ผลต่างระหว่างรุ่นของ "Python Programming/Tuples"
Cardcaptor (คุย | มีส่วนร่วม) |
Chaiporn (คุย | มีส่วนร่วม) |
||
(ไม่แสดง 1 รุ่นระหว่างกลางโดยผู้ใช้คนเดียวกัน) | |||
แถว 55: | แถว 55: | ||
False | False | ||
</pre> | </pre> | ||
+ | |||
+ | == Packing และ Unpacking == | ||
+ | การกำหนดค่าหลาย ๆ ค่าลงในตัวแปรสามารถเรียกได้ว่าเป็นการ "แพ็ก" ข้อมูลให้เป็นทูเปิล เราสามารถกระจายข้อมูลในทูเปิล (หรือ "อันแพ็ก") ลงในตัวแปรหลายตัวพร้อม ๆ กันได้ | ||
+ | |||
+ | >>> a,b,c,d,e,f = t | ||
+ | >>> a | ||
+ | 999 | ||
+ | >>> c | ||
+ | 'tsunderailgun' | ||
+ | |||
+ | เราสามารถใช้หลักการเดียวกันในการกำหนดค่าให้ตัวแปรพร้อมกันหลายตัวได้ | ||
+ | |||
+ | >>> x,y,z = 10,15,2 | ||
+ | >>> x | ||
+ | 10 | ||
+ | >>> y | ||
+ | 15 | ||
+ | >>> z | ||
+ | 2 | ||
== Slicing == | == Slicing == |
รุ่นแก้ไขปัจจุบันเมื่อ 09:16, 27 ตุลาคม 2557
Tuple เป็นโครงสร้างข้อมูลที่ทำหน้าที่คล้ายกับอะเรย์ขนาดคงที่
เราสามารถสร้าง tuple ได้โดยการนำค่าหลายๆ ค่ามาเรียงต่อกัน แล้วคั่นค่าที่ติดกันด้วยเครื่องหมายคอมมา (,)
>>> t = 42, "Misaka Mikoto", "tsunderailgun", 4649.398 >>> print t (42, 'Misaka Mikoto', 'tsunderailgun', 4649.3980000000001)
เราสามารถเรียกสมาชิกแต่ละตัวของ tuple มาใช้ได้เหมือนกับการเรียกดูสมาชิกของอะเรย์ในภาษา C
>>> t[0] 42 >>> t[1] 'Misaka Mikoto' >>> t[2] 'tsunderailgun' >>> t[3] 4649.3980000000001
นอกจากนี้ในภาษาไพทอน เลขที่เราใช้เป็นดรรชนีบ่งตำแหน่งของสมาชิกใน tuple จะเป็นเลขลบก็ได้ โดยที่ t[-k] จะหมายถึงสมาชิกที่เริ่มนับจากด้านหลังของ t ไปเป็นตัวที่ k
>>> t[-1] 4649.3980000000001 >>> t[-2] 'tsunderailgun' >>> t[-3] 'Misaka Mikoto' >>> t[-4] 42
tuple มีสมบัติที่สำคัญประการหนึ่งคือเราไม่สามารถเปลี่ยนแปลงสมาชิกของมันหลังจากสร้างมันเสร็จแล้วได้ (ภาษาฝรั่งเรียกโครงสร้างข้อมูลประเภทนี้ว่า immutable data structure)
>>> t[0] = 999 Traceback (most recent call last): File "<stdin>", line 1, in <module> TypeError: 'tuple' object does not support item assignment
แต่ไม่ได้หมายความว่าเราจะเปลี่ยนค่าของตัวแปรให้เป็น tuple อื่นไม่ได้
>>> t = 999, "Misaka Mikoto", "tsunderailgun", 4649.398, 881, 889 >>> print t (999, 'Misaka Mikoto', 'tsunderailgun', 4649.3980000000001, 881, 889)
อนึ่ง เราสามารถตรวจสอบว่าค่าค่าหนึ่งอยู่ใน tuple ได้หรือไม่ด้วยเครื่องหมาย in
>>> t = 999, "Misaka Mikoto", "tsunderailgun", 4649.398, 881, 889 >>> "Misaka Mikoto" in t True >>> 888 in t False
Packing และ Unpacking
การกำหนดค่าหลาย ๆ ค่าลงในตัวแปรสามารถเรียกได้ว่าเป็นการ "แพ็ก" ข้อมูลให้เป็นทูเปิล เราสามารถกระจายข้อมูลในทูเปิล (หรือ "อันแพ็ก") ลงในตัวแปรหลายตัวพร้อม ๆ กันได้
>>> a,b,c,d,e,f = t >>> a 999 >>> c 'tsunderailgun'
เราสามารถใช้หลักการเดียวกันในการกำหนดค่าให้ตัวแปรพร้อมกันหลายตัวได้
>>> x,y,z = 10,15,2 >>> x 10 >>> y 15 >>> z 2
Slicing
Slicing คือการสร้าง tuple อีกอันหนึ่งขึ้นมาจาก tuple เดิมด้วยการดึงสมาชิกบางส่วนที่อยู่ติดกันออกมา โดยนิพจน์ที่เราใช้ในการทำ slicing จะมีรูปแบบดังนี้
<<tuple>>[ <<หมายเลขของสมาชิกตัวแรกที่ต้องการ>> : <<หมายเลขของสมาชิกที่อยู่หลังสมาชิกตัวสุดท้ายที่เราต้องการ>> ]
ยกตัวอย่าง เช่น ถ้าเราต้องการสมาชิกที่มีหมายเลข 2 ถึงสมาชิกที่มีหมายเลข 3 ของ tuple t เราจะใช้นิพจน์
>>> t[2:4] ('tsunderailgun', 4649.3980000000001)
และถ้าต้องการสมาชิกตั้งแต่ตัวที่มีหมายเลข 3 ไปจนถึงตัวที่มีหมายเลข 5 เราจะใช้นิพจน์
>>> t[3:6] (4649.3980000000001, 881, 889)
หมายเลขที่เราใส่ลงในนิพจน์สำหรับทำ slicing สามารถเ้ป็นเลขลบได้ ซึ่งถ้าเป็นเลขลบก็จะมีความหมายเหมือนกับที่กล่าวไว้แล้วข้างบน
>>> t[1:-1] ('Misaka Mikoto', 'tsunderailgun', 4649.3980000000001, 881) >>> t[-6:-2] (999, 'Misaka Mikoto', 'tsunderailgun', 4649.3980000000001)
เราสามารถละหมายเลขที่ใส่ในนิพจน์ slicing ได้ โดยถ้าละเลขตัวหน้า หมายความว่าให้เริ่มต้นจากเลข 0 แต่ถ้าละเลขตัวหลัง หมายความว่าให้ไปจบที่ท้าย tuple
>>> t[:4] (999, 'Misaka Mikoto', 'tsunderailgun', 4649.3980000000001)' >>> t[2:] ('tsunderailgun', 4649.3980000000001, 881, 889) >>> t[:-1] (999, 'Misaka Mikoto', 'tsunderailgun', 4649.3980000000001, 881) >>> t[-3:] (4649.3980000000001, 881, 889)
ปฏิบัติการอื่นๆ ของ tuple
เราสามารถหาความยาวของ tuple ได้ด้วยฟังก์ชัน len
>>> a = 1, 2, 3, 4, 5, 6, 7 >>> b = 8, 9, 10 >>> len(a) 7 >>> len(b) 3
เราสามารถเอา tuple สอง tuple มาต่อกันเป็น tuple อันใหม่ ได้โดยการใช้เครื่องหมายบวก
>>> a+b (1, 2, 3, 4, 5, 6, 7, 8, 9, 10) >>> b+a (8, 9, 10, 1, 2, 3, 4, 5, 6, 7)
และเราสามารถคูณ tuple ด้วยจำนวนเต็มได้เหมือนกับการคูณสตริงด้วยจำนวนเต็ม
>>> 2*a (1, 2, 3, 4, 5, 6, 7, 1, 2, 3, 4, 5, 6, 7) >>> 3*b (8, 9, 10, 8, 9, 10, 8, 9, 10)
การสร้าง tuple ที่มีความยาวหนึ่งสามารถทำได้โดยพิมพ์ค่าค่าหนึ่งแล้วตามด้วยเครื่องหมายคอมมา (,)
>>> t = 10, (10,) >>> len(t) 1
เราสามารถสร้าง tuple ที่ไม่มีสมาชิกอะไรอยู่ข้างในมันเลขได้เหมือนกัน โดยใช้คำสั่ง tuple()
>>> t = tuple() >>> t () >>> len(t) 0
หน้าก่อน: If Statements | สารบัญ | หน้าต่อไป: Lists |