ผลต่างระหว่างรุ่นของ "Python Programming/Variables and Assignments"

จาก Theory Wiki
ไปยังการนำทาง ไปยังการค้นหา
(สร้างหน้าใหม่: == นิพจน์ทางคณิตศาสตร์ == โดยทั่วไปแล้วนิพจน์ทางคณิตศาสตร...)
 
(ทำหน้าว่าง)
แถว 1: แถว 1:
== นิพจน์ทางคณิตศาสตร์ ==
 
โดยทั่วไปแล้วนิพจน์ทางคณิตศาสตร์ในภาษาไพทอนจะคล้ายๆ กับภาษา C
 
<pre title="interpreter">
 
>>> 6*7
 
42
 
>>> 10*(30+9) + 8
 
398
 
>>> 10.0*(30+9)+8
 
398.0
 
>>> 3*10000+7564
 
37564
 
>>> 464 / 9
 
51
 
>>> 4649 / 9.0
 
516.55555555555554
 
>>> 4649.0 / 9
 
516.55555555555554
 
>>> 10%3
 
1
 
</pre>
 
นิพจน์ข้างต้นทำให้เราได้ข้อสังเกตดังต่อไปนี้
 
* ภาษาไพทอนมีข้อมูลชนิดตัวเลขอย่างน้อยสองชนิด คือ เลขจำนวนเต็ม (int) และเลขทศนิยม (float) ในทางเทคนิคแล้ว float ของไพทอนมีความละเอียดเท่ากับ double ในภาษา C
 
* มีการทำ [http://en.wikipedia.org/wiki/Type_conversion type coercion] คล้ายภาษา C คือเมื่อนำ int ไปบวกหรือคูณกับ float แล้วก็จะได้ float
 
* เครื่องหมายหาร (/) ของไพทอนคล้ายภาษา C กล่าวคือ ถ้าเราเอา int ไปหาร int เราจะได้ผลหารเป็น int แต่ถ้าเอา int ไปหาร float หรือเอา float ไปหาร int จะได้ผลลัพท์เป็น float
 
  
สิ่งที่น่าสังเกตของเครื่องหมาย (/) และเครื่องหมายหารเอาเศษ (%) หารคือ ถ้าตัวหารเป็นบวกแล้ว มันจะพยายามทำให้เศษของการหารจะเป็นบวกด้วยเสมอ
 
<pre title="interpreter">
 
>>> -11/3
 
-4
 
>>> -11%3
 
1
 
</pre>
 
ซึ่งนี่ผิดกับภาษา C ซึ่งเมื่อคำนวณนิพจน์ -11 / 3 จะได้ผลลัพธ์เป็น -3 และเมื่อสั่ง -11 % 3 จะได้ผลเป็น -2 อย่างไรก็ดีถ้าตัวหารเป็นลบ ไพทอนจะมีพฤติกรรมเหมือนกับภาษา C
 
<pre title="interpreter">
 
>>> -11/-3
 
3
 
>>> -11%-3
 
-2
 
</pre>
 
 
นอกจากนี้ ไพทอนยังมีเครื่องหมายยกกำลัง (**) ซึ่งมีความสำคัญ (precedence) มากกว่าเครื่องเครื่องหมายคูณ
 
<pre title="interpreter">
 
>>> 4**2
 
16
 
>>> 4.0**2
 
16.0
 
>>> 2**0.5
 
1.4142135623730951
 
>>> 4*3**2
 
36
 
>>> (4*3)**2
 
144
 
</pre>
 
 
{{Python Programming/Navigation|Python Interpreter|Functions}}
 

รุ่นแก้ไขเมื่อ 17:55, 15 ตุลาคม 2551