ผลต่างระหว่างรุ่นของ "Python Programming/User-Defined Functions"
Cardcaptor (คุย | มีส่วนร่วม) |
Cardcaptor (คุย | มีส่วนร่วม) |
||
แถว 12: | แถว 12: | ||
<pre title="interpreter"> | <pre title="interpreter"> | ||
>>> def square(x): | >>> def square(x): | ||
− | ... return x**2 | + | ... return x**2 |
... | ... | ||
</pre> | </pre> | ||
แถว 30: | แถว 30: | ||
<pre title="interpreter"> | <pre title="interpreter"> | ||
>>> def lerp(a,b,x): | >>> def lerp(a,b,x): | ||
− | ... return a*(1-x) + b*x | + | ... return a*(1-x) + b*x |
... | ... | ||
>>> lerp(0,2,0.5) | >>> lerp(0,2,0.5) | ||
แถว 45: | แถว 45: | ||
>>> import math | >>> import math | ||
>>> def length(x0, y0, x1, y1): | >>> def length(x0, y0, x1, y1): | ||
− | ... return math.sqrt((x0-x1)**2 + (y0-y1)**2) | + | ... return math.sqrt((x0-x1)**2 + (y0-y1)**2) |
... | ... | ||
>>> def triangle_area(xA, yA, xB, yB, xC, yC): | >>> def triangle_area(xA, yA, xB, yB, xC, yC): | ||
− | ... a = length(xA, yA, xB, yB) | + | ... a = length(xA, yA, xB, yB) |
− | ... b = length(xB, yB, xC, yC) | + | ... b = length(xB, yB, xC, yC) |
− | ... c = length(xC, yC, xA, yA) | + | ... c = length(xC, yC, xA, yA) |
− | ... s = (a+b+c)/2 | + | ... s = (a+b+c)/2 |
− | ... return math.sqrt(s*(s-a)*(s-b)*(s-c)) | + | ... return math.sqrt(s*(s-a)*(s-b)*(s-c)) |
− | ... | + | ... |
>>> triangle_area(0,0,1,1,1,0) | >>> triangle_area(0,0,1,1,1,0) | ||
0.49999999999999978 | 0.49999999999999978 | ||
แถว 64: | แถว 64: | ||
<pre title="interpreter"> | <pre title="interpreter"> | ||
>>> def triangle_area(xA, yA, xB, yB, xC, yC): | >>> def triangle_area(xA, yA, xB, yB, xC, yC): | ||
− | ... a = length(xA, yA, xB, yB) | + | ... a = length(xA, yA, xB, yB) |
− | ... | + | ... b = length(xB, yB, xC, yC) |
File "<pyshell#20>", line 3 | File "<pyshell#20>", line 3 |
รุ่นแก้ไขเมื่อ 04:49, 17 ตุลาคม 2551
ผู้ใช้ภาษาไพทอนสามารถเขียนฟังก์ชันขึ้นมาเองได้ โดยใช้คำสั่ง def ซึ่งมีไวยากรณ์ดังต่อไปนี้
def <<ชื่อฟังก์ชัน>>(<<รายชื่อ parameter>>): คำสั่ง 1 คำสั่ง 2 คำสั่ง 3 . . .
โดยในตัวของฟังก์ชันเอง เราช้คำสั่ง return เพื่อบอกให้ฟังก์ชันคืนค่่าที่เรากำหนดให้ คำสั่ง return มีรูปแบบดังต่อไปนี้
return <<นิพจน์>>
ยกตัวอย่างเช่น ถ้าเราจะประกาศฟังก์ชัน square(x) ซึ่งคืนค่า x ยกกำลังสอง ก็สามารถทำได้ดังนี้
>>> def square(x): ... return x**2 ...
หลังจากประกาศฟังก์ชันแล้ว เราก็สามารถนำมันไปใช้ได้เหมือนฟังก์ชันพร้อมใช้ของไพทอนหรือฟังก์ชันที่ import มาจากโมดูลต่างๆ
>>> square(100) 10000 >>> square(1+2) 9 >>> square(0.5) 0.25 >>> square(square(1.25)) 2.44140625
ในกรณีที่ฟังก์ชันที่ต้องการประกาศมี parameter มากกว่าหนึ่งตัว ให้ใช้คอมมา (,) คั่นระหว่าง parameter แต่ละตัว ยกตัวอย่างเช่นฟังก์ชัน lerp(a,b,x) (lerp ย่อมาจาก linear interpolation) ซึ่งคำนวณค่า a(1-x) + bx
>>> def lerp(a,b,x): ... return a*(1-x) + b*x ... >>> lerp(0,2,0.5) 1.0 >>> lerp(7,8,0.25) 7.25 >>> lerp(0,100,1) 100
การจัดย่อหน้า
ถ้าฟังก์ชันที่เราต้องการนิยามมีหลายคำสั่ง คำสั่งทุกคำสั่งจะต้องเยื้องจากตำแหน่งของ def มาเป็นระยะเท่าๆ กัน เช่น
>>> import math >>> def length(x0, y0, x1, y1): ... return math.sqrt((x0-x1)**2 + (y0-y1)**2) ... >>> def triangle_area(xA, yA, xB, yB, xC, yC): ... a = length(xA, yA, xB, yB) ... b = length(xB, yB, xC, yC) ... c = length(xC, yC, xA, yA) ... s = (a+b+c)/2 ... return math.sqrt(s*(s-a)*(s-b)*(s-c)) ... >>> triangle_area(0,0,1,1,1,0) 0.49999999999999978 >>> triangle_area(0,1,-2,1,0,0) 1.0
ในที่นี้เราได้เขียนฟังก์ชัน length(x0, y0, x1, y1) เพื่อคำนวณความยาวของส่วนของเส้นตรงซึ่งเชื่อมระหว่างจุด (x0, y0) และ (x1, y1) ในระนาบคาร์ทีเชียน และฟังก์ชัน triangle_area(xA, yA, xB, yB, xC, yC) เพื่อคำนวณพื้นที่ของสามเหลี่ยมที่มีจุดยอดมุมอยู่ที่่จุด (xA, yA), (xB, yB), และ (xC, yC) โดยใช้สูตรของเฮรอน เมื่อ a, b, และ c คือความยาวของด้านทั้งสามของสามเหลี่ยม และ
ถ้าหากเราทำให้คำสั่งในฟังก์ชันเยื้องจาก def ไม่เท่ากัน ตัวแปรภาษาไพทอนจะฟ้องว่าโปรแกรมของเราผิดไวยากรณ์
>>> def triangle_area(xA, yA, xB, yB, xC, yC): ... a = length(xA, yA, xB, yB) ... b = length(xB, yB, xC, yC) File "<pyshell#20>", line 3 b = length(xB, yB, xC, yC) ^ IndentationError: unexpected indent
นอกจากนี้คำสั่งในฟังก์ชันจะต้องเยื้องมาทางขวาของ def เท่านั้น จะอยู่ระดับเดียวกับ def หรือเยื้องไปทางซ้ายของ def ไม่ได้ กล่าวคือตัวแปรภาษาไพทอนจะบอกว่าการประกาศฟังก์ชัน
>>> def length(x0, y0, x1, y1): ... return math.sqrt((x0-x1)**2 + (y0-y1)**2)
มีข้อผิดพลาด:
File "User's code", line 2 return math.sqrt((x0-x1)**2 + (y0-y1)**2) ^ IndentationError: expected an indented block
การให้ความสำคัญกับการย่อหน้าสมบัติของภาษาไพทอนที่ไม่มีในภาษาโปรแกรมเชิงโครงสร้างอื่นๆ เช่น ภาษา C หรือภาษา Java ภาษาไพทอนใช้ย่อหน้าในการจัดการโครงสร้างของโปรแกรม โดยที่คำสั่งที่มีตำแหน่งย่อหน้าเท่ากับจะจัดว่าอยู่ในโครงสร้างย่อยเดียวกันในโปรแกรม และตัวแปรภาษาไพทอนจะไม่แปลโปรแกรมที่จัดย่อหน้าไม่ถูกต้อง ในขณะที่ภาษาอื่นๆ นั้นจะไม่สนใจว่าผู้เขียนโปรแกรมจะมีการจัดย่อหน้าโปรแกรมหรือมีการใช้ตัวอักษรช่องว่างต่างๆ เป็นอย่างไรเลย
หน้าก่อน: Functions | สารบัญ | หน้าต่อไป: Print Command |