ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ตอนที่ 1: Levin's Search กับการแยกตัวประกอบของจำนวน"
Parinya (คุย | มีส่วนร่วม) |
Parinya (คุย | มีส่วนร่วม) |
||
(ไม่แสดง 6 รุ่นระหว่างกลางโดยผู้ใช้ 2 คน) | |||
แถว 12: | แถว 12: | ||
วิธีนี้อาจจะใช้ได้ผลดีหากตัวเลขมีค่าไม่มากนัก แต่ในแง่ของนักวิทยาการคอมพิวเตอร์แล้ว วิธีนี้ถือว่าสิ้นเปลืองเวลาและพลังงานชิวิตของคอมพิวเตอร์เป็นอย่างมาก ในการคิดความเร็วในการคำนวณของคอมพิวเตอร์นั้น เราจะคิดความเร็วเทียบกับขนาดของข้อมูลที่ป้อนเข้า หาก n มีค่าเป็น 3,000,013 ขนาดของข้อมูลที่ป้อนเข้าก็คือ 7 หลักเท่านั้น แต่วิธีการแยกตัวประกอบดังกล่าวอาจใช้เวลาการทำงานนับหมื่นรอบ เพื่อหาจำนวนดังกล่าว ดังนั้นแล้ววิธีนี้จึงถือว่าไม่มีประสิทธิภาพ | วิธีนี้อาจจะใช้ได้ผลดีหากตัวเลขมีค่าไม่มากนัก แต่ในแง่ของนักวิทยาการคอมพิวเตอร์แล้ว วิธีนี้ถือว่าสิ้นเปลืองเวลาและพลังงานชิวิตของคอมพิวเตอร์เป็นอย่างมาก ในการคิดความเร็วในการคำนวณของคอมพิวเตอร์นั้น เราจะคิดความเร็วเทียบกับขนาดของข้อมูลที่ป้อนเข้า หาก n มีค่าเป็น 3,000,013 ขนาดของข้อมูลที่ป้อนเข้าก็คือ 7 หลักเท่านั้น แต่วิธีการแยกตัวประกอบดังกล่าวอาจใช้เวลาการทำงานนับหมื่นรอบ เพื่อหาจำนวนดังกล่าว ดังนั้นแล้ววิธีนี้จึงถือว่าไม่มีประสิทธิภาพ | ||
− | ในด้านวิทยาการคอมพิวเตอร์นั้น ปัญหาการแยกตัวประกอบถือว่าเป็นปัญหาที่ยากมาก การเข้ารหัสเกือบทั้งหมดในปัจจุบันถูกสร้างขึ้นมาโดยสมมติฐานที่ว่า | + | ในด้านวิทยาการคอมพิวเตอร์นั้น ปัญหาการแยกตัวประกอบถือว่าเป็นปัญหาที่ยากมาก การเข้ารหัสเกือบทั้งหมดในปัจจุบันถูกสร้างขึ้นมาโดยสมมติฐานที่ว่า ผู้ที่ต้องการขโมยข้อมูลไม่สามารถแยกตัวประกอบได้ เพราะฉะนั้น หากมีผู้ใดค้นพบวิธีการแยกตัวประกอบอย่างมีประสิทธิภาพ ระบบความปลอดภัยในคอมพิวเตอร์เกือบทั้งหมดก็จะกลายเป็นไม่ปลอดภัยทันที |
กลุ่มวิจัย RSA ได้ตั้งรางวัลไว้สำหรับผู้ที่สามารถใช้คอมพิวเตอร์แยกตัวประกอบจำนวนขนาดใหญ่ได้ในเวลาสั้นๆ [http://www.rsasecurity.com/rsalabs/node.asp?id=2092] (โดยปกติแล้วปัญหาการแยกตัวประกอบจำนวนใหญ่ๆเชื่อว่า ต่อให้รันโปรแกรมไปจนโปรแกรมเมอร์แก่ตาย คอมพิวเตอร์ก็ยังแยกตัวประกอบไม่เสร็จ) | กลุ่มวิจัย RSA ได้ตั้งรางวัลไว้สำหรับผู้ที่สามารถใช้คอมพิวเตอร์แยกตัวประกอบจำนวนขนาดใหญ่ได้ในเวลาสั้นๆ [http://www.rsasecurity.com/rsalabs/node.asp?id=2092] (โดยปกติแล้วปัญหาการแยกตัวประกอบจำนวนใหญ่ๆเชื่อว่า ต่อให้รันโปรแกรมไปจนโปรแกรมเมอร์แก่ตาย คอมพิวเตอร์ก็ยังแยกตัวประกอบไม่เสร็จ) | ||
แถว 32: | แถว 32: | ||
สมมติว่าโปรแกรมแยกตัวประกอบที่ดีที่สุดคือ <math> P_{30} </math> สังเกตุว่าทุกๆ <math> 2^{30} </math> รอบการทำงาน โปรแกรม <math>P_30</math> จะทำงานไป 1 ขั้น ดังนั้น | สมมติว่าโปรแกรมแยกตัวประกอบที่ดีที่สุดคือ <math> P_{30} </math> สังเกตุว่าทุกๆ <math> 2^{30} </math> รอบการทำงาน โปรแกรม <math>P_30</math> จะทำงานไป 1 ขั้น ดังนั้น | ||
− | <math>time(LevinSearch(x)) \le 2^{30} time(P_{30}(x))</math> | + | :: <math>time(LevinSearch(x)) \le 2^{30} time(P_{30}(x)) + poly(|x|) </math> |
และ<math> 2^{30}</math> เป็นค่าคงที่ๆไม่ขึ้นกับขนาดของอินพุต | และ<math> 2^{30}</math> เป็นค่าคงที่ๆไม่ขึ้นกับขนาดของอินพุต | ||
แถว 43: | แถว 43: | ||
วิธีของเลวินทำให้เราได้วิธีการหาคำตอบของปัญหาที่ตรวจคำตอบได้ง่าย (ปัญหาเอ็นพี) ทั้งหมด หากแต่ว่าค่าคงที่ๆได้จะเป็นค่าที่มากมายอย่างมหาศาลที่สุด มากกว่าจำนวนอะตอมทั้งหมดในจักรวาล มากกว่าค่าใดๆที่คนจินตนาการได้ แต่เป็น'''ค่าคงที่''' | วิธีของเลวินทำให้เราได้วิธีการหาคำตอบของปัญหาที่ตรวจคำตอบได้ง่าย (ปัญหาเอ็นพี) ทั้งหมด หากแต่ว่าค่าคงที่ๆได้จะเป็นค่าที่มากมายอย่างมหาศาลที่สุด มากกว่าจำนวนอะตอมทั้งหมดในจักรวาล มากกว่าค่าใดๆที่คนจินตนาการได้ แต่เป็น'''ค่าคงที่''' | ||
+ | |||
+ | == ปัญหาคิดเล่น == | ||
+ | |||
+ | # พิสูจน์ข้อความต่อไปนี้ "ถ้า P=NP แล้ว อัลกอริทึมของเลวินเป็นอัลกอริทึมที่ทำงานในเวลาพหุนามกับขนาดอินพุตสำหรับทุกๆปัญหาเอ็นพี, ใช้เวลาในการทำงานเทียบกับวิธีการแก้ปัญหาที่ดีที่สุดแล้ว เป็นค่าคงที่, และสามารถหาคำตอบของปัญหาเอ็นพีได้ทุกปัญหา" | ||
+ | # เลโอนิด เลวิน คิดวิธีการบ้าๆแบบนี้ขึ้นมาได้อย่างไร? |
รุ่นแก้ไขปัจจุบันเมื่อ 19:34, 28 พฤศจิกายน 2549
เกริ่น
"Only math nerds would call finite"
Leonid Levin
ปัญหาการแยกตัวประกอบจำนวนก็คือปัญหาที่เรามีจำนวนจำนวนหนึ่งที่เป็นจำนวนประกอบ n เราจะสามารถหาวิธีการที่มีประสิทธิภาพที่สุดในการแยกตัวประกอบของจำนวนนั้นได้อย่างไร หากลองมองกลับไปวิธีที่ใช้สอนเด็กประถม เราอาจจะทำได้ดังนี้ ลองหารจำนวนตั้งแต่ 1, 2, 3 จนกระทั่งพบจำนวนแรกที่หารจำนวนนั้นลงตัว เท่านี้ก็แยกตัวประกอบสำเร็จ
วิธีนี้อาจจะใช้ได้ผลดีหากตัวเลขมีค่าไม่มากนัก แต่ในแง่ของนักวิทยาการคอมพิวเตอร์แล้ว วิธีนี้ถือว่าสิ้นเปลืองเวลาและพลังงานชิวิตของคอมพิวเตอร์เป็นอย่างมาก ในการคิดความเร็วในการคำนวณของคอมพิวเตอร์นั้น เราจะคิดความเร็วเทียบกับขนาดของข้อมูลที่ป้อนเข้า หาก n มีค่าเป็น 3,000,013 ขนาดของข้อมูลที่ป้อนเข้าก็คือ 7 หลักเท่านั้น แต่วิธีการแยกตัวประกอบดังกล่าวอาจใช้เวลาการทำงานนับหมื่นรอบ เพื่อหาจำนวนดังกล่าว ดังนั้นแล้ววิธีนี้จึงถือว่าไม่มีประสิทธิภาพ
ในด้านวิทยาการคอมพิวเตอร์นั้น ปัญหาการแยกตัวประกอบถือว่าเป็นปัญหาที่ยากมาก การเข้ารหัสเกือบทั้งหมดในปัจจุบันถูกสร้างขึ้นมาโดยสมมติฐานที่ว่า ผู้ที่ต้องการขโมยข้อมูลไม่สามารถแยกตัวประกอบได้ เพราะฉะนั้น หากมีผู้ใดค้นพบวิธีการแยกตัวประกอบอย่างมีประสิทธิภาพ ระบบความปลอดภัยในคอมพิวเตอร์เกือบทั้งหมดก็จะกลายเป็นไม่ปลอดภัยทันที
กลุ่มวิจัย RSA ได้ตั้งรางวัลไว้สำหรับผู้ที่สามารถใช้คอมพิวเตอร์แยกตัวประกอบจำนวนขนาดใหญ่ได้ในเวลาสั้นๆ [1] (โดยปกติแล้วปัญหาการแยกตัวประกอบจำนวนใหญ่ๆเชื่อว่า ต่อให้รันโปรแกรมไปจนโปรแกรมเมอร์แก่ตาย คอมพิวเตอร์ก็ยังแยกตัวประกอบไม่เสร็จ)
Levin's search
เลวินมีวิธีที่สามารถแยกตัวประกอบจำนวนได้ โดยใช้เวลาในการทำงานไม่เกินค่าคงที่ค่าหนึ่งคูณกับเวลาการทำงานของวิธีการแยกตัวประกอบที่ดีที่สุด สมมติว่าการแยกตัวประกอบที่ดีที่สุดใช้เวลา 10 ปี วิธีของเลวินก็จะใช้เวลาไม่เกินค่าคงที่คูณกับสิบปีนั้น นอกเหนือไปกว่านั้นวิธีของเลวินสามารถใช้ในการหาคำตอบของ ปัญหาใดก็ได้ ที่เราสามารถตรวจคำตอบได้อย่างมีประสิทธิภาพ และใช้เวลาในการทำงานเป็นค่าคงที่คูณกับเวลาที่ใช้ของวิธีที่ดีที่สุดเช่นกัน คำว่าค่าคงที่นี้เป็นค่าคงที่ๆขึ้นกับปัญหา แต่ไม่ขึ้นกับขนาดของข้อมูลป้อนเข้า เช่น ปัญหาการแยกตัวประกอบ ค่าคงที่ดังกล่าวอาจจะเป็น 20 แต่ปัญหาอย่างอื่นก็อาจจะมีค่าคงที่ที่แตกต่างกันไป ลองมาดูกันว่าวิธีดังกล่าวเป็นอย่างไร
ก่อนอื่นเลวินมองลิสต์ของ โปรแกรมคอมพิวเตอร์ ที่เป็นไปได้ทั้งหมดในโลก ผู้อ่านอาจจะนึกภาพว่าเป็นโปรแกรมภาษาจาวา
Levin_Search(x) ที่เวลาใดๆ รันโปรแกรม เป็นเวลา ถ้าได้ผลลัพธ์ y และ z จาก ให้ทดสอบว่า x= yz หรือไม่ ถ้าใช่ จบการทำงาน และตอบ y,z
สมมติว่าโปรแกรมแยกตัวประกอบที่ดีที่สุดคือ สังเกตุว่าทุกๆ รอบการทำงาน โปรแกรม จะทำงานไป 1 ขั้น ดังนั้น
และ เป็นค่าคงที่ๆไม่ขึ้นกับขนาดของอินพุต
หลักการทำงานของวิธีนี้ก็คือการที่ลองรันโปรแกรมที่เป็นไปได้ทั้งหมดทีละโปรแกรม โดยที่แต่ละโปรแกรมจะไม่รันจนจบ แต่จะรันเพียงแค่ ของคาบเวลา (ขอให้มองข้ามเรื่องของที่เวลาหนึ่งหน่วยไม่สามารถแบ่งย่อยได้ไปก่อน เพื่อความสะดวกในการเข้าใจการทำงานของวิธีนี้) เนื่องจากว่าบางโปรแกรมอาจจะรันไม่รู้จบ วิธีนี้จึงเลี่ยงความเสี่ยงของการรันโปรแกรมที่ไม่รู้ว่าจะจบหรือเปล่าได้ ส่วนเหตุผลว่าทำไมถึงต้องรันโปรแกรมที่ i เป็นเวลา ขอให้ผู้อ่านลองไปคิดดู (ลองคิดว่าหากรันแต่ละโปรแกรมทีละขั้น วิธีนี้จะใช้ได้หรือไม่)
สังเกตว่าค่าคงที่ดังกล่าวจะขึ้นกับลำดับของโปรแกรมในลิสต์ที่เป็นไปได้ทั้งหมด หากโปรแกรมที่ดีที่สุดอยู่ในลำดับที่ k ของลิสต์ เวลาการทำงานของวิธีนี้จะไม่เกิน เท่าของเวลาการทำงานที่ดีที่สุด ลองมานึกให้ดีกว่านั้น ถ้าลำดับของโปรแกรมที่อยู่ในลิสต์เป็นการเรียงลำดับตามขนาดของโปรแกรม สมมติว่าโปรแกรมที่แก้ปัญหาการแยกตัวประกอบมีขนาดเป็น n ดังนั้นโปรแกรมนี้จะอยู่ในลำดับที่ ของลิสต์นี้ และค่าคงที่ของเลวินจะมีค่าเป็น
บทสรุป
วิธีของเลวินทำให้เราได้วิธีการหาคำตอบของปัญหาที่ตรวจคำตอบได้ง่าย (ปัญหาเอ็นพี) ทั้งหมด หากแต่ว่าค่าคงที่ๆได้จะเป็นค่าที่มากมายอย่างมหาศาลที่สุด มากกว่าจำนวนอะตอมทั้งหมดในจักรวาล มากกว่าค่าใดๆที่คนจินตนาการได้ แต่เป็นค่าคงที่
ปัญหาคิดเล่น
- พิสูจน์ข้อความต่อไปนี้ "ถ้า P=NP แล้ว อัลกอริทึมของเลวินเป็นอัลกอริทึมที่ทำงานในเวลาพหุนามกับขนาดอินพุตสำหรับทุกๆปัญหาเอ็นพี, ใช้เวลาในการทำงานเทียบกับวิธีการแก้ปัญหาที่ดีที่สุดแล้ว เป็นค่าคงที่, และสามารถหาคำตอบของปัญหาเอ็นพีได้ทุกปัญหา"
- เลโอนิด เลวิน คิดวิธีการบ้าๆแบบนี้ขึ้นมาได้อย่างไร?