ผลต่างระหว่างรุ่นของ "การโปรแกรมภาษาซี สำหรับโปรแกรมเมอร์จาวาและซีชาร์ป"
Jittat (คุย | มีส่วนร่วม) |
Jittat (คุย | มีส่วนร่วม) |
||
แถว 57: | แถว 57: | ||
== การอ่านและเขียนผลลัพธ์ == | == การอ่านและเขียนผลลัพธ์ == | ||
+ | |||
+ | == อาร์เรย์และพอยน์เตอร์ == | ||
== อาร์กิวเมนต์จาก command line == | == อาร์กิวเมนต์จาก command line == |
รุ่นแก้ไขเมื่อ 09:08, 12 กรกฎาคม 2552
เอกสารนี้เกี่ยวข้องกับการโปรแกรมภาษาซี โดยออกแบบสำหรับผู้มีความรู้พื้นฐานการโปรแกรมในภาษาตระกูล java และ c# มาแล้ว
<geshi lang="c">
- include <stdio.h>
main() {
printf("Hello, world.\n");
} </geshi>
เนื้อหา
พอยน์เตอร์ (Pointers)
โปรแกรมภาษาซีมองหน่วยความจำเป็นตาราง แต่ละหน่วยย่อยของหน่วยความจำจะมีตำแหน่งระบุอยู่ ไล่เรียงกันไป หน่วยย่อยสุดของการอ้างถึงหน่วยความจำคือไบต์
พอยน์เตอร์เป็นตัวแปรที่ใช้เก็บตำแหน่งในหน่วยความจำ หรือเรียกว่าตัวแปรพอยน์เตอร์ ชี้ ไปยังตำแหน่งที่มันเก็บอยู่
อย่างไรก็ตามเนื่องจากการชี้ไปยังหน่วยความจำตำแหน่งใด ๆ โดยไม่ระบุประเภทข้อมูลที่เก็บอยู่ที่จุดนั้นไม่เพียงพอในการประมวลผล โดยทั่วไปแล้วการประกาศพอยน์เตอร์จำเป็นจะต้องระบุประเภทข้อมูลที่ตัวแปรนั้นชี้ไปด้วย
การประกาศตัวแปรแบบพอยน์เตอร์ทำได้โดยการใส่ * หน้าชื่อตัวแปร เช่นการเขียน int *a; คือการประกาศให้ตัวแปร a เป็นตัวแปรพอยน์เตอร์ไปยังตำแหน่งข้อมูลที่เก็บข้อมูลประเภท int
เมื่อเรามีตัวแปรพอยน์เตอร์แล้ว การอ้างถึง ข้อมูล ที่ตัวแปรนั้นชี้อยู่ ทำได้โดยใช้ตัวดำเนินการ * ใส่ด้านหน้า ในทางกลับกัน การหาตำแหน่งในหน่วยความจำจากตัวแปร (หรือข้อมูล) ทำได้โดยใช้ตัวดำเนินการ & พิจารณาโปรแกรมด้านล่าง
<geshi lang="c">
- include <stdio.h>
main() {
int a = 10; int b = 20; int *c; printf("%d, %d\n",a,b); c = &a; *c = 30; printf("%d, %d\n",a,b); c = &b; *c = 40; printf("%d, %d\n",a,b);
} </geshi>
ให้ผลลัพธ์เป็น
10, 20 30, 20 30, 40
พอยน์เตอร์มีประโยชน์มากในการเขียนฟังก์ชันให้มีผลข้างเคียง (side effect) ตัวอย่างเช่นฟังก์ชัน swap ด้านล่าง
<geshi lang="c"> void swap(int *a, int *b) {
int tmp = *a; *a = *b; *b = tmp;
} </geshi>