ผลต่างระหว่างรุ่นของ "การจัดการงาน IOI Thailand League 2010"

จาก Theory Wiki
ไปยังการนำทาง ไปยังการค้นหา
แถว 19: แถว 19:
 
=== กิจกรรมที่คุณสามารถช่วยได้ ===
 
=== กิจกรรมที่คุณสามารถช่วยได้ ===
  
==== ออกโจทย์ ====
+
==== 1. ออกโจทย์ ====
  
==== แก้ไข ปรับปรุงโจทย์ ====
+
==== 2. แก้ไข ปรับปรุงโจทย์ ====
  
==== พัฒนาเฉลยและ test data ====
+
==== 3. พัฒนาเฉลยและ test data ====
  
==== ทดสอบ test data ====
+
==== 4. ทดสอบ test data ====
  
==== ดูแลการเตรียมงาน ====
+
==== 5. ดูแลการเตรียมงาน ====
  
==== ดูแลการแข่งขัน ====
+
==== 6. ดูแลการแข่งขัน ====
  
 
=== ช่องทางติดต่อ ===
 
=== ช่องทางติดต่อ ===

รุ่นแก้ไขเมื่อ 15:28, 5 มีนาคม 2553

เอกสารนี้ใช้เป็นหน้าหลักเกี่ยวกับการจัดการงานการแข่งขัน IOI Thailand League 2010

ลิงก์ย่อ http://theory.cpe.ku.ac.th/wiki/index.php/League2010

แนวคิด

ปัญหา: ปัจจุบันการแข่ง TOI ที่จัดอยู่ค่อนข้างยากสำหรับคนหัดใหม่และอาจจะเข้าถึงยาก

ทางคณะกรรมการจัดงาน IOI 2011 จึงได้ประสานงานกับทางวิชาการ.คอม ให้เข้ามาช่วยในการประชาสัมพันธ์และการจัดการ ทำให้ ส่วนหลักของการแข่งขัน TOI จะเปลี่ยนไปเป็น IOI Thailand League 2010 โดยมีการเปลี่ยนแปลงคร่าว ๆ ดังนี้

  • มีการแข่งขันหลายระดับ ตอนนี้จะมี 3 ระดับ ระดับบนควรจะเป็นประมาณ TOI.C
  • จัดแข่งรายเดือน ทุกเดือน และมีการเลื่อนระดับ ลักษณะนี้จะคล้าย ๆ กับลีคของกีฬา เพื่อให้ผู้เข้าแข่งขันเห็นการพัฒนาของตนเอง
  • กำหนดการแข่งที่ยืดหยุ่นมากขึ้น มีการแข่งขันออนไลน์ ที่ไม่กำหนดเวลาแค่ 3 - 5 ชั่วโมง แต่ให้เวลานักเรียนเข้ามาทำตอนไหนก็ได้
  • ประชาสัมพันธ์ถึงโรงเรียน มีการไปจัดแข่งที่โรงเรียนต่าง ๆ ด้วย โดยตระเวนไปเดือนละหนึ่งโรงเรียน (ทางวิชาการ.คอมจะช่วยจัดให้ แต่เราสามารถไปเดินสายด้วยก็ได้)

ส่วนการแข่งขันระดับที่สูงขึ้น เช่น TOI.CPP จะยังจัดเหมือนเดิม เป็นครั้งคราวไป

สำหรับทีมงาน

กิจกรรมที่คุณสามารถช่วยได้

1. ออกโจทย์

2. แก้ไข ปรับปรุงโจทย์

3. พัฒนาเฉลยและ test data

4. ทดสอบ test data

5. ดูแลการเตรียมงาน

6. ดูแลการแข่งขัน

ช่องทางติดต่อ

ในการสื่อสารจะใช้เมล์เป้นหลัก โดยจะมีเมล์ลิสต์สองอัน คือ

  • เมล์ลิสต์ของทีมงานทั้งหมด คนที่สนใจช่วยเหลือจะได้รับการเชิญเข้าเมล์ลิสต์นี้ หลัก ๆ จะเอาไว้ประกาศข่าว หรือแจ้งเวลามีคนเพิ่มโจทย์เข้าในระบบเป็นต้น จะเป็นเมล์ลิสต์ที่ส่งเมล์ไม่มากนัก
  • เมล์ลิสต์ของทีมหลัก สมาชิกในเมล์ลิสต์นี้จะเปลี่ยนไปตามแต่ละครั้ง สมาชิกจากในเมล์ลิสต์ของทีมงานสามารถสมัครเข้าเมล์ลิสต์ทีมหลักเพื่อระบุว่าพร้อมจะช่วยการจัดครั้งนั้น ๆ ได้ เมล์ลิสต์นี้จะมีการสนทนาที่มากกว่าเมล์ลิสต์แรก

ส่วนโจทย์และข้อมูลทดสอบจะแชร์ผ่านระบบของ dropbox ที่จะแชร์ให้กับทีมงาน

การพัฒนาโจทย์และข้อมูลทดสอบ

โจทย์ จะมีการเตรียม template ไว้ให้ โดย template นี้จะเป็น .doc (เพื่อความสะดวก) สำหรับทีมงานที่ไม่สะดวกกับรูปแบบดังกล่าวสามารถส่งในรูปแบบอื่นได้เช่นกัน

โจทย์จะต้องระบุ: (1) ขอบเขตทั้งเวลาและหน่วยความจำให้ชัดเจน

ข้อมูลทดสอบ ในกรณีที่การตรวจเป็นแบบการเปรียบเทียบสตริงธรรมดา ระบบ grader ปัจจุบันสามารถอัพโหลดข้อมูลทดสอบและโจทย์ได้ทางหน้าเว็บแล้ว โดยจะอัพโหลดเป็นแฟ้ม .zip, .tar, .tar.gz, หรือ .tgz โดยไฟล์ดังกล่าวจะต้องมีรูปแบบดังนี้

  • ไฟล์ข้อมูลทดสอบ จะมีสองชุด ชุดแรกเป็นตัวอย่างในข้อสอบ (ใช้ตรวจระหว่างการแข่งขัน) และชุดที่สองสำหรับการตรวจจริง
    • ไฟล์ข้อมูลนำเข้าจะมีชื่อ เช่น 1.in, 2.in สำหรับข้อมูลชุดทดสอบจริง สำหรับชุดข้อมูลทดสอบตัวอย่างจะเพิ่ม prefix ex. เข้าไป ตัวอย่างเช่น ex.1.in หรือ ex.2.in
    • หรือถ้าต้องการ group หลาย test case ให้ใช้ a, b, c ในการระบุต่อท้ายหมายเลขข้อมูลทดสอบ เช่น 1a.in, 1b.in, 1c.in หรือ ex.1a.in (โดยปกติข้อมูลชุดทดสอบตัวอย่างมักไม่ต้อง group)
    • ไฟล์ข้อมูลผลลัพธ์ มีนามสกุล .sol ที่ตรงกับไฟล์ข้อมูลนำเข้า
  • ไฟล์โจทย์จะชื่ออะไรก็ได้ ให้มีนามกสุล pdf ไฟล์ดังกล่าวจะถูก link จากโจทย์ให้โดยอัตโนมัติ

สำหรับการตรวจแบบอื่นก็สามารถทำได้ แต่ต้องอัพโหลดและ import ข้อมูลทดสอบแบบ manual

เครื่องสำหรับทดสอบ ในการทดสอบ จัดระดับ และวิจารณ์โจทย์ สามารถใช้เครื่องที่ http://theory.cpe.ku.ac.th/toi-test โดย account จะกระจายให้ทางเมล์ลิสต์ต่อไป

มีไอเดีย แต่ไม่มีเวลาพัฒนาโจทย์

จะระบุต่อไป

ต้องการเข้าร่วมทีมงาน

ติดต่อไปที่รายชื่อต่อไปนี้ (ชื่อจะเพิ่มขึ้นในภายหลัง)

  • จิตร์ทัศน์ ฝักเจริญผล
  • ทักษพร กิตติอัครเสถียร
  • ภัทร สุขประเสริฐ
  • วิชชากร กมลพรวิจิตร
  • อาภาพงศ์ จันทร์ทอง

แล้วคำเชิญต่าง ๆ จะตามมาเอง