ผลต่างระหว่างรุ่นของ "01204472/การทดลองเกี่ยวกับเวกเตอร์"
Jittat (คุย | มีส่วนร่วม) |
Jittat (คุย | มีส่วนร่วม) |
||
แถว 33: | แถว 33: | ||
=== มุมเฉลี่ย === | === มุมเฉลี่ย === | ||
+ | |||
+ | สำหรับข้อมูลแต่ละชุด เราจะคำนวณมุมเฉลี่ยระหว่าง | ||
+ | |||
+ | * เวกเตอร์ในกลุ่ม 1 กับเวกเตอร์ในกลุ่ม 1 เอง | ||
+ | * เวกเตอร์ในกลุ่ม 2 กับเวกเตอร์ในกลุ่ม 2 เอง | ||
+ | * เวกเตอร์ในกลุ่ม 1 กับเวกเตอร์ในกลุ่ม 2 | ||
+ | |||
+ | ให้ใช้วิธีการคำนวณมุมโดยคำนวณโดยตรง จากนั้นเปรียบเทียบ "ความแตกต่าง" ของมุมเฉลี่ยทั้ง 3 แบบ ที่ได้จากข้อมูลชุด 1 กับชุดที่ 2 | ||
+ | |||
+ | === มุมเฉลี่ย: sparse vector === | ||
+ | |||
+ | เวกเตอร์ที่เราสนใจมีลักษณะพิเศษ กล่าวคือ ถืงแม้เวกเตอร์จะมีขนาดใหญ่ แต่สมาชิกในเวกเตอร์แทบทั้งหมดคือ 0 ดังนั้น การคำนวณโดยตรงกับเวกเตอร์ประเภทนี้โดยมากจึงกลายเป็นงานสูญเปล่า | ||
+ | |||
+ | ให้เปลี่ยนวิธีการเก็บเวกเตอร์สำหรับการหา inner product โดยแทนที่จะเก็บเป็น <tt>array</tt> อาจเปลี่ยนเป็นโครงสร้างข้อมูลอื่น (hint: [http://docs.python.org/tutorial/datastructures.html#dictionaries dict] หรืออาจจะใช้วิธีอื่น ๆ ก็ได้) | ||
+ | |||
+ | เมื่อเราเปลี่ยนวิธีการเก็บเวกเตอร์ใหม่แล้ว การคำนวณ inner product เพื่อหามุมอาจจะต้องเปลี่ยนไปด้วย ให้แก้โปรแกรม จากนั้นให้คำนวณมุมเฉลี่ยใหม่อีกครั้งและเปรียบเทียบเวลาที่ใช้กับเวลาที่ใช้เมื่อเราคำนวณโดยตรง |
รุ่นแก้ไขเมื่อ 03:16, 21 มิถุนายน 2555
- การทดลองนี้เป็นส่วนหนึ่งของวิชา 01204472
เวกเตอร์และมุม
เรามีข้อมูลสำหรับทดลอง 2 ชุด ดังนี้
- ชุดที่ 1 มีบทความ 2 กลุ่มคือ กลุ่มของบทความในหมวด Association Football 1236 บทความ และบทความในหมวด Diets อีก 307 บทความ ดาวน์โหลด
- ชุดที่ 2 มีบทความ 2 กลุ่มคือ กลุ่มของบทความในหมวด Association Football และบทความในหมวด American Football จำนวน 669 บทความ ดาวน์โหลด ดาวน์โหลดข้อมูลที่เก็บแบบ sparse
เมื่อกระจายแฟ้มข้อมูลออกมา ในนั้นจะมีแฟ้มข้อมูล นามสกุล dat อยู่ โดยแฟ้มมีหมายเลข 1xxxx.dat จะเป็นของกลุ่มแรก และ 2xxxx.dat จะเป็นของกลุ่มที่สอง แต่ละแฟ้มจะเก็บข้อมูลของ 1 เวกเตอร์ ในรูปแบบต่อไปนี้
- บรรทัดแรกเก็บขนาดของเวกเตอร์
- บรรทัดที่สองจะเป็นสมาชิกในเวกเตอร์ ไล่ไปทีละตัว สำหรับข้อมูลชุดนี้จะมีแค่ 0 กับ 1 เท่านั้น
ในการจัดการกับเวกเตอร์นั้น numpy มีโครงสร้างข้อมูลแบบ array ที่ทำให้เราสามารถประมวลผลได้ง่าย เราสามารถสร้างอาร์เรย์จากลิสต์ โดยสั่ง
u = array([1,2,3,4])
เราสามารถหา inner product ได้ง่าย และสามารถเรียกฟังก์ชัน norm เพื่อหา Euclidean norm ได้
หมายเหตุ เพื่อความสะดวกอย่าลืม import pylab ก่อน โดยสั่ง import pylab as *
การกระจายของมุม
ในส่วนแรกสำหรับข้อมูลแต่ละชุดเราจะวาดกราฟแสดงการกระจายของมุมที่เวกเตอร์แต่ละเวกเตอร์กระทำกับเวกเตอร์อันใดอันหนึ่ง เพื่อความรวดเร็วอาจจะใช้เวกเตอร์แค่ 300 เวกเตอร์แรกของแต่ละกลุ่มก็ได้
เราจะเลือกเวกเตอร์ในแฟ้ม 10001.dat มาเพื่อเป็นเวกเตอร์หลัก จากนั้นเราจะคำนวณมุมของ กับเวกเตอร์อื่น ๆ โดยให้วาดกราฟแสดงการกระจายของมุมระหว่างเวกเตอร์จากเอกสารในกลุ่มเดียวกัน (ในแฟ้ม 10002.dat - 10301.dat) เพื่อเปรียบเทียบกับเวกเตอร์ที่ได้จากเอกสารอีกกลุ่ม (ในแฟ้ม 20001.dat - 203001.dat)
หมายเหตุ การวาดกราฟแสดงการกระจายสามารถทำได้หลายแบบ โดยอาจจะเขียนเป็น histogram หรือนำข้อมูลมา sort แล้ว plot ตามปกติก็ได้
ให้ลองเปรียบเทียบความแตกต่างที่พบระหว่างเวกเตอร์กลุ่มที่ 1 และ 2 ในข้อมูลทั้งสองชุด
มุมเฉลี่ย
สำหรับข้อมูลแต่ละชุด เราจะคำนวณมุมเฉลี่ยระหว่าง
- เวกเตอร์ในกลุ่ม 1 กับเวกเตอร์ในกลุ่ม 1 เอง
- เวกเตอร์ในกลุ่ม 2 กับเวกเตอร์ในกลุ่ม 2 เอง
- เวกเตอร์ในกลุ่ม 1 กับเวกเตอร์ในกลุ่ม 2
ให้ใช้วิธีการคำนวณมุมโดยคำนวณโดยตรง จากนั้นเปรียบเทียบ "ความแตกต่าง" ของมุมเฉลี่ยทั้ง 3 แบบ ที่ได้จากข้อมูลชุด 1 กับชุดที่ 2
มุมเฉลี่ย: sparse vector
เวกเตอร์ที่เราสนใจมีลักษณะพิเศษ กล่าวคือ ถืงแม้เวกเตอร์จะมีขนาดใหญ่ แต่สมาชิกในเวกเตอร์แทบทั้งหมดคือ 0 ดังนั้น การคำนวณโดยตรงกับเวกเตอร์ประเภทนี้โดยมากจึงกลายเป็นงานสูญเปล่า
ให้เปลี่ยนวิธีการเก็บเวกเตอร์สำหรับการหา inner product โดยแทนที่จะเก็บเป็น array อาจเปลี่ยนเป็นโครงสร้างข้อมูลอื่น (hint: dict หรืออาจจะใช้วิธีอื่น ๆ ก็ได้)
เมื่อเราเปลี่ยนวิธีการเก็บเวกเตอร์ใหม่แล้ว การคำนวณ inner product เพื่อหามุมอาจจะต้องเปลี่ยนไปด้วย ให้แก้โปรแกรม จากนั้นให้คำนวณมุมเฉลี่ยใหม่อีกครั้งและเปรียบเทียบเวลาที่ใช้กับเวลาที่ใช้เมื่อเราคำนวณโดยตรง