ผลต่างระหว่างรุ่นของ "Oop lab/gdx/pacman"
Jittat (คุย | มีส่วนร่วม) |
Jittat (คุย | มีส่วนร่วม) |
||
แถว 89: | แถว 89: | ||
} | } | ||
</syntaxhighlight> | </syntaxhighlight> | ||
+ | |||
+ | หมายเหตุ: คลาสที่เป็น Adapter เป็นคลาสที่ implement method ของ interface บางอย่างจนครบด้วย method ว่าง ๆ ทำให้เวลาเราจะเขียนคลาสที่ implement บาง interface เราสามารถเขียนได้โดยไม่ต้องคอยไล่ implement ทุกเมท็อดเอง | ||
=== แสดง pacman === | === แสดง pacman === |
รุ่นแก้ไขเมื่อ 02:38, 27 กันยายน 2559
- หน้านี้เป็นส่วนหนึ่งของ oop lab
ขั้นตอนคร่าว ๆ
- สร้าง gradle project ของ GDX
- เขียนส่วนแสดงแผนที่และจุด
- บังคับ pacman เดินไปมาตามช่อง (วิ่งทะลุกำแพง)
- บังคับ pacman เดินไปมาตามช่อง (ไม่ทะลุแล้ว)
- กินจุด
- แสดงคะแนน
เนื้อหา
สร้าง gradle project
เราจะสร้าง gradle project ของเกมด้วยโปรแกรม gdx-setup
ดาวนโหลด gdx-setup.jar
จากนั้นสั่ง
java -jar gdx-setup.jar
ใส่ค่าให้ครบ เลือกเฉพาะ desktop เกม เพื่อความสะดวกในการทำ tutorial ให้ตั้งชื่อ game class ว่า PacmanGame
จากนั้นให้ import เข้าไปใน Eclipse หรือ NetBeans และทดลองรัน ถ้าเจอปัญหาว่าหารูป badlogic ไม่เจอ อย่าลืมแก้ไข Working Directory ที่ Run Configurations...
เกมเลื่อน pacman
ในส่วนแรกเราจะทดลองเขียนโดยไม่แยกคลาสที่จัดการสถานะกับคลาสที่แสดงผล เพื่อให้เห็นภาพของ update loop ของเกมที่ชัดเจน จากนั้นเราจะค่อยแยกส่วนสถานะออกเป็นคลาสกลุ่ม World และส่วนแสดงผลออกเป็นคลาสกลุ่ม WorldRenderer ต่อไป
ปรับขนาดหน้าจอ, ลบรูป badlogic
เกมของเราจะเป็นเกมตาราง ช่องของตารางจะมีขนาด 40 x 40 จุด มีความกว้างของตาราง 20 ช่อง (กว้าง 800 จุด) เราจะปรับขนาดของหน้าจอเมื่อเราเริ่มสร้าง application โดยแก้ไขขนาดหน้าจอที่คลาส DesktopLauncher ในโปรเจ็คย่อย xxxx-desktop
public class DesktopLauncher {
public static void main (String[] arg) {
LwjglApplicationConfiguration config = new LwjglApplicationConfiguration();
config.width = 800;
config.height = 600;
new LwjglApplication(new PacmanGame(), config);
}
}
จากนั้นในโปรเจ็คย่อย xxxx-core ให้แก้ไขคลาส PacmanGame (เป็นคลาสหลักที่เรา generate มาจากขั้นตอนก่อน) โดยให้ลบส่วนที่เกี่ยวข้องกับ Texture img และแก้ส่วน render ให้เป็นดังด้านล่าง
public class PacmanGame extends ApplicationAdapter {
SpriteBatch batch;
@Override
public void create () {
batch = new SpriteBatch();
}
@Override
public void render () {
super.render();
}
@Override
public void dispose () {
batch.dispose();
}
}
ทดลองเรียกให้ทำงาน (เรียก run ที่ DesktopLauncher) สังเกตว่าหน้าจอเป็นสีดำและมีขนาดตามที่เราระบุ
แยกคลาส GameScreen
คลาส PacmanGame ในปัจจุบันนั้น extends ApplicationAdapter ซึ่งเป็นคลาสที่ flexible มากในการเขียนเกม อย่างไรก็ตาม ในกรณีที่เราต้องการหลาย ๆ หน้าจอ (screen) เราสามารถเริ่มต้นเขียนโดย inherit มาจากคลาส Game จะสะดวกกว่า
เราจะปรับคลาสที่เป็นคลาสแม่ของ PacmanGame เป็นดังนี้ อย่าลืมกดให้ Eclipse/NetBeans import คลาสต่าง ๆ มาให้ครบด้วย
public class PacmanGame extends Game {
จากนั้นสร้างคลาส GameScreen จากนั้นแก้ให้คลาส extends ScreenAdapter
import com.badlogic.gdx.ScreenAdapter;
public class GameScreen extends ScreenAdapter {
}
หมายเหตุ: คลาสที่เป็น Adapter เป็นคลาสที่ implement method ของ interface บางอย่างจนครบด้วย method ว่าง ๆ ทำให้เวลาเราจะเขียนคลาสที่ implement บาง interface เราสามารถเขียนได้โดยไม่ต้องคอยไล่ implement ทุกเมท็อดเอง