ผลต่างระหว่างรุ่นของ "Grader on Windows with TC"

จาก Theory Wiki
ไปยังการนำทาง ไปยังการค้นหา
แถว 18: แถว 18:
 
เมื่อติดตั้งเสร็จโปรแกรมติดตั้งจะถามว่าจะเริ่มการทำงานของ Apache และ MySQL หรือไม่ ให้คลิ๊กเลือกทั้งสองโปรแกรม
 
เมื่อติดตั้งเสร็จโปรแกรมติดตั้งจะถามว่าจะเริ่มการทำงานของ Apache และ MySQL หรือไม่ ให้คลิ๊กเลือกทั้งสองโปรแกรม
  
2. เมื่อติดตั้งแล้ว โครงสร้างไดเร็กทรอรีที่ได้จะเป็นดังนี้ (ดู[http://www.appservnetwork.com/modules.php?name=Content&pa=showpage&pid=5 รายละเอียดเพิ่มเติม])
+
2. เมื่อติดตั้งแล้ว ถ้าทดลองเรียก [http://localhost/ http://localhost/] จะพบหน้าเริ่มต้นของ AppServ
 +
 
 +
โครงสร้างไดเร็กทรอรีที่ได้จะเป็นดังนี้ (ดู[http://www.appservnetwork.com/modules.php?name=Content&pa=showpage&pid=5 รายละเอียดเพิ่มเติม])
 
  C:\AppServ
 
  C:\AppServ
 
   |
 
   |

รุ่นแก้ไขเมื่อ 09:48, 4 เมษายน 2551

ระบบมีสองส่วน คือส่วนที่เป็นระบบรับโปรแกรมบนเว็บ ซึ่งพัฒนาด้วยภาษา php บนระบบฐานข้อมูล MySQL และส่วนที่เป็นโปรแกรมทำงานที่เซิร์ฟเวอร์สำหรับตรวจโปรแกรม โดยจะเรียก Turbo C หรือ Borland C มาคอมไพล์และตรวจผลลัพธ์โปรแกรม

การติดตั้งโปรแกรม

ระบบฐานข้อมูลและเว็บเซิร์ฟเวอร์

ระบบตรวจที่พัฒนาขึ้นใช้ระบบฐานข้อมูล MySQL และพัฒนาด้วยภาษา php สามารถติดตั้งระบบดังกล่าวได้โดยอาจใช้โปรแกรม AppServ ที่รวมโปรแกรมที่จำเป็นไว้แล้ว หรืออาจจะติดตั้งโดยตรงก็ได้

การติดตั้งระบบฐานข้อมูลและเว็บเซิร์ฟเวอร์โดยใช้ AppServ

AppServ เป็นระบบที่รวม Apache Web Server, PHP, MySQL และ PHPMySQLAdmin สำหรับติดตั้งในโปรแกรมเดียว เว็บดังกล่าวมีหน้าที่เป็นภาษาไทย ให้เลือกภาษาจากกล่องเลือกทางด้านขวา

1. ดาวน์โหลดและติดตั้ง AppServ 2.4.9 (อย่าเลือก 2.5.9) จาก sourceforge ให้บันทึกไดเร็กทรอรีที่ติดตั้งไว้ด้วย (ถ้าทำตามค่าปกติ จะติดตั้งที่ C:\AppServ

จากนั้น AppServ จะถามข้อมูลที่ต้องใช้ในการติดตั้งแต่ละส่วนดังนี้

ในการติดตั้งสำหรับ Apache ต้องระบุ Server Name และ Administrator's Email Address ให้ระบุลงไปอย่างไรก็ได้

จากนั้นในส่วนของการติดตั้ง MySQL จะมีหน้าต่างที่ถาม root password ให้กรอกและบันทึกไว้ด้วย ให้สังเกตด้วยว่าได้เลือก Character Sets and Collations เป็น UTF-8 Unicode แล้ว

เมื่อติดตั้งเสร็จโปรแกรมติดตั้งจะถามว่าจะเริ่มการทำงานของ Apache และ MySQL หรือไม่ ให้คลิ๊กเลือกทั้งสองโปรแกรม

2. เมื่อติดตั้งแล้ว ถ้าทดลองเรียก http://localhost/ จะพบหน้าเริ่มต้นของ AppServ

โครงสร้างไดเร็กทรอรีที่ได้จะเป็นดังนี้ (ดูรายละเอียดเพิ่มเติม)

C:\AppServ
 |
 +-- Apache2.2
 +-- MySQL
 +-- php5
 \-- www

ไดเร็กทรอรี www จะเป็นที่จะติดตั้งระบบรับโปรแกรมของผ่านเว็บ

3. ทั้งโปรแกรม Apache และ MySQL จะทำงานให้บริการ การเปิด/ปิด หรือเรียกติดตั้งสามารถทำได้จากเมนูของโปรแกรม AppServ

การติดตั้งระบบฐานข้อมูลและเว็บเซิร์ฟเวอร์โดยตรง

ในส่วนนี้ยังมีข้อมูลไม่เรียบร้อย

1. ติดตั้ง MySQL

ติดตั้ง MySQL Community Server 5.0 โดยเลือกติดตั้งหัวข้อ Windows Essentials

2. ติดตั้ง Apache Webserver

ติดตั้ง Apache Http Server โดยเลือกติดตั้ง แฟ้มติดตั้งนี้

การสร้างฐานข้อมูลของระบบรับโปรแกรมผ่านทางเว็บ

ระบบรับโปรแกรมผ่านทางเว็บ

โปรแกรมตรวจ

การคอมไพล์โปรแกรมตรวจ

ลง Dev C++ (4.9.9.2), ตั้ง include paths, แก้ compiler options เพิ่ม -D ON_WINDOWS, ลง libmysql DevPak (เลือก Tools -> Check for Updates/Packages)

การตั้งค่าเริ่มต้น

การสร้างบัญชีผู้ใช้

การเพิ่มโจทย์

การใช้งาน

รายละเอียดเพิ่มเติม

โครงสร้างฐานข้อมูล

ตารางและคอลัมน์ต่าง ๆ มีดังนี้

TABLE: user_info  ตารางผู้ใช้
COLUMNS:
  user_id  varchar(10)  รหัสประจำตัวผู้ใช้
  name     varchar(100) ชื่อ
  passwd   varchar(10)  รหัสผ่าน
  grp      varchar(10)  รหัสกลุ่ม (หรือศูนย์)
  type     char(1)      ประเภทผู้ใช้:
                          'C' คือผู้เข้าแข่งขัน (contestant) 
                          'S' คืออาจารย์ผู้ดูแลกลุ่ม (supervisor) และ 
                          'A' คือผู้ดูแลระบบ
TABLE: prob_info  ตารางปัญหา
COLUMNS:
  prob_id      varchar(10)   รหัสปัญหา
  name         varchar(100)  ชื่อปัญหา
  avail        char(1)       เปิดให้ส่ง ('Y' หรือ 'N')
  prob_order   int(10)       ลำดับในการแสดงผล ปัญหาจะแสดงตาม prob_order จากน้อยไปมาก
TABLE: submission  ตารางเก็บโปรแกรมที่ส่ง
COLUMNS:
  user_id  varchar(10)  
  prob_id  varchar(10)  
  sub_num  int(11)      หมายเลขของการส่ง (ส่งครั้งที่) นับสำหรับผู้ใช้และปัญหานี้ เริ่มจาก 1
  time     datetime     
  code     mediumtext   ซอร์สโปรแกรมที่ส่ง
PRIMARY KEY: (`user_id`,`prob_id`,`sub_num`)
TABLE: grd_queue  คิวรอการตรวจ
COLUMNS:
  q_id     int(10)      
  user_id  varchar(10)  
  prob_id  varchar(10)  
  sub_num  int(10)      
TABLE: grd_status  สถานะของการตรวจ
COLUMNS:
  user_id       varchar(10) 
  prob_id       varchar(10)
  res_id        int(10)      รหัสสถานะ ดูตาราง res_desc
  score         int(10)      
  grading_msg   varchar(50)  ข้อความจากการตรวจ (แสดงเป็นสตริงของอักษร P, -, x, และ T)
  compiler_msg  text         ข้อความจาก compiler
PRIMARY KEY: (`user_id`,`prob_id`)

ตารางประกอบ

TABLE: res_desc
COLUMNS:
  res_id     int(10)      
  res_text   varchar(45)  
DATA: 
  (1,'in queue'),
  (2,'grading'),
  (3,'accepted'),
  (4,'rejected');