ผลต่างระหว่างรุ่นของ "การติดตั้งไลบรารี V-USB สำหรับ Arduino"
Chaiporn (คุย | มีส่วนร่วม) |
Chaiporn (คุย | มีส่วนร่วม) |
||
(ไม่แสดง 4 รุ่นระหว่างกลางโดยผู้ใช้คนเดียวกัน) | |||
แถว 2: | แถว 2: | ||
ไลบรารี [http://www.obdev.at/products/vusb/index.html V-USB] (ย่อมาจาก Virtual USB) พัฒนาขึ้นเพื่อใช้สำหรับจำลองบอร์ดไมโครคอนโทรลเลอร์ให้เป็นอุปกรณ์ USB โดยอาศัยเพียงซอฟต์แวร์ที่รันอยู่ในรูปเฟิร์มแวร์บนไมโครคอนโทรลเลอร์ตระกูล AVR | ไลบรารี [http://www.obdev.at/products/vusb/index.html V-USB] (ย่อมาจาก Virtual USB) พัฒนาขึ้นเพื่อใช้สำหรับจำลองบอร์ดไมโครคอนโทรลเลอร์ให้เป็นอุปกรณ์ USB โดยอาศัยเพียงซอฟต์แวร์ที่รันอยู่ในรูปเฟิร์มแวร์บนไมโครคอนโทรลเลอร์ตระกูล AVR | ||
+ | |||
+ | เนื่องจาก V-USB นั้นเขียนขึ้นด้วยภาษา C (ไม่ใช่ C++) จึงทำให้ Arduino IDE มีปัญหาในการคอมไพล์โค้ดที่เรียกใช้งานไลบรารีนี้ ในที่นี้เราจึงอาศัยเครื่องมือ Arduino-Makefile มาเป็นตัวช่วยคอมไพล์โค้ดที่มีการใช้งานไลบรารี V-USB ซึ่งทำงานได้ถูกต้องกว่าตัว Arduino IDE เอง | ||
== การติดตั้ง == | == การติดตั้ง == | ||
แถว 34: | แถว 36: | ||
#:<pre> | #:<pre> | ||
#::make ispload</pre> | #::make ispload</pre> | ||
− | # บอร์ดไมโครคอนโทรลเลอร์จะถูกมองเห็นเป็นอุปกรณ์เม้าส์และคีย์บอร์ดในเวลาเดียวกัน | + | # บอร์ดไมโครคอนโทรลเลอร์จะถูกมองเห็นเป็นอุปกรณ์เม้าส์และคีย์บอร์ดในเวลาเดียวกัน กดสวิตช์บนบอร์ดพ่วงหนึ่งครั้งเพื่อให้บอร์ดเริ่มส่งคำสั่งไปยังคอมพิวเตอร์ ทดลองบังแสงเพื่อสังเกตพฤติกรรมที่เปลี่ยนไป ระดับความหลอนจะขึ้นอยู่กับความมืดรอบ ๆ บริเวณ |
รุ่นแก้ไขปัจจุบันเมื่อ 04:21, 27 ตุลาคม 2557
- วิกินี้เป็นส่วนหนึ่งของรายวิชา 01204223
ไลบรารี V-USB (ย่อมาจาก Virtual USB) พัฒนาขึ้นเพื่อใช้สำหรับจำลองบอร์ดไมโครคอนโทรลเลอร์ให้เป็นอุปกรณ์ USB โดยอาศัยเพียงซอฟต์แวร์ที่รันอยู่ในรูปเฟิร์มแวร์บนไมโครคอนโทรลเลอร์ตระกูล AVR
เนื่องจาก V-USB นั้นเขียนขึ้นด้วยภาษา C (ไม่ใช่ C++) จึงทำให้ Arduino IDE มีปัญหาในการคอมไพล์โค้ดที่เรียกใช้งานไลบรารีนี้ ในที่นี้เราจึงอาศัยเครื่องมือ Arduino-Makefile มาเป็นตัวช่วยคอมไพล์โค้ดที่มีการใช้งานไลบรารี V-USB ซึ่งทำงานได้ถูกต้องกว่าตัว Arduino IDE เอง
การติดตั้ง
- สำหรับ Ubuntu ดาวน์โหลดไฟล์ไลบรารีมาแตกเอาไว้ในไดเรคตอรี ~/sketchbook/libraries/ โดยพิมพ์ใช้คำสั่งต่อไปนี้ในเทอร์มินัล
cd ~/sketchbook/libraries/ wget -O - http://www.cpe.ku.ac.th/~cpj/204223/vusb.tgz | tar zxf -
- สำหรับ MAC OS X ดาวน์โหลดไฟล์ไลบรารีมาแตกเอาไว้ในไดเรคตอรี ~/Documents/Arduino/libraries/ โดยพิมพ์ใช้คำสั่งต่อไปนี้ในเทอร์มินัล
cd ~/Documents/Arduino/libraries/ wget -O - http://www.cpe.ku.ac.th/~cpj/204223/vusb.tgz | tar zxf -
ไฟล์จะถูกแตกไว้ในไดเรคตอรีย่อยชื่อ usbdrv ภายใต้ไดเรคตอรี libraries ที่อยู่ในพื้นที่เก็บไฟล์ของ Arduino
ทดสอบการติดตั้ง
ตัวอย่างด้านล่างต้องการไลบรารี Protothreads และ Arduino-Makefile หากยังไม่ได้ติดตั้งไว้ในเครื่องให้ดำเนินการติดตั้งก่อนโดยดูรายละเอียดจากวิกิ มัลติทาสกิ้งด้วยไลบรารี Protothreads และ การใช้ Arduino Makefile
- ดาวน์โหลดซอร์สโค้ดของเฟิร์มแวร์ตัวอย่างจาก http://www.cpe.ku.ac.th/~cpj/204223/usb_ghost.tgz แล้วมาแตกไว้ในไดเรคตอรีที่เก็บ sketch อื่น ๆ ของ Arduino
- สำหรับ Ubuntu Linux
- cd ~/sketchbook
- wget -O - http://www.cpe.ku.ac.th/~cpj/204223/usb_ghost.tgz | tar zxf -
- สำหรับ MAC OS X
- cd ~/Documents/Arduino
- wget -O - http://www.cpe.ku.ac.th/~cpj/204223/usb_ghost.tgz | tar zxf -
- cd เข้าไปในไดเรคตอรี usb_ghost และแก้ไขไฟล์ Makefile โดยเปลี่ยนค่าตัวแปร ARDUINO_DIR และ ARDUINO_MAKE_DIR ให้เป็นไปตามที่อยู่จริงของเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ตนใช้งาน
- คอมไพล์ซอร์สโค้ดโดยใช้คำสั่ง make
- make
- หากไม่เกิดความผิดพลาดในขั้นตอนที่แล้ว ทดลองอัพโหลดเฟิร์มแวร์ลงไมโครคอนโทรลเลอร์
- make ispload
- บอร์ดไมโครคอนโทรลเลอร์จะถูกมองเห็นเป็นอุปกรณ์เม้าส์และคีย์บอร์ดในเวลาเดียวกัน กดสวิตช์บนบอร์ดพ่วงหนึ่งครั้งเพื่อให้บอร์ดเริ่มส่งคำสั่งไปยังคอมพิวเตอร์ ทดลองบังแสงเพื่อสังเกตพฤติกรรมที่เปลี่ยนไป ระดับความหลอนจะขึ้นอยู่กับความมืดรอบ ๆ บริเวณ