูรณ์แบบพร้อมแข่งได้ คือ ความสำเร็จก้าวแรก และเมื่อถึงเวลาแข่งขัน ในสนามแข่งขันทุกคนต้องช่วยกันคิดและทำให้รถมีสมรรถนะในการขับขี่ให้มากที่ สุด"
โมลิโก หัวหน้าทีม KU Racing เล่าต่อว่า "ส่วนที่ใช้เวลาในการทำนานที่สุด คือ ส่วนตัวถังรถหรือ Body เนื่องจากทุกคนเป็นมือใหม่กันทุกคน โดยเริ่มจากการศึกษาและหาความรู้เพิ่มเติมและฝึกสร้างตัวถังรถกันตั้งแต่ ขั้นแรก จึงต้องใช้เวลามากในขั้นตอนนี้ โดยใช้เวลาหลังเลิกเรียนในการเรียนรู้ ฝึกหัดและสร้างรถยนต์คันนี้ โดยมีต้นทุนในการสร้างรถยนต์ประหยัดพลังงานคันนี้ ประมาณ 3 แสนบาท สมาชิกแต่ละคนไม่มีหน้าที่ตายตัว เวลาทำงาน ใครถนัดส่วนไหน จะรับผิดชอบและเป็นผู้นำในส่วนนั้น และจะช่วยกันทำทั้งทีม หากเกิดปัญหาระหว่างการสร้างรถยนต์สมาชิกทุกคนในทีมจะปรับความเข้าใจให้ตรง กันด้วยการคุยกันตรงๆ และช่วยกันแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้น
จากการแข่งขันครั้งนี้ การทำงานเป็นทีมเป็นเรื่องสำคัญมาก ทำให้ได้เรียนรู้ว่า การทำงานหลายๆ อย่าง เราไม่สามารถทำได้ด้วยตัวคนเดียวได้ หรืออาจจะทำได้แต่ไม่เก่งเท่าคนอื่น เนื่องจากแต่ละคนมีความถนัดที่แตกต่างกัน ดังนั้น หากเราสามารถวางแผนงาน ให้ทุกคนได้ทำงานในส่วนที่ตัวเองถนัด งานก็จะออกมาดี นอกจากนี้การทำงานร่วมกัน หากเกิดปัญหาและสามารถผ่านไปได้ด้วยดี ก็จะช่วยหล่อหลอมให้สมาชิกในทีมมีความรักและความสามัคคีมากขึ้นอีกด้วย”
สมาชิกในทีม KU Racing ช่วยกันเล่าต่อว่า “การได้ร่วมสร้างรถแข่งเข้าร่วมการแข่งขันครั้งนี้ นอกจากการสร้างรถแข่งตามที่ตั้งใจไว้แล้ว พวกเราทุกคนในทีมยังได้รู้จักคำว่า มิตรภาพ แม้ว่าบางครั้งจะมีปัญหาบ้าง แต่เราก็ช่วยกันแก้ปัญหาและผ่านพ้นมาได้ ทำให้เรียนรู้ว่า มิตรภาพและประสบการณ์ คือสิ่งที่พวกเราได้มา ส่วนรางวัลที่ได้รับ คือ กำไรที่เราได้มาเพิ่ม”
“นอกจากมิตรภาพ ความรู้และประสบการณ์เกี่ยวกับรถแล้ว เรายังมีโอกาสเปิดหูเปิดตา ได้เห็นการจัดการแข่งขันในระดับมืออาชีพ ได้เรียนรู้เกี่ยวกับเทคโนโลยีใหม่ๆ ที่เราสามารถนำมาปรับใช้และพัฒนารถแข่งของทีมเราต่อไป และอยากฝากรุ่นน้องว่า เวลา 4 ปีในรั้วมหาวิทยาลัยผ่านไปเร็วมาก เราควรจะกอบโกยประสบการณ์ให้ได้มากที่สุด นอกเหนือจากการเรียนแล้ว ควรร่วมทำกิจกรรมเพื่อเพิ่มพูนประสบการณ์ให้ชีวิตด้วย เพราะ “ความรู้ไม่ได้มีอยู่แต่ในห้องเรียน” จาตุรันต์ กล่าวส่งท้าย
สำหรับสมาชิกทีม KU Racing ที่ร่วมการแข่งขันเชลล์อีโค-มาราธอน เอเชีย 2011 ประกอบด้วยนิสิตวิศวกรรมเครื่องกล ชั้นปีที่ 3 จำนวน 2 คน คือ นายวศิน สีสุก และนายณัฐชานนท์ สิทธิสงคราม นิสิตชั้นปีที่ 4 จำนวน 8 คน คือ นายพงศธรณ์ ตรีคันทา นายโมลิโก ตัง (หัวหน้าทีม) นายณัฐพล ลมัยพันธ์ นายดิศนิติ โตวิวัฒน์ นายศุภกิจ สั้นดำ นายอภิสิทธิ์ บางเกิด นายจตุรันต์ สุขทอง นายรติ จัตตตุพรพงษ์ นายศิริวิช สุนทรยาตย์ และนางสาวสิริกร อัจฉริยะสมบัติ โดยมี อาจารย์ ดร.เจตวีย์ ภัครัชพันธุ์ และอาจารย์ ดร.ประพจน์ ขุนทอง อาจารย์ประจำภาควิชาวิศวกรรมเครื่องกล เป็นอาจารย์และที่ปรึกษาทีม
นอกจากทีม KU Racing จะสามารถคว้ารางวัลที่ 2 จากประเทศมาเลเซียแล้ว ยังมีทีม KU Racing อีกทีม ที่คว้ารางวัลชมเชยจากการการแข่งขัน Bosch Thailand Cordless Racing 2011 จัดขึ้นเมื่อวันที่ 2-3 กรกฎาคม 2554 โดยบริษัทโรเบิร์ต บ๊อช (ประเทศไทย) จำกัด ณ ศูนย์สรรพสินค้าเซ็นทรัลเวิลด์ โดยสมาชิกทีม KU Racing ที่ร่วมการแข่งขัน ประกอบด้วยนิสิตภาควิชาวิศวกรรมเครื่องกล ชั้นปีที่ 3 จำนวน 4 คน คือ นายอนุรักษ์ คุณานพรัตน์ นายทศพล ตรีโกศล นายณัฐชัย อึ้งโสภาพงษ์ และนายอาทิตย์เก้า อ้นมณี
นวัตกรรมทางวิทยาศาสตร์การกีฬา โดยนิสิตวิศวกรรมศาสตร์ ชมรมโรบอท
จากการที่ในปัจจุบันนี้มีการนำเครื่องมือและอุปกรณ์ด้านวิทยาศาสตร์การกีฬามาใช้พัฒนาทักษะความสามารถด้านกีฬาและสุขภาพมากขึ้น แต่เครื่องมือเหล่านั้นส่วนใหญ่ยังต้องนำเข้าจากต่างประเทศและมีราคาแพง จุดนี้เองทำให้ทีม Performer นิสิตชมรมโรบอท จากคณะวิศวกรรมศาสตร์ ได้คิดค้นพัฒนาเครื่องมือวิทยาศาสตร์การกีฬาดังกล่าวขึ้น เพื่อให้คนไทยได้มีโอกาสใช้เครื่องมือที่มีราคาถูกลงแต่ประสิทธิภาพเท่าเทียมกับสินค้าที่นำเข้าจากต่างประเทศ
ผลงาน เครื่องทดสอบสมรรถภาพ 7 สถานี ที่ทีมนิสิตพัฒนาขึ้นคว้ารางวัลชนะเลิศในการประกวดโครงการนวัตกรรมด้านวิทยาศาสตร์การกีฬา จัดโดยสำนักงานพัฒนาการกีฬาและนันทนาการ กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา เพื่อส่งเสริม สนับสนุน การประดิษฐ์คิดค้นทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการกีฬา ในการสร้างเครื่องมือและอุปกรณ์ทางด้านวิทยาศาสตร์การกีฬาสำหรับใช้ในประเทศให้มีศักยภาพเท่าเทียมต่างชาติ ลดการนำเข้าสินค้าจากต่างประเทศ เมื่อวันที่ 8 กันยายน 2552
ทีม Performer ประกอบด้วยนิสิตจากหลายภาควิชาร่วมมือกันนำความรู้ความสามารถแต่ละอย่างมาบูรณาการ ส่วนที่ท้าทายและยากที่สุดในการสร้างเครื่องมือนี้ คือ การต้องค้นคว้าเพิ่มเติมรวมถึงสอบถามจากผู้เชี่ยวชาญในเรื่องเกี่ยวกับวิทยาศาสตร์การกีฬา และต้องนำความรู้เหล่านั้นมาใช้ร่วมกับความรู้ในสาขาวิศวกรรมศาสตร์ด้วย
เครื่องทดสอบสมรรถภาพ 7 สถานี ประกอบด้วย
1. สถานีวิ่งระยะ 50 เมตร โดยในสถานี้จะมีการติดตั้งเซ็นเซอร์ 2 ชุด 4 ตัว โดยเซ็นเซอร์ชุดแรกจะติดตั้งที่จุดเริ่มต้น และอีกจุดติดตั้งที่จุด 50 เมตร สามารถปรับระดับได้
2. สถานีวิ่งระยะ 1,000 เมตร จะมีเซ็นเซอร์ 1 ชุด 2 ตัว ตรงจุดเริ่มและจุดเข้าเส้นชัย
3. สถานีกระโดดไกล จะมีเซ็นเซอร์วัดระยะทางติดอยู่ที่แผ่นยางสำหรับกระโดด
4. สถานีวัดความอ่อนตัวของร่างกาย จะมีตัววัดระยะยืดหยุ่น มีหน้าจอแสดงผล และสามารถพับเก็บได้
5. สถานีวิ่งเก็บของ จะมีแผงวงจรตรวจจับขณะผู้ใช้หยิบท่อนไม้ที่ฝังโลหะ
6. สถานีดึงข้อ บริเวณคานที่ใช้ดึงข้อ สามารถปรับระดับได้ โดยมีเซ็นเซอร์ตรวจจับ 3 ชุด
7. สถานีลุก-นั่ง 30 วินาที จะมีเบาะรองรับผู้ใช้ เพื่อลดการกระแทก สามารถพับเก็บได้ และมีเซ็นเซอร์ตรวจวัด 3 ชุด
ในการพัฒนาเครื่องมือ ได้เน้นถึงความปลอดภัยต่อผู้ใช้งานเป็นหลัก โดยแบ่งหน้าที่การพัฒนา ออกเป็น 4 ด้าน คือ 1. ด้านกลไกการออกแบบ คือ ออกแบบอุปกรณ์ทดสอบให้ถูกกับสรีระร่างกาย 2. ด้านอิเล็กทรอนิกส์ คือ การออกแบบวงจรและการจ่ายไฟ 3. ด้านไมโครคอนโทรลเลอร์ คือ การประมวลผลกลางและการส่งข้อมูลการทดสอบผ่านระบบวิทยุไร้สาย (Wireless) และ 4. ด้านฐานข้อมูล คือ การเขียนโปรแกรมประมวลผลร่วมกับผลสอบ โดยรับข้อมูลจากผู้ ใช้ทั้ง อายุ เพศ น้ำหนัก และส่วนสูง โดยเครื่องที่ทางทีมฯ สร้างเสร็จโดยสมบูรณ์นั้น ใช้งบประมาณในการสร้าง จำนวน 50,000 บาท ประสิทธิภาพทัดเทียมกับสินค้านำเข้า ซึ่งมีราคาสูงถึง 3-4 แสนบาท
เครื่องมือที่พัฒนาขึ้นนี้ สามารถนำมาใช้ในการฝึกและทดสอบ ตลอดจนการวิเคราะห์ความสามารถในแต่ละทักษะของแต่ละชนิดกีฬา รวมทั้งการนำผลการทดสอบสมรรถภาพมาปรับปรุงแก้ไขข้อบกพร่องของนักกีฬา และลดอาการบาดเจ็บจากการทดสอบสมรรถภาพ การวินิจฉัย หรือการประเมินผลของการบาดเจ็บ ตลอดจนการฟื้นฟูบำบัดร่างกายได้
ล่าสุด ผลงานเครื่องมือทดสอบสมรรถภาพ 7 สถานี กำลังอยู่ในขั้นตอนของการจดสิทธิบัตร และคาดว่าจะมีการนำไปใช้จริง ณ ศูนย์ออกกำลังกายเพื่อสุขภาพ ม.เกษตร และ คณะวิทยาศาสตร์การกีฬา ม.เกษตร กำแพงแสน
สมาชิกทีม Performer มีนิสิตจำนวน 10 คน รวมตัวกันจาก 3 ภาควิชา ประกอบด้วย นายพงษ์ศิริ เตี๋ยมนา หัวหน้าทีม จากภาควิชาวิศวกรรมเครื่องกล, นายวุฒิชัย นนทะโคตร จากภาควิชาวิศวกรรมการบินและอวกาศ, นายภูษิต สุเสวนานนท์, นายปัญณะภาคย์ ธงวาส, นายประพัฒน์พล ทิพย์เนตรมงคล, นายอธิมาตร ติระนาถวิทยากุล, นายเมธา พูนพานิช, นายศรัณย์ สุวิทยพันธุ์, และ นายทศชัย อินดี นิสิตภาควิชาวิศวกรรมไฟฟ้า รวมถึงมีนิสิตชั้นปีที่ 1 ที่ยังไม่ได้แยกสาขาวิชาหนึ่งคน คือ นายเพิ่มทรัพย์ สุขแสงจันทร์ โดยมี อ.ดร.ดุสิต ธนเพทาย และ อ.ปัญญา เหล่าอนันต์ธนา อาจารย์ประจำภาควิชาวิศวกรรมไฟฟ้า เป็นอาจารย์ที่ปรึกษา
จักรยานหุ่นยนต์ไร้คนขับ
ทีม CRV Bike ได้พัฒนาจักรยานหุ่นยนต์ไร้คนขับเพื่อเข้าร่วมการแข่งขันจักรยานหุ่นยนต์ชิงแชมป์ประเทศไทย ครั้งที่ 1 (BicyRobo Thailand Championship) ที่จัดขึ้นในเดือนสิงหาคม 2553 โดยสมาคมวิชาการหุ่นยนต์แห่งประเทศไทย, ภาควิชาเมคาโทรนิกส์ คณะวิศวกรรมศาสตร์และเทคโนโลยี สถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเชีย (เอไอที), และบริษัทซีเกท เทคโนโลยี (ประเทศไทย) จำกัด การเข้าร่วมการแข่งขันครั้งนี้ของทีม CRV Bike นับเป็นความท้าทายในการนำความรู้ในตำรามาใช้งานจริง เนื่องจากเป็นครั้งแรกของประเทศไทยและครั้งแรกของโลกที่มีการแข่งขันเช่นนี้
จักรยานที่พัฒนาขึ้นเพื่อเข้าแข่งขันนี้จะต้องสามารถวิ่งและทรงตัวอยู่ได้ด้วยล้อสองล้อโดยไม่ล้ม และต้องวิ่งผ่านเส้นทางไปยังจุดหมายที่กำหนดให้โดยไม่ต้องใช้คนบังคับ จักรยานหุ่นยนต์ของทีม CRV Bike สามารถวิ่งด้วยความเร็ว 10 – 15 กิโลเมตรต่อชั่วโมง โดยมีส่วนประกอบต่างๆ คือ มอเตอร์ขับเคลื่อน มอเตอร์บังคับเลี้ยว โซ่ส่งกำลัง ชุดบังคับวิทยุ เซ็นเซอร์นับรอบล้อ Gyro Sensor Accelerometer Microcontroller ชุด Driver มอเตอร์ โครงประกอบ Hovercraft และมอเตอร์ Brushless ซึ่งมีน้ำหนักประมาณ 50 กิโลกรัม
นายศักรินทร์ ทินมณี นิสิตวิศวกรรมเครื่องกล ชั้นปีที่ 4 ในฐานะหัวหน้าทีม เปิดเผยว่า “ส่วนที่ยากที่สุดของการพัฒนาจักรยานหุ่นยนต์ไร้คนขับ คือ ทางทีมเราไม่มีความรู้โดยตรงในด้านนี้มาก่อน ต้องพยายามค้นคว้าหาความรู้เพิ่มเติมจากแหล่งต่างๆ ทั้งในเรื่องของการออกแบบการควบคุม การออกแบบวงจรไฟฟ้า และในการพัฒนาแต่ละขั้นล้วนเจอปัญหาใหม่ๆ ตลอดเวลา ทั้งยังเป็นช่วงของการฝึกงาน ทำให้เรามีเวลาน้อยมากในการรวมกลุ่มกันเพื่อพัฒนาจักรยานหุ่นยนต์ครั้งนี้”
“ประโยชน์ที่ได้รับจากการเข้าร่วมแข่งขันครั้งนี้ คือ สามารถนำความรู้ไปพัฒนาต่อยอดได้ในหลายด้าน เช่น ด้าน Mechanics ได้ใช้ความรู้เกี่ยวกับ Gyroscopic Effect ไปใช้ในการออกแบบการควบคุมไม่ให้อุปกรณ์ที่ไม่มีความเสถียร ให้สามารถ มีความเสถียรได้ รวมทั้งสามารถนำไปออกแบบยานพาหนะแบบอื่นๆ ได้ ด้าน Electrical สามารถนำความรู้ไปประยุกต์ใช้กับอุปกรณ์ต่างๆ ได้อย่างเหมาะสม และ นำความรู้ด้าน Control ไปพัฒนาต่อยอดสิ่งที่มีความซับซ้อนยิ่งขึ้น” สมาชิกในทีมกล่าวทิ้งท้าย
ในการแข่งขันครั้งนี้นิสิตวิศวฯ ทีม CRV Bike ได้นำผลงานจักรยานหุ่นยนต์ไร้คนขับ คว้ารางวัลรองชนะเลิศมาครอง สมาชิกทีม CRV Bike ประกอบด้วย นิสิตวิศวกรรม เครื่องกล ชั้นปีที่ 4 จำนวน 4 คน คือ นายศักรินทร์ ทินมณี นายนภนต์ คอรัตนกุลชัย นายศศิน เหลืองไพบูลย์ และนายธีรพงษ์ พรพิมาน และนิสิตวิศวกรรมไฟฟ้า ชั้นปีที่ 4 จำนวน 1 คน คือ นายวัชระ แจ่มนุช พร้อมด้วยนักวิจัยจากภาควิชาวิศวกรรมไฟฟ้า คือ นายธนัตถ์ ศรีสุขสันต์ โดยมี ผศ.ดร.วิทิต ฉัตรรัตนกุลชัย ผศ.ดร.วิชัย ศิวะโกศิษฐ อาจารย์ประจำภาควิชาวิศวกรรมเครื่องกล และ ผศ.ดร.พีระยศ แสนโภชน์ อาจารย์ประจำภาควิชาวิศวกรรมไฟฟ้า เป็นอาจารย์ที่ปรึกษาทีม
eyeFeel ซอฟต์แวร์ช่วยแก้ปัญหาการสื่อสารสำหรับผู้พิการทางการได้ยิน
ทีม Skeek นิสิตสาขาวิชาวิศวกรรมซอฟต์แวร์และความรู้ ภาควิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ พัฒนาซอฟต์แวร์สำหรับช่วยแก้ปัญหาการสื่อสาร ระหว่างผู้ที่พิการทางการได้ยินกับคนปกติ ผ่านระบบที่แปลงเสียงพูดและจับความเคลื่อนไหวของใบหน้าผู้พูดให้เป็นตัวอักษรและภาษามือที่สร้างด้วยแอนิเมชั่นหรือภาพเคลื่อนไหวในรูปแบบทันท่วงทีเสมือนการได้เห็นและได้ยินจริง โดยการใช้เทคโนโลยีจดจำเสียงพูด (speech recognition) และระบบแปลงข้อความเป็นภาษามือ (sign language animation) เข้ามาช่วยแปลความหมายในการสื่อสาร
หลักการทำงาน คือ เมื่อผู้ใช้พูดใส่ไมโครโฟนที่ตั้งอยู่หน้าเว็บแคม ส่วนระบบจดจำเสียงพูดจะแปลงสัญญาณเสียงเป็นข้อความ จากนั้นระบบ sign language จะแปลงข้อความปกติเป็นข้อความตามไวยากรณ์ภาษามือ และสร้างภาพเคลื่อนไหวของข้อความนั้นขึ้นมา หลังจากนั้น ระบบจะแสดงทั้งข้อความและภาพภาษามือเคลื่อนไหวตรงหน้าของผู้พูดโดยใช้ระบบตรวจจับใบหน้า (face detection) เพื่อให้ผู้พิการทางหูมีความรู้สึกว่าสิ่งที่ได้เห็นและได้ยินจากผู้พูดนั้นเป็นจริง ซึ่งเป็นที่มาของชื่อซอฟต์แวร์นี้ คือ eyeFeel คือ สามารถรู้สึก รับรู้และเข้าใจการสื่อสารจากคนปกติได้ด้วยตา
แม้ว่าซอฟต์แวร์ eyeFeel ประกอบด้วยส่วนย่อย ๆ หลายส่วน ทั้งส่วนจดจำเสียงพูด ระบบภาษามือ และระบบตรวจจับใบหน้า แต่ส่วนที่ยากที่สุดคือสร้างสรรค์แนวความคิด (Idea) ในการพัฒนาซอฟต์แวร์ขึ้นมา
การพัฒนาซอฟต์แวร์ eyeFeel ได้พัฒนาด้วยโปรแกรมภาษา C# โดยใช้ Microsoft Visual Studio 2008 และ Expression Blend 3 เพื่อส่งเข้าแข่งขัน Imagine Cup 2010 ซึ่งมี theme ในการแข่งขัน คือ Imagine a world where technology helps solve the toughest problems หรือการนำเทคโนโลยีมาใช้ในการแก้ปัญหาที่ยากที่สุด ทีม Skeek ใช้เวลาในการคิดค้นและพัฒนาซอฟต์แวร์เพียง 3 เดือนก่อนเข้าร่วมแข่งขัน คือในช่วงเดือนกุมภาพันธ์ 2553
ซอฟต์แวร์ eyeFeel คว้ารางวัลชนะเลิศจากการแข่งขัน Microsoft World Imagine Cup 2010 ที่ประเทศโปแลนด์
ทีม Skeek ประกอบด้วย นิสิตสาขาวิชาวิศวกรรมซอฟต์แวร์และความรู้ ภาควิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ จำนวน 4 คน คือ นายพิชัย โสดใส นายกฤตธี ศิริสิทธิ์ นายนทวรรธ ศรีจาด และนายธนะสรรค์ ดิลกพินิจนันท์ โดยมี รศ.ดร.อัศนีย์ ก่อตระกูล อาจารย์ประจำภาควิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ เป็นอาจารย์ที่ปรึกษา
หุ่นยนต์เตะฟุตบอล SKUBA แชมป์โลก 3 สมัย
หนึ่งในผลงานที่น่าภูมิใจของคณะวิศวกรรมศาสตร์ ที่สร้างชื่อเสียงระดับโลกติดต่อกันเป็นเวลาหลายปี ก็คือทีมหุ่นยนต์เตะฟุตบอล SKUBA ที่คว้าแชมป์โลก RoboCup Soccer ประเภท small size league ติดต่อกันเป็นสมัยที่ 3 เมื่อเดือนกรกฎาคม 2554 ที่ผ่านมา
ในการแข่งขันหุ่นยนต์เตะฟุตบอลประเภท small size league นั้น แต่ละทีมมีหุ่นยนต์ 5 ตัว แบ่งแยกทีมด้วยสีสัญลักษณ์ที่ต่างกัน ตัวถังเป็นรูปทรงกระบอกเส้นผ่าศูนย์กลาง 180 มิลลิเมตร และสูงไม่เกิน 150 มิลลิเมตร แข่งขันกันบนสนามซึ่งเป็นพื้นพรม ขนาด 6.05 x 4.05เมตร หุ่นยนต์จะถูกควบคุมและสั่งการโดยคอมพิวเตอร์ที่อยู่นอกสนาม และหุ่นยนต์แต่ละตัวจะติดต่อถึงกันด้วยระบบการสื่อสารไร้สาย โดยมีกล้องซึ่งติดตั้งอยู่เหนือสนามขึ้นไปที่ระดับ 4 เมตร เพื่อจับตำแหน่งในสนามของหุ่นยนต์ทุกตัวรวมทั้งลูกบอลด้วย
ทีม SKUBA มีหุ่นนักเตะ 5 ตัว และหุ่นสำรอง 5 ตัว ทางทีมได้มีการพัฒนาความสามารถของหุ่นยนต์อย่างต่อเนื่องทั้งด้านซอฟต์แวร์และฮาร์ดแวร์ ปัจจุบันหุ่นยนต์ของทีม SKUBA ได้พัฒนาตัวถังของหุ่นยนต์โดยใช้อลูมิเนียม อัลลอยด์ ทำให้หุ่นยนต์ทนต่อการกระแทกได้มากขึ้น ส่วนล้อของหุ่นยนต์ได้ใช้ยางคู่ ทำให้หุ่นยนต์เคลื่อนที่ไปยังตำแหน่งที่ต้องการได้ถูกต้องถึง 99 % และมีระบบ Top Control ซึ่งช่วยในการเคลื่อนที่บนพื้นสนามที่เป็นพรม แม้ว่าพื้นพรมจะมีความหนาบางแตกต่างกัน หุ่นยนต์จะวิ่งได้ในความเร็วที่เท่าเดิม ไม่มีการสะดุด นอกจากนี้ ยังมีการใช้กล้องจับตำแหน่งหุ่นยนต์รุ่นใหม่ สามารถเก็บภาพได้มากกว่าเดิมทำให้มองเห็นเกมการแข่งขันได้เร็วขึ้น รวมถึงการเขียนโปรแกรม AI หรือปัญญาประดิษฐ์แบบใหม่ ให้หุ่นยนต์สามารถตัดสินเองในการแก้เกมการแข่งขันได้อย่างรวดเร็ว
และเคล็ดลับที่สำคัญของทีมคือ ทีม SKUBA มีการทำงานเป็นทีมที่ดีมาก ช่วยกันคิดและหาแนวทางในการตั้งรับการจู่โจมของฝ่ายตรงข้ามจากการศึกษาแผนการเล่นของทีมต่างๆ พร้อมทั้งคิดหาวิธีทำให้หุ่นยนต์ทีมของเราสามารถจู่โจมได้เร็วและแม่นยำมากขึ้นตลอดเวลา แม้สมาชิกในทีมจะเปลี่ยนไปเรื่อย ๆ เนื่องจากนิสิตได้จบการศึกษาไป ทีม SKUBA ก็ได้ส่งต่อความรู้จากรุ่นก่อน ๆ ไปยังนิสิตที่เข้ามาร่วมทีมรุ่นถัด ๆ ไป ทำให้สามารถสร้างผลงานได้อย่างต่อเนื่อง
นอกจากการแข่งฟุตบอลที่ทีม SKUBA ได้เป็นแชมป์โลกแล้ว ทีม SKUBA ยังเคยได้รับรางวัลอื่น ๆ จาการแข่งขันอีกเช่น รางวัล Best Extended Team Description ในปี 2009 ซึ่งเป็นการนำเสนอผลการศึกษาวิจัยของหุ่นยนต์นักเตะทีม SKUBA ซึ่งจะมีทีมอื่นๆ จากทั่วโลกนำไปใช้เป็นทฤษฎีอ้างอิงในเรื่องการเคลื่อนไหวของหุ่นยนต์เตะฟุตบอล รวมทั้งได้รับรางวัลเทคนิคยอดเยี่ยมจากการแข่งขันในปีต่าง ๆ อีกหลายครั้ง เช่น รางวัลระบบนำทางยอดเยี่ยม และรางวัลผสมทีมยอดเยี่ยม เป็นต้น
นิสิตวิศวกรรมศาสตร์ ทีม SKUBA ในปีล่าสุดประกอบด้วย นายพีรพัฒน์ กิตติบริลักษณ์ นิสิตชั้นปีที่ 4 ภาควิชาวิศวกรรมเครื่องกล นายกฤษฎิ์ ชัยโส นิสิตชั้นปีที่ 3 ภาควิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ นายธีรธัช อริยชาติผดุงกิจ(หัวหน้าทีม) นิสิตชั้นปีที่ 3 ภาควิชาวิศวกรรมไฟฟ้า นายศุภวิชญ์ ศิริวรรณ นิสิตชั้นปีที่ 2 ภาควิชาวิศวกรรมไฟฟ้า นายภาวัต เลิศอริยศักดิ์ชัย นิสิตชั้นปีที่ 2 ภาควิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ นายธนากร ปัญญาเปียง นิสิตชั้นปีที่ 2 ภาควิชาวิศวกรรมซอฟแวร์และความรู้ นายณัฐพล รัญเสวะ นิสิตชั้นปีที่ 4 ภาควิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ และนายคัคนะ ธิมาชัย นิสิตชั้นปีที่ 4 ภาควิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์โดยมี อาจารย์ปัญญา เหล่าอนันต์ธนา และ อาจารย์กาญจนพันธุ์ สุขวิชชัย เป็นอาจารย์ที่ปรึกษา
หุ่นยนต์ต้นแบบเพื่อเกษตรกรรมความแม่นยำสูง
นิสิตวิศวกรรมศาสตร์ กลุ่มบ่มเพาะนวัตกรรม ทีม KU Agrobot โชว์ไอเดียเยี่ยมคิดค้นพัฒนา “หุ่นยนต์ต้นแบบเพื่อเกษตรกรรมความแม่นยำสูง” (Robo Farming) เพื่อลดต้นทุนและใช้ทรัพยากรให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุดในงานด้านเกษตรกรรม
Robo Farming หรือ หุ่นยนต์ต้นแบบเพื่อเกษตรกรรมความแม่นยำสูงที่ทางทีมได้พัฒนาขึ้น ประกอบด้วยหุ่นยนต์ 2 ตัว คือหุ่นยนต์ปฐพีกับหุ่นยนต์วารี ซึ่งหุ่นทั้งสองตัวนี้ทำหน้าที่ต่างกัน
1. หุ่นยนต์ปฐพี ใช้สำหรับขุดเจาะสำรวจหน้าดิน เก็บตัวอย่างความอุดมสมบูรณ์ของดิน ตามตำแหน่งพิกัดที่ได้จาก GPS และนำตัวอย่างดินที่เก็บได้มาวิเคราะห์หาค่าธาตุอาหาร ธาตุอาหารหลักหรือธาตุปุ๋ย ซึ่งมี 3 ธาตุ คือ ไนโตรเจน (N) ฟอสฟอรัส (P) และโปรตัสเซียม (K) ธาตุอาหารในกลุ่มนี้ พืชต้องการในปริมาณมาก และดินมักจะมีไม่เพียงพอต่อความต้องการของพืช จึงต้องเพิ่มเติมให้แก่พืชโดยการใช้ปุ๋ย รวมทั้งการหาค่าความเป็นกรด-ด่าง (PH) และความเค็มของดิน หลังจากนั้นนำค่าที่ได้นั้นมา Search ฐานข้อมูลการใช้ธาตุอาหาร (ปุ๋ย) ที่เหมาะสม ว่าดินนั้นเหมาะกับพืชไร่ชนิดใด พื้นที่ใดเหมาะแก่การเพาะปลูก ลักษณะของดินเป็นอย่างไร รวมทั้งทราบถึงความลาดเอียงของพื้นที่ การใกล้แหล่งน้ำ สภาพภูมิอากาศ ณ ช่วงนั้น มีระยะเวลาการปลูกผ่านมานานเท่าใด เป็นต้น ซึ่งทั้งหมดถูกจัดเก็บในฐานข้อมูลในรูปแบบแผนที่ GIS ที่มีค่าที่เป็นปัจจุบันเสมอ
2. หุ่นยนต์วารี มีหน้าที่ให้ปุ๋ย ให้น้ำและแก้สภาพความเป็นกรด-ด่างของดิน แก้ไขความเค็มของดินเนื่องจากการใส่ปุ๋ยที่มากเกินไป รวมทั้งชดเชยหรือซ่อมแซมให้ดินกลับมาอุดมสมบูรณ์ให้เหมาะสมกับการปลูกพืชชนิดที่ต้องการตามค่าที่ต้องการ โดยไปเสริมสิ่งที่ขาดที่ได้มาจากค่าวิเคราะห์ที่เก็บจากตัวอย่างดินโดยหุ่นยนต์ปฐพี นอกจากนั้นยังป้องกันแมลงโดยวิธีไม่ให้เกิดปริมาณปุ๋ยที่ใช้เกินความต้องการของพืชซึ่งเป็นอาหารของแมลงและทำให้แมลงแพร่พันธุ์เร็ว รวมถึงหลักการให้ปุ๋ยของหุ่นยนต์เป็นแบบปุ๋ยสั่งตัด ซึ่งช่วยลดค่าต้นทุนปุ๋ยและไม่ทำให้ดินเสื่อมสภาพ
ความยากและท้าทายของการคิดค้นและพัฒนาหุ่นยนต์ทั้งสองตัว คือ การสร้างหุ่นยนต์ที่ต้องทำให้การเกษตรนั้นๆ เกิดผลผลิตสูงสุด ทั้งปริมาณและคุณภาพ ต้องลดต้นทุนการผลิต รวมทั้งต้องเกิดการใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่าและรักษาสภาพแวดล้อมไปพร้อมๆ กัน ซึ่งจุดมุ่งหมายในอนาคต คือ การพัฒนาหุ่นยนต์ให้สามารถทำงานได้ด้วยตัวเองโดยไม่ต้องมีคนบังคับ และทำงานอย่างอื่นนอกเหนือจากการเก็บตัวอย่างดินและการฉีดปุ๋ย คือ เดินได้เองภายในไร่และสามารถเช็ควัชพืชได้
ผลงานชิ้นนี้คว้ารางวัลรองชนะเลิศอันดับ 1 จากเวทีฉลาดคิดแบบคนรุ่นใหม่ Brand’s GEN ปี 3 เมื่อเดือนตุลาคม 2553
นิสิตทีม KU Agrobot ประกอบด้วย นายพงษ์ศิริ เตี๋ยมนา นิสิตวิศวกรรมเครื่องกล หัวหน้าทีม, นายอธิมาตร ติระนาถวิทยากุล, นายภูชิต สุเสวนานนท์, นายปัญณะภาคย์ ธงวาส, และนายเพิ่มทรัพย์ สุขแสงจันทร์ นิสิตวิศวกรรมไฟฟ้า โดยมี อ.ปัญญา เหล่าอนันต์ธนา อาจารย์ประจำภาควิชาวิศวกรรมไฟฟ้า เป็นอาจารย์ที่ปรึกษา
หุ่นยนต์ทั้งสองตัวพัฒนาโดยใช้อุปกรณ์ที่หลากหลาย มีต้นทุนต่ำ มีรายละเอียดดังนี้
1. หุ่นยนต์ปฐพี มีขนาดกว้าง 60 ซม. ยาว 65 ซม. สูง 90 ซม. ประกอบด้วย ล้อเครื่องตัดหญ้า อะลูมิเนียม มอเตอร์กระจกไฟฟ้าของรถยนต์ ชุดโรตารี่ ประกอบด้วย เฟืองขับเคลื่อน แท่งอะลูมิเนียม มอเตอร์ขับ เป็นต้น ต้นทุน 30,000 บาท ใช้ไฟจากแบตเตอรี่ จำนวน 2 ก้อน
2. หุ่นยนต์วารี มีขนาดกว้าง 80 ซม. ยาว 70 ซม. สูง 65 ซม. ประกอบด้วย ล้อเครื่องตัดหญ้า อะลูมิเนียม มอเตอร์กระจกไฟฟ้าของรถยนต์ ชุดฉีดปุ๋ย ประกอบด้วย กระบองของเครื่องกรองน้ำ มอเตอร์ที่ปัดน้ำฝนรถยนต์ เป็นต้น ต้นทุน 20,000 บาท ใช้ไฟจากแบตเตอรี่ จำนวน 2 ก้อน