ผลต่างระหว่างรุ่นของ "การบัดกรีแผงวงจรไมโครคอนโทรลเลอร์"

จาก Theory Wiki
ไปยังการนำทาง ไปยังการค้นหา
(ย้อนการแก้ไขรุ่น 9498 โดย Chaiporn (พูดคุย))
แถว 1: แถว 1:
== รายการอุปกรณ์ที่ใช้ ==
+
You've really impressed me with that aswner!
* USB connector 1 ตัว
 
* ตัวเก็บประจุ 10 ไมโครฟารัด 1 ตัว
 
* ตัวเก็บประจุ 100 นาโนฟารัด 1 ตัว
 
* ตัวเก็บประจุ 22 พิโคฟารัด 2 ตัว
 
* LED สีแดง 3mm 1 ตัว
 
* LED สีเขียว 3mm 1 ตัว
 
* Crystal 12 MHz 1 ตัว
 
* ซีเนอร์ไดโอด 3.6V 1/2W (1N5227B) 2 ตัว
 
* ซ็อกเก็ตไอซี 28 ขา 1 ตัว
 
* ไมโครคอนโทรลเลอร์ ATMega168 แบบ DIP 28 ขา
 
* แท็คสวิตช์ 6x6mm 1 ตัว
 
* จั๊มเปอร์ 2 ขาพร้อมหัวเสียบ 1 ตัว
 
* คอนเน็กเตอร์ 2x5 ขา 1 ตัว
 
* ตัวต้านทาน 68 โอห์ม 2 ตัว
 
* ตัวต้านทาน 330 โอห์ม 2 ตัว
 
* ตัวต้านทาน 1.5K โอห์ม 1 ตัว
 
* ตัวต้านทาน 1M โอห์ม 1 ตัว
 
 
 
== ข้อกำหนดเพิ่มเติมสำหรับการบัดกรี ==
 
* บัดกรีคอนเน็กเตอร์ 2x5 ขาลงบน JP2 (ซึ่งต่อกับพอร์ต C) อย่างเดียว ส่วน JP3 ปล่อยทิ้งไว้
 
* D3 (ตัวที่อยู่ใกล้กับพอร์ต USB) ใช้ LED สีเขียว
 
* D4 (ตัวที่อยู่ใกล้กับซ็อกเก็ตไอซี) ใช้ LED สีแดง
 
 
 
== อุปกรณ์ที่มีขั้ว ==
 
อุปกรณ์บางอย่างต้องต่อให้ถูกขั้ว ไม่เช่นนั้นอาจทำให้วงจรไม่ทำงานหรือสร้างความเสียหายให้กับวงจรได้ ในบอร์ดทดลองของเรามีอุปกรณ์ที่มีขั้วดังนี้
 
* ตัวเก็บประจุขนาด 10 ไมโครฟารัด เป็นตัวเก็บประจุแบบน้ำยา ต้องวางขั้วบวกและลบให้ถูกต้อง
 
* ไดโอดทุกชนิด รวมถึงซีเนอร์ไดโอดและไดโอดเปล่งแสง (LED)
 
* ไอซี ควรบัดกรีผ่านซ็อกเก็ตเพราะความร้อนสามารถสร้างความเสียหายให้กับไอซีได้ ตัวซ็อกเก็ตจะมีสัญลักษณ์บอกทิศทางของไอซี ซึ่งควรวางให้ถูกทิศตั้งแต่แรก
 
 
 
== ปัญหาที่พบบ่อย ==
 
* ลายทองแดงหลุดลอกและขาดออกจากกัน อันเกิดจากการแช่หัวแร้งไว้นานเกินไป และ/หรือการตัดขาอุปกรณ์หลังการบัดกรี รอยขาดเหล่านี้บางครั้งมองเห็นได้ยากมาก ต้องอาศัยโอห์มมิเตอร์ในการตรวจสอบ
 
* ต่ออุปกรณ์บางอย่างกลับขั้ว เช่นซีเนอร์ไดโอด
 
* วางอุปกรณ์ผิดค่า เช่นตัวต้านทานต่าง ๆ
 
* วางซ็อกเก็ตไอซีกลับด้าน แม้จะไม่ใช่ปัญหาใหญ่เนื่องจากไอซีสามารถถอดและใส่ได้ง่าย แต่อาจสร้างความสับสนในภายหลัง
 
* ใส่ตะกั่วที่จุดบัดกรีน้อยเกินไป ทำให้ขาอุปกรณ์ไม่เชื่อมติดกับลายทองแดง
 
 
 
== วิธีทดสอบวงจรเบื้องต้น ==
 
ปฏิบัติตามขั้นตอนทีละขั้นดังนี้
 
* ยังไม่ต้องเสียบไมโครคอนโทรลเลอร์ลงบนซ็อกเก็ต ใช้โอห์มมิเตอร์วัดความต้านทานระหว่างจุด VCC และ GND ต้องไม่ชอร์ตกัน
 
:* หากชอร์ตกันให้ไล่ลายทองแดงของเน็ต VCC และ GND เพื่อหาว่าชอร์ตกันที่จุดใด และกำจัดจุดที่ชอร์ตออก
 
* เสียบสายแพเข้ากับบอร์ด แล้วลองต่อไฟ 5V และ GND ให้กับบอร์ด LED สีแดงต้องติดขึ้นมา เป็นการแสดงว่าวงจรได้รับไฟเลี้ยงอย่างถูกต้อง
 
:* หากไฟไม่ติดให้ไล่วงจรส่วนที่ต่อกับ LED สีแดง ดูว่า LED ต่อถูกขั้วหรือไม่
 
* ตัดไฟเลี้ยง เสียบไมโครคอนโทรลเลอร์ แล้วเปิดไฟ หาก LED สีเขียวกระพริบเป็นจังหวะ (ประมาณวินาทีละครั้ง) แสดงว่าไมโครคอนโทรลเลอร์ได้รับไฟเลี้ยงและสัญญาณนาฬิกา และทำงานได้ถูกต้อง
 
:* หากไม่ทำงานให้ตรวจสอบไฟเลี้ยงที่เข้าสู่ไมโครคอนโทรลเลอร์ (ขา 7 และ 8) รวมถึงวงจรกำเนิดสัญญาณนาฬิกา (ขา 9 และ 10)
 
* กดปุ่มรีเซ็ตเพื่อให้ไมโครคอนโทรลเลอร์เข้าสู่โหมดการโปรแกรมเฟิร์มแวร์ ไฟสีเขียวต้องกระพริบเป็นจังหวะถี่ ๆ
 
:* หาก LED สีเขียวยังกระพริบเป็นจังหวะช้า ๆ แสดงว่าการรีเซ็ตไม่เกิดขึ้น ตรวจสอบการเชื่อมต่อระหว่างสวิตช์รีเซ็ต กราวนด์ และขารีเซ็ตของไอซี (ขา 1)
 
* ในโหมดโปรแกรมเฟิร์มแวร์ไมโครคอนโทรลเลอร์จะจำลองตัวเองเป็นอุปกรณ์ USB ความเร็วต่ำ หากใช้คำสั่ง <code>lsusb</code> บนเครื่องคอมพิวเตอร์ต้องเห็นรายการอุปกรณ์ USB ที่มี VID:PID เป็น 16c0:05dc ปรากฏอยู่ ดังตัวอย่าง
 
$ lsusb
 
Bus 004 Device 001: ID 0000:0000 
 
Bus 003 Device 007: ID 16c0:05dc 
 
Bus 003 Device 001: ID 0000:0000 
 
Bus 002 Device 001: ID 0000:0000 
 
Bus 001 Device 001: ID 0000:0000
 
:* หากไม่ขึ้นให้ไล่วงจรส่วนเชื่อมต่อกับ USB ซึ่งไล่มาตั้งแต่ขา 4 และ 6 ของไอซี ตรวจสอบคู่ตัวต้านทาน 68 โอห์ม คู่ซีเนอร์ไดโอด ตัวต้านทาน 1.5K และ 1M ว่ามีการต่อสลับค่าหรือต่อซีเนอร์ไดโอดกลับขั้วบ้างหรือไม่
 
 
 
== บทความที่เกี่ยวข้อง ==
 
* [[การพัฒนาเฟิร์มแวร์สำหรับไมโครคอนโทรลเลอร์]]
 
* [[แผงวงจรพ่วง (Peripheral Board)]]
 
* [[การวัดสัญญาณแอนะล็อกด้วยไมโครคอนโทรลเลอร์]]
 

รุ่นแก้ไขเมื่อ 08:53, 15 กุมภาพันธ์ 2555

You've really impressed me with that aswner!