ผลต่างระหว่างรุ่นของ "Oop lab/simple ship game"
Jittat (คุย | มีส่วนร่วม) |
Jittat (คุย | มีส่วนร่วม) |
||
แถว 63: | แถว 63: | ||
public void update(GameContainer container, int delta) throws SlickException { | public void update(GameContainer container, int delta) throws SlickException { | ||
+ | |||
+ | สังเกตว่า ท้าย signature ของเมท็อด มีคำว่า throws SlickException อยู่ด้วย เราจะอธิบายแนวคิดของ exception ที่ตอนท้ายส่วนนี้ | ||
+ | |||
+ | ตอนนี้ไล่ไปไล่มาใน IDE น่าจะไม่มี error อะไรแล้วนะครับ แต่เรายังไม่มีโปรแกรมหลักเลย | ||
+ | |||
+ | ใน Java เมท็อดที่จะเป็นโปรแกรมหลักได้จะต้องชื่อ main และเป็น static method ในคลาสบางคลาส ซึ่งเราก็จะให้อยู่ในคลาส ShipGame นี่เลย | ||
+ | |||
+ | โดยทั่วไปแล้วโปรแกรมหลักของโปรแกรมที่เขียนเชิงวัตถุจะทำหน้าที่แค่สร้าง object ที่จำเป็นแล้วก็จัดการทำให้มันรู้จักกัน แล้วก็เรียก object หลักให้ทำงาน โปรแกรมหลักของเราก็เช่นกัน เพิ่มเมท็อด main ด้านล่างลงในโค้ดของเรา | ||
+ | |||
+ | <syntaxhighlight lang="java"> | ||
+ | public static void main(String[] args) { | ||
+ | try { | ||
+ | AppGameContainer appgc; | ||
+ | appgc = new AppGameContainer(new ShipGame("Simple Slick Game")); | ||
+ | appgc.setDisplayMode(640, 480, false); | ||
+ | appgc.start(); | ||
+ | } catch (SlickException e) { | ||
+ | e.printStackTrace(); | ||
+ | } | ||
+ | } | ||
+ | </syntaxhighlight> | ||
+ | |||
+ | อย่าลืมไปสั่งให้ IDE import ของเพื่อให้เรารู้จัก AppGameContainer ด้วย |
รุ่นแก้ไขเมื่อ 13:25, 24 สิงหาคม 2557
- หน้านี้เป็นส่วนหนึ่งของ oop lab
เราจะเขียนเกมยานอวกาศบน Slick2D กัน สำหรับส่วนนี้เราจะได้ทดลองใช้ Slick2D ในการแสดงรูปภาพและอ่านการกดปุ่มจากผู้ใช้แบบการถาม (polling)
โครงสร้างเกมพื้นฐาน
เกมใน Slick2D จะเป็นการทำงานร่วมกันของ object สอง object หลัก คือ
- Game javadoc - เป็น object ที่มีเมท็อดพื้นฐานของวนรอบของเกม คือ init, update, และ render
- void init(GameContainer container)
- void update(GameContainer container, int delta)
- void render(GameContainer container, Graphics g)
- GameContainer javadoc - เป็น object ที่จัดการเกี่ยวกับการอ่านข้อมูลจากผู้ใช้ (input) การวนรอบเกม และการจัดการเกี่ยวกับการแสดงค่า fps (frame per seconds)
หมายเหตุ: โดยทางเทคนิคแล้ว Game เป็น interface และ GameContainer เป็น abstract class เราจะได้เรียนแนวคิดดังกล่าวต่อไป
เราไม่มีความจำเป็นต้องเขียนคลาส GameContainer ขึ้นมาใหม่ โดยเราจะใช้วัตถุจากคลาส AppGameContainer (ซึ่งจัดเป็น GameContainer ประเภทหนึ่ง) ในโปรแกรมของเรา อย่างไรก็ตาม เราต้องสร้างวัตถุประเภท Game ขึ้นมาเอง เพราะว่านั่นคือแกนหลักของเกมของเรา
เริ่มต้นด้วยเกมว่าง ๆ
สร้าง project ชื่อ shipgame อย่าลืมเพิ่ม Slick2D เข้าไปใน library ใน Build Path (ดูรายละเอียดที่ วิธีติดตั้ง)
จากนั้นให้สร้างคลาสชื่อ ShipGame เมื่อสร้างแล้ว ให้แก้หัวคลาสให้เป็น ดังด้านล่าง (เพิ่ม extends BasicGame)
public class ShipGame extends BasicGame {
เมื่อเพิ่มแล้ว IDE จะแจ้งว่าไม่รู้จัก BasicGame ให้ไปกดให้ IDE เพิ่มการ import ให้เรา โดย IDE น่าจะเพิ่มบรรทัดนี้มาให้ (อย่าลืมเลือกให้ถูก)
import org.newdawn.slick.BasicGame;
IDE จะยังคงบ่นต่อว่าเราไม่มี constructor (เมท็อดที่กำหนดค่าเริ่มต้นให้กับ object ของคลาส) เราก็กดให้มันเพิ่มให้ เราจะได้เมท็อดด้านล่างมา
public ShipGame(String title) {
super(title);
}
ยังไม่พอ IDE ยังบ่นต่อว่าเราไม่ได้ implement method ที่ต้องมี เช่นเคย เราก็กดให้ IDE เติมให้เราโดยอัตโนมัติ มันจะเติมมาให้ 3 เมท็อดดังนี้:
@Override
public void render(GameContainer arg0, Graphics arg1) throws SlickException {
// TODO Auto-generated method stub
}
@Override
public void init(GameContainer arg0) throws SlickException {
// TODO Auto-generated method stub
}
@Override
public void update(GameContainer arg0, int arg1) throws SlickException {
// TODO Auto-generated method stub
}
สังเกตว่าชื่อ argument นั่นดูไม่สื่อความหมายใด ๆ เลย ไปแก้ให้มันดูสื่อความหมายโดยแก้หัวเมท็อดต่าง ๆ ให้เป็นดังนี้
public void render(GameContainer container, Graphics g) throws SlickException { public void init(GameContainer container) throws SlickException { public void update(GameContainer container, int delta) throws SlickException {
สังเกตว่า ท้าย signature ของเมท็อด มีคำว่า throws SlickException อยู่ด้วย เราจะอธิบายแนวคิดของ exception ที่ตอนท้ายส่วนนี้
ตอนนี้ไล่ไปไล่มาใน IDE น่าจะไม่มี error อะไรแล้วนะครับ แต่เรายังไม่มีโปรแกรมหลักเลย
ใน Java เมท็อดที่จะเป็นโปรแกรมหลักได้จะต้องชื่อ main และเป็น static method ในคลาสบางคลาส ซึ่งเราก็จะให้อยู่ในคลาส ShipGame นี่เลย
โดยทั่วไปแล้วโปรแกรมหลักของโปรแกรมที่เขียนเชิงวัตถุจะทำหน้าที่แค่สร้าง object ที่จำเป็นแล้วก็จัดการทำให้มันรู้จักกัน แล้วก็เรียก object หลักให้ทำงาน โปรแกรมหลักของเราก็เช่นกัน เพิ่มเมท็อด main ด้านล่างลงในโค้ดของเรา
public static void main(String[] args) {
try {
AppGameContainer appgc;
appgc = new AppGameContainer(new ShipGame("Simple Slick Game"));
appgc.setDisplayMode(640, 480, false);
appgc.start();
} catch (SlickException e) {
e.printStackTrace();
}
}
อย่าลืมไปสั่งให้ IDE import ของเพื่อให้เรารู้จัก AppGameContainer ด้วย