ผลต่างระหว่างรุ่นของ "Python Programming/User-Defined Functions"

จาก Theory Wiki
ไปยังการนำทาง ไปยังการค้นหา
แถว 26: แถว 26:
 
2.44140625
 
2.44140625
 
</pre>
 
</pre>
 +
 +
ในกรณีที่ฟังก์ชันที่ต้องการประกาศมี parameter มากกว่าหนึ่งตัว ให้ใช้คอมมา (,) คั่นระหว่าง parameter แต่ละตัว ยกตัวอย่างเช่นฟังก์ชัน <tt>lerp(a,b,x)</tt> (lerp ย่อมาจาก linear interpolation) ซึ่งคำนวณค่า a(1-x) + bx
 +
<pre title="interpreter">
 +
>>> def lerp(a,b,x):
 +
return a*(1-x) + b*x
 +
 +
>>> lerp(0,2,0.5)
 +
1.0
 +
>>> lerp(7,8,0.25)
 +
7.25
 +
>>> lerp(0,100,1)
 +
100
 +
</pre>
 +
 
{{Python Programming/Navigation|Functions|Print Command}}
 
{{Python Programming/Navigation|Functions|Print Command}}

รุ่นแก้ไขเมื่อ 03:29, 16 ตุลาคม 2551

ผู้ใช้ภาษาไพทอนสามารถเขียนฟังก์ชันขึ้นมาเองได้ โดยใช้คำสั่ง def ซึ่งมีไวยากรณ์ดังต่อไปนี้

def <<ชื่อฟังก์ชัน>>(<<รายชื่อ parameter>>):
    คำสั่ง 1
    คำสั่ง 2
    คำสั่ง 3
      .
      .
      .

โดยในตัวของฟังก์ชันเอง เราช้คำสั่ง return เพื่อบอกให้ฟังก์ชันคืนค่่าที่เรากำหนดให้ คำสั่ง return มีรูปแบบดังต่อไปนี้

return <<นิพจน์>>

ยกตัวอย่างเช่น ถ้าเราจะประกาศฟังก์ชัน square(x) ซึ่งคืนค่า x ยกกำลังสอง ก็สามารถทำได้ดังนี้

>>> def square(x):
	return x**2

หลังจากประกาศฟังก์ชันแล้ว เราก็สามารถนำมันไปใช้ได้เหมือนฟังก์ชันพร้อมใช้ของไพทอนหรือฟังก์ชันที่ import มาจากโมดูลต่างๆ

>>> square(100)
10000
>>> square(1+2)
9
>>> square(0.5)
0.25
>>> square(square(1.25))
2.44140625

ในกรณีที่ฟังก์ชันที่ต้องการประกาศมี parameter มากกว่าหนึ่งตัว ให้ใช้คอมมา (,) คั่นระหว่าง parameter แต่ละตัว ยกตัวอย่างเช่นฟังก์ชัน lerp(a,b,x) (lerp ย่อมาจาก linear interpolation) ซึ่งคำนวณค่า a(1-x) + bx

>>> def lerp(a,b,x):
	return a*(1-x) + b*x

>>> lerp(0,2,0.5)
1.0
>>> lerp(7,8,0.25)
7.25
>>> lerp(0,100,1)
100
หน้าก่อน: Functions สารบัญ หน้าต่อไป: Print Command