ผลต่างระหว่างรุ่นของ "Usaco2014"
Jittat (คุย | มีส่วนร่วม) |
Jittat (คุย | มีส่วนร่วม) |
||
แถว 26: | แถว 26: | ||
ให้คำนวณเงินที่มากที่สุดที่ ชจ. จะมีเหลือหลังจากการซื้อของครบ N ครั้ง ให้แสดงผลลัพธ์ -1 ถ้าเป็นไปไม่ได้ที่ ชจ. จะซื้อของได้ทั้งหมด | ให้คำนวณเงินที่มากที่สุดที่ ชจ. จะมีเหลือหลังจากการซื้อของครบ N ครั้ง ให้แสดงผลลัพธ์ -1 ถ้าเป็นไปไม่ได้ที่ ชจ. จะซื้อของได้ทั้งหมด | ||
+ | |||
+ | == USACO 2013 December Contest == |
รุ่นแก้ไขเมื่อ 08:55, 28 มีนาคม 2557
เนื้อหา
USACO 2013 November Contest
Problem 1: Empty Stalls [Brian Dean, 2013] (GOLD)
Source: [1]
ยุ้งฉางใหม่ของชาวนาจอห์นมีคอก (stall) จำนวน N คอกเรียงตัวกันเป็นวงกลม (2 <= N <= 3,000,000) โดยมีหมายเลข 0,...,N-1, โดยที่คอกที่ N-1 จะติดกับคอกที่ 0
เมื่อสิ้นสุดวัน วัวแต่ละตัวของชาวนาจอห์นก็เดินกลับบ้านทีละตัว วัวแต่ละตัวต่างก็มีคอกที่ต้องการอยู่ แต่ถ้าคอกที่ต้องการนั้นมีวัวตัวอื่นอยู่อยู่แล้ว วัวตัวนั้นก็จะพิจารณาคอกถัด ๆ ไปจากคอกที่ต้องการไปตามลำดับจนกระทั่งเจอคอกที่ว่างและจะเข้าไปอยู่ในคอกนั้น ถ้าวัวตัวนั้นพิจารณาคอกไปจนถึงคอกที่ N-1 เธอจะพิจารณาต่อที่คอกที่ 0
ให้ข้อมูลของคอกที่วัวแต่ละตัวต้องการ ให้หาหมายเลขของคอกที่น้อยที่สุดที่ยังว่างอยู่ เมื่อวัวทุกตัวกลับเข้าคอกหมดแล้ว
Problem 2: Line of Sight [Brian Dean and Chad Waters, 2013] (GOLD)
Source: [2]
วัวของชาวนานจอห์นจำนวน N ตัว (1 <= N <= 50,000) อยู่ที่ตำแหน่งที่แตกต่างกันในทุ่งหญ้าสองมิติ ที่จุดศูนย์กลางของทุ่งหญ้ามีฉางข้าว (ไซโล) ทรงกลมขนาดใหญ่ วัวที่อยู่คนละข้างของไซโลจะไม่สามารถมองเห็นกันได้ เนื่องจากไซโลนั้นบังอยู่ ให้หาจำนวนคู่ของวัวที่สามารถมองเห็นกันได้โดยตรง (direct line of sight)
ไซโลข้าวนั้นมีจุดศูนย์กลางอยู่ที่จุด (0,0) และมีรัศมี R ไม่มีวัวตัวใด ๆ ที่อยู่บนขอบหรืออยู่ภายในวงกลมที่แทนไซโล นอกจากนี้ไม่มีวัวสองตัวที่อยู่บนเส้นที่สัมผัสกับวงกลมไซโล ค่าของรัศมี R นั้นอยู่ระหว่าง 1..1,000,000 และวัวแต่ละตัวจะอยู่บนพิกัดที่เป็นจำนวนเต็มที่มีขอบเขต -1,000,000..+1,000,000
Problem 3: No Change [Brian Dean, 2013] (GOLD)
Source: [3]
ชาวนาจอห์นอยู่ที่ตลาดเพื่อจะซื้อของไปยังฟาร์ม เขามีเงินในกระเป๋า K เหรียญ (1 <= K <= 16) แต่ละเหรียญมีมูลค่าในช่วง 1..100,000,000 ชจ.ต้องการจะซื้อของเป็นลำดับจำนวน N ครั้ง (1 <= N <= 100,000) โดยที่การซื้อครั้งที่ i จะต้องใช้เงิน c(u) หน่วย (1 <= c(i) <= 10,000) ระหว่างที่ชจ.ซื้อของเขาสามารถหยุดและจ่ายเงินด้วยเหรียญหนึ่งเหรียญได้ เงินที่จ่ายนั้นจะจ่ายสำหรับของที่เขาซื้อทั้งหมดนับตั้งแต่การจ่ายครั้งสุดท้าย (แน่นอนเหรียญดังกล่าวนั้นจะต้องมีค่ามากพอที่จะจ่ายเงินสำหรับการซื้อนั้นได้) โชคไม่ดีที่คนขายที่ตลาดไม่มีเงินทอนเลย ดังนั้นเมื่อชจ.จ่ายเหรียญที่มีมูลค่ามากกว่าเงินที่เขาต้องจ่าย เขาจะไม่ได้เงินทองกลับมาแต่อย่างใด
ให้คำนวณเงินที่มากที่สุดที่ ชจ. จะมีเหลือหลังจากการซื้อของครบ N ครั้ง ให้แสดงผลลัพธ์ -1 ถ้าเป็นไปไม่ได้ที่ ชจ. จะซื้อของได้ทั้งหมด