ผลต่างระหว่างรุ่นของ "รายงาน SIGGRAPH Asia 2009"
ไปยังการนำทาง
ไปยังการค้นหา
Cardcaptor (คุย | มีส่วนร่วม) |
Cardcaptor (คุย | มีส่วนร่วม) |
||
แถว 30: | แถว 30: | ||
# '''Modeling Spatial and Temporal Variation in Motion Data''' โดย Manfred Lau, Ziv Bar-Joseph, และ James Kuffner | # '''Modeling Spatial and Temporal Variation in Motion Data''' โดย Manfred Lau, Ziv Bar-Joseph, และ James Kuffner | ||
# '''Real-Time Prosody-Driven Synthesis of Body Language''' โดย Sergey Levine, Christian Theobalt, และ Vladlen Koltun | # '''Real-Time Prosody-Driven Synthesis of Body Language''' โดย Sergey Levine, Christian Theobalt, และ Vladlen Koltun | ||
+ | |||
+ | == คอร์สเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์กราฟิกส์ == | ||
+ | กระผม (นายประมุข ขันเงิน) ได้เข้าฟังคอร์สต่อไปนี้ | ||
+ | # '''Build Your Own 3D Scanner: Optical Triangulation for Beginners''' | ||
+ | # '''Casting Shadows in Real Time''' | ||
+ | # '''Theory and Methods of Lightfield Photography''' |
รุ่นแก้ไขเมื่อ 15:18, 25 มกราคม 2553
เกี่ยวกับงาน
งาน SIGGRAPH Asia 2009 (http://www.siggraph.org/asia2009) เป็นงานสัมมนาทางวิชาการและแสดงนวัตกรรมทางคอมพิวเตอร์กราฟิกส์ ซึ่งจัดขึ้นในระหว่างวันที่ 16-19 ธันวาคม พ.ศ. 2552 ณ เมืองโยโกฮามา ประเทศญี่ปุ่น ภายในงานมีกิจกรรมที่หลากหลายดังต่อไปนี้
- การนำเสนอผลงานวิจัย ส่วนใหญ่มีเนื้อหาเกี่ยวกับการประยุกต์ใช้คอมพิวเตอร์เพื่อสร้างสื่อวิทัศน์ โดยเน้นการสร้างภาพนิ่งและภาพยนตร์สามมิติ นอกจากนี้ยังมีการนำเสนองานวิจัยทางด้านความสามารถในการมองเห็นของมนุษย์ (perception) และการประยุกต์ใช้คอมพิวเตอร์กับการถ่ายภาพ (computational photography) อีกด้วย งานวิจัยที่ได้รับคัดเลือกให้นำเสนอในงาน SIGGRAPH Asia 2009 จะถูกตีพิมพ์ลงใน special issue ของ ACM Transaction on Graphics ซึ่งเป็นวารสารวิชาการที่ได้รับการยอมรับและอ้างอิงถึงมากที่สุดในด้านคอมพิวเตอร์กราฟิกส์ และมี impact factor มาที่สุดเป็นอันดับที่ 5 ของวารสารทางวิทยาการคอมพิวเตอร์ทั้งหมดในปี พ.ศ. 2551 [1] อนึ่ง ในงานนอกจากจะมีการนำเสนอผลงานวิจัยเต็มแล้ว ยังมีการแสดงโปสเตอร์และการแสดงผลงานความยาวสั้น (sketches) อีกด้วย
- คอร์สเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์กราฟิกส์ โดยมีนักวิจัยทางคอมพิวเตอร์กราฟิกส์ชั้นนำ ตัวแทนจากบริษัทเกี่ยวกับเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ มาให้ความรู้ที่หลากหลาย ตั้งแต่ความรู้ทางเทคนิคเกี่ยวกับหัวข้อวิจัย ความรู้เกี่ยวกับการเขียนโปรแกรมขั้นพื้นฐาน ไปจนถึงทักษะในการสร้างภาพยนตร์สั้น ถ่ายภาพ และการพากย์เสียงในภาพยนตร์การ์ตูน
- โปรแกรมสำหรับนักการศึกษา ประกอบด้วย (1) การนำเสนอผลงานวิจัยทางด้านการศึกษาทางด้านคอมพิวเตอร์กราฟิกส์ หรือการใช้คอมพิวเตอร์กราฟิกส์ช่วยจัดการศึกษา (2) การนำเสนอแนวทางการศึกษาด้านคอมพิวเตอร์กราฟิกส์ของบริษัทหรือสถาบันศึกษาต่างๆ และ (3) การแสดงปาฐกถาของผู้ทรงคุณวุฒิ
- งานออกร้าน ของบริษัทที่เกี่ยวข้องกับคอมพิวเตอร์กราฟิกส์ เช่น Nvidia, Intel, และ Square-Enix และสถาบันการศึกษาที่มีหลักสูตรทางคอมพิวเตอร์กราฟิกส์ เช่น มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีโตเกียว, มหาวิทยาลัยเคโอ, และมหาวิทยาลับ Academy of Art เป็นต้น
- งานแสดงศิลปะ ซึ่งโดยมากเป็นสื่อประสมที่ผู้ใช้สามารถจับต้องและมีปฏิสัมพันธ์ด้วยได้ เช่น การจำลองสิ่งมีชีวิตเสมือนซึ่งเคลื่อนที่มาเต็มบริเวณหน้าจอเมื่อผู้ใช้ส่งเสียง (http://artificialnature.mat.ucsb.edu/) เป็นต้น
- การฉายอนิเมชันที่สร้างจากคอมพิวเตอร์ งาน SIGGRAPH เปิดให้บริษัททำอนิเมชันและนักศึกษาทางศิลปะส่งภาพยนตร์อนิเมชันมาประกวด ภาพยนตร์ที่ได้รับคัดเลือกจำนวนหนึ่งจะถูกนำไปฉายในหอประชุมใหญ่ในตอนเย็นของทุกวันที่มีงานประชุม อีกส่วนหนึ่งจะนำไปฉายเป็นรอบๆ ในห้องขนาด 60 ที่นั่งตลอดทั้งวัน
การนำผลงานวิจัย
กระผม (นายประมุข ขันเงิน) ได้เข้าฟังการนำเสนอผลงานวิจัยดังต่อไปนี้
- Micro-Rendering for Scalable, Parallel Final Gathering โดย Tobias Ritschel, T. Engelhardt, T. Grosch, Hans-Peter Seidel, Jan Kautz, และ Carsten Dachsbacher
- All-Frequency Rendering of Dynamic, Spatially-Varying Reflectance โดย Jiaping Wang, Peiran Ren, Minmin Gong, John Snyder, และ Baining Guo
- Depth-of-Field Rendering with Multiview Synthesis โดย Sungkil Lee, Elmar Eisemann, และ Hans-Peter Seidel
- Amortized Supersampling โดย Lei Yang, Diego Nehab, Pedro V. Sander, พิชญะ สิทธิอมร, Jason Lawrence, และ Hugues Hoppe
- Adaptive Wavelet Rendering โดย Ryan S. Overbeck, Craig Donner, และ Ravi Ramamoorthi
- Stochastic Progressive Photon Mapping โดย Toshiya Hachisuka, Henrik Wann Jensen
- Automatic Bounding of Programmable Shaders for Efficient Global Illumination โดย Edgar Velazquez-Armendariz, Shuang Zhao, Milos Hasan, Bruce Walter, และ Kavita Bala
- Virtual Spherical Lights for Many-Light Rendering of Glossy Scenes โดย Milos Hasan, Jaroslav Krivanek, Bruce Walter, และ Kavita Bala
- Structured Annotations for 2D-to-3D Modeling โดย Yotam Gingold, Takeo Igarashi, และ Denis Zorin
- Analytic Drawing of 3D Scaffolds โดย Ryan Schmidt, Azam Khan, Karan Singh, และ Gord Kurtenbach
- DiagSplit: Parallel, Crack-Free, Adaptive Tessellation for Micropolygon Rendering โดย Matthew Fisher, Kayvon Fatahalian, Solomon Boulos, Kurt Akeley, William R. Mark, และ Pat Hanrahan
- Approximating Subdivision Surfaces with Gregory Patches for Hardware Tessellation โดย Charles Loop, Scott Schaefer, Tianyun Ni, และ Ignacio Castano
- Debugging GPU Stream Programs Through Automatic Dataflow Recording and Visualization โดย Qiming Hou, Kun Zhou, และ Baining Guo
- Real-Time Parallel Hashing on the GPU โดย Dan A. Alcantara, Andrei Sharf, Fatemeh Abbasinejad, Shubhabrata Sengupta, Michael Mitzenmacher, John D. Owens, และ Nina Amenta
- RenderAnts: Interactive REYES Rendering on GPUs โดย Kun Zhou, Qiming Hou, Zhong Ren, Minmin Gong, Xin Sun, และ Baining Guo
- Optimizing walking controllers โดย Jack M. Wang, David J. Fleet, และ Aaron Hertzmann
- Robust Task-based Control Policies for Physics-based Characters โดย Stelian Coros, Philippe Beaudoin, และ Michiel van de Panne
- Modeling Spatial and Temporal Variation in Motion Data โดย Manfred Lau, Ziv Bar-Joseph, และ James Kuffner
- Real-Time Prosody-Driven Synthesis of Body Language โดย Sergey Levine, Christian Theobalt, และ Vladlen Koltun
คอร์สเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์กราฟิกส์
กระผม (นายประมุข ขันเงิน) ได้เข้าฟังคอร์สต่อไปนี้
- Build Your Own 3D Scanner: Optical Triangulation for Beginners
- Casting Shadows in Real Time
- Theory and Methods of Lightfield Photography