ผลต่างระหว่างรุ่นของ "การสื่อสารผ่านพอร์ทอนุกรม"
Chaiporn (คุย | มีส่วนร่วม) |
Chaiporn (คุย | มีส่วนร่วม) |
||
แถว 9: | แถว 9: | ||
ในรายวิชานี้ เราจะใช้ USB-Serial Dongle ชนิดที่รับข้อมูลจากพอร์ท USB แล้วแปลงเป็นสัญญาณแบบ TTL โดยตรง ทำให้นำไปใช้เชื่อมต่อกับบอร์ดไมโครคอนโทรลเลอร์ได้ทันทีโดยไม่ต้องผ่านหัวเชื่อมต่อแบบ DE-9 ดังภาพ | ในรายวิชานี้ เราจะใช้ USB-Serial Dongle ชนิดที่รับข้อมูลจากพอร์ท USB แล้วแปลงเป็นสัญญาณแบบ TTL โดยตรง ทำให้นำไปใช้เชื่อมต่อกับบอร์ดไมโครคอนโทรลเลอร์ได้ทันทีโดยไม่ต้องผ่านหัวเชื่อมต่อแบบ DE-9 ดังภาพ | ||
− | [[Image:dongles.jpg|200px|center|thumb| | + | [[Image:dongles.jpg|200px|center|thumb|USB-Serial Dongle ที่ใช้ในรายวิชา]] |
รุ่นแก้ไขเมื่อ 06:20, 15 ตุลาคม 2557
ไมโครคอนโทรลเลอร์ส่วนใหญ่ (รวมถึงเบอร์ ATMega168 ที่ใช้ในรายวิชา) มีความสามารถในการรับส่งข้อมูลระหว่างอุปกรณ์อื่นและคอมพิวเตอร์ผ่านพอร์ทอนุกรม (serial port) เราจึงสามารถนำคุณสมบัตินี้มาใช้ในการแสดงผลลัพธ์การทำงานของบอร์ดไมโครคอนโทรลเลอร์ที่ให้รายละเอียดมากกว่าการแสดงผลผ่าน LED เพียงอย่างเดียวได้ อีกทั้งสภาพแวดล้อมของ Arduino ยังมีคำสั่งจำพวก Serial.print
ที่นำไปใช้ในการส่งข้อความมาแสดงผลบนหน้าจอคอมพิวเตอร์ได้ทันที การสื่อสารแบบอนุกรมนั้นต้องการใช้สายสัญญาณเพียงเส้นเดียวต่อการส่งสัญญาณหนึ่งทิศทาง ดังนั้นการเชื่อมต่ออุปกรณ์เข้าด้วยกันจึงต้องการสายไฟเพียง 3 เส้น เป็นสายสัญญาณสองเส้นเพื่อรับส่งข้อมูลสองทิศทาง และสายอ้างอิงศักย์ไฟฟ้า (หรือกราวนด์) อีกหนึ่งเส้น ตามภาพ
คอมพิวเตอร์รุ่นใหม่โดยเฉพาะอย่างยิ่งคอมพิวเตอร์แบบโน้ตบุ๊กในปัจจุบันมักไม่มีพอร์ทอนุกรมติดมาให้ จึงต้องอาศัยอุปกรณ์เสริมที่เรียกว่า USB to serial adapter หรือ USB-Serial dongle ที่เพิ่มพอร์ทอนุกรมให้กับคอมพิวเตอร์ ตามมาตรฐานการสื่อสารผ่านพอร์ทอนุกรมนั้นมีการใช้หัวเชื่อมต่อแบบ DE-9 ที่มีลักษณะดังภาพ
ในรายวิชานี้ เราจะใช้ USB-Serial Dongle ชนิดที่รับข้อมูลจากพอร์ท USB แล้วแปลงเป็นสัญญาณแบบ TTL โดยตรง ทำให้นำไปใช้เชื่อมต่อกับบอร์ดไมโครคอนโทรลเลอร์ได้ทันทีโดยไม่ต้องผ่านหัวเชื่อมต่อแบบ DE-9 ดังภาพ