ครั้งที่ |
วันที่ |
ผู้นำการพูดคุย |
หัวข้อ/abstract
|
1 |
2 กค. 56 |
อ.ภารุจ
|
Reflections on trusting trust [1]
ในปี 1984 Ken Thompson ได้รับรางวัลที่มีเกียรติ์สูงสุดในวงการคอมพิวเตอร์คือ ACM Turing Award ในฐานะที่เป็นผู้สร้างระบบปฏิบัติการ UNIX
แต่ Ken เลือกที่จะกล่าวคำปราศรัยในตอนรับรางวัลในเรื่องที่ไม่เกี่ยวกับ UNIX โดยตรง โดยเขาเลือกที่จะพูดถึงเรื่องคอมไพเลอร์ภาษาซี
และกระบวนการสร้างโปรแกรมที่สร้างโปรแกรมเดิมออกมา ผลกระทบจากคำปราศรัยและบทความที่เกี่ยวเนื่องทำให้วงการความปลอดภัย
ทางระบบคอมพิวเตอร์สั่นคลอน สิ่งที่เขาพูดในปีนั้นได้หลอกหลอนนักวิจัยในวงการนี้มาจนทุกวันนี้ และยังไม่มีใครที่จะมาหักล้างเขาได้
Ken บอกว่ากระบวนการในการผลิตและใช้งานโปรแกรมที่เรากระทำกันอยู่ทุกวันนี้ ไม่มีทางที่จะตรวจสอบหรือว่าเชื่อถือกับสิ่งใดๆได้ 100% เลย
ในการบรรยายนี้เราจะมาทำความเข้าใจกับสิ่งที่ Ken ได้ฝากไว้ และอาจจะมีการอภิปรายกันถึงเรื่องปรัชญาที่เกี่ยวเนื่องอีกด้วย
|
2 |
16 กค. 56 |
อ.จิตร์ทัศน์
|
Proofs that yield nothing but their validity or all languages in NP have zero-knowledge proof systems [2]
ปัญหาในกลุ่ม NP สามารถนิยามได้ผ่านทางการปฏิสัมพันธ์ (interaction) ระหว่างผู้พิสูจน์ (prover) และผู้ตรวจสอบ (verifier) ที่มีการติดต่อกันเพียงรอบเดียว
แนวคิดดังกล่าว ถ้าเราไม่จำกัดจำนวนรอบของการปฏิสัมพันธ์ เราจะได้กลุ่มของปัญหาที่มีระบบพิสูจน์แบบปฏิสัมพันธ์ (Interactive Proof System)
คำถามที่น่าสนใจ และเกี่ยวข้องกับเนื้อหาจากการพูดคุยครั้งก่อน ก็คือเป็นไปได้หรือไม่ที่ระหว่างที่ผู้พิสูจน์ดำเนินการพิสูจน์ประโยคบางอย่างต่อผู้ตรวจสอบ
ผู้พิสูจน์จะไม่เปิดเผย "ข้อมูล" อื่น ๆ ให้กับผู้ตรวจสอบ?
เปเปอร์ข้างต้นนำเสนอระบบพิสูจน์ที่รับประกันว่าระหว่างการพิสูจน์ ผู้พิสูจน์จะไม่เปิดเผยข้อมูลอื่น ๆ แก่ผู้ตรวจสอบแม้แต่น้อย
(ระบบพิสูจน์ดังกล่าวเรียกว่า Zero-Knowledge Proof) สำหรับปัญหา graph isomorphism และ graph non-isomorphism
นอกจากนี้ ภายใต้เงื่อนไขทางการเข้ารหัสบางอย่าง เปเปอร์ข้างต้นเสนอระบบ zero-knowledge system สำหรับปัญหา 3-COLOR
ที่ต้องการตัดสินว่ากราฟที่ได้รับสามารถระบายสีด้วยสีสามสีโดยที่ไม่มีโหนดคู่ใดที่มีเส้นเชื่อมติดกันมีสีเดียวกัน
ผมจะนำเสนอแนวคิดดังกล่าว และอธิบายไอเดียหลักของบทพิสูจน์ในเปเปอร์ด้านบน (เท่าที่อ่านทันนะครับ)
|
3 |
30 กค. 56 |
อ.ธนาวินท์
|
Game with a purpose [3]
อังคารหน้านี้ ผมจะคุยเกี่ยวกับแนวคิดแบบเก๋ไก๋
ที่พยายามหลอกใช้พลังความคิดของมนุษย์แทน AI ชั้นต่ำครับ ^___^ (คือมนุษย์เก่งกว่ามากน่ะครับ)
ซึ่งงานที่จะพูดถึงนี้เป็นของคุณ Luis von Ahn ครับ งานของเค้ามีหลากหลายมากครับ โดยอังคารนี้ผมจะเน้นที่งานนี้เป็นหลักครับ
Game with a purpose (http://www.cs.cmu.edu/~biglou/ieee-gwap.pdf) และ
Designing game with a purpose (http://dl.acm.org/citation.cfm?id=1378719)
|
4 |
13 สค. 56 |
อ.ชัยพร
|
Protothread [4]
ผมจะขอพูดถึงเรื่อง Protothread ซึ่งเป็นความพยายามในการสร้าง abstraction เพื่อให้การพัฒนาแอพลิเคชันแบบมัลติทาสค์
บนแพลทฟอร์มที่มีหน่วยความจำกัด (ในที่นี้ คือระดับไม่กี่กิโลไบท์) เป็นเรื่องสะดวกขึ้นโดยการใช้ท่าพิสดารผ่านมาโครของภาษาซี
กลไกนี้ทำให้ เราสามารถเขียนโค้ดให้กับแต่ละส่วนของแอพลิเคชันในรูปโครูทีนที่เสมือนว่ามีทำงานไปพร้อม ๆ กัน
ซึ่งมีลำดับขั้นตอนที่ง่ายต่อการเข้าใจมากกว่ารูปแบบเครื่องจักรสถานะแบบเดิมที่ใช้กันในคอมพิวเตอร์ ฝังตัวทั่วไป
|
5 |
27 สค. 56 |
อ.ภารุจ
|
Checkpointed Early Load Retirement [5]
Checkpointed Early Load Retirement เป็นความพยายามที่จะเพิ่มสมรรถนะของการประมวลผลของ
"CPU แบบ superscalar ที่ใช้ ROB เพื่อรองรับ precise exception โดยการใช้ value prediction ทำนายค่าของคำสั่ง load ที่ตำแหน่งหัวของ ROB ที่ miss ใน L2 cache"
อย่าเพิ่งตกใจกับคำศัพท์นะครับ
เราจะใช้เวลา 20 นาที่แรกในการเรียนรู้พื้นฐานทางสถาปัตยกรรมคอมพิวเตอร์ทั้งหมดที่สั่งสมมากว่า 20 ปี และจะทำความเข้าใจบทความนี้ด้วยกัน ;)
เกร็ดเล็กน้อยเกี่ยวกับบทความนี้ : คนเขียนบทความนี้เป็นฝาแฝดผู้หญิงที่น่าจะเป็นคู่แรกของโลกในวงการสถาปัตยกรรมคอมพิวเตอร์
และเป็นบทความแรกของเธอทั้งคู่ในชีวิตการเป็นนักศึกษาปริญญาเอกครับ
|
6 |
10 กย. 56 |
อ.จิตร์ทัศน์
|
Differential Privacy [6]
ผมจะมาเล่าเรื่องเกี่ยวกับ differential privacy ซึ่งเป็นเครื่องมือในการวิเคราะห์ความเป็นส่วนตัวของข้อมูลของปัจเจกเมื่อถูกนำไปประมวลผลกับข้อมูลก้อนใหญ่
(เช่นการนำข้อมูลทางการแพทย์ไปหาสถิติภาพรวม หรือพวกการทำ data mining)
เพิ่มเติม : http://research.microsoft.com/apps/pubs/default.aspx?id=74339
|
7 |
1 ตค. 56 |
อ.ธนาวินท์
|
Parameter-free (time series) data mining [7]
ผมจะมายกตัวอย่างให้ดูสองสามแบบครับว่าทางแลปที่ผมอยู่เนี่ยเค้าสนใจเรื่องการลด parameter ด้วยครับ
|
8 |
5 พย. 56 |
อ.ชัยพร
|
Compressive Sensing บน Sensor Network [8]
หลัก ๆ จะอิงตามเปเปอร์สองฉบับนี้ครับ
http://ieeexplore.ieee.org/xpls/abs_all.jsp?arnumber=5461926
http://ieeexplore.ieee.org/xpls/abs_all.jsp?arnumber=1614066
|
9 |
26 พย. 56 |
ธานี
|
Dynamic graph algorithm [9]
ปัญหาบนกราฟทุกคนคงรู้จักดี เช่น Minimum Spanning Tree ทีนี้เราจะแก้ปัญหานั้นๆ บนกราฟที่มีการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา
ซึ่งการเปลี่ยนแปลงที่ว่าก็คือ การเพิ่มหรือลด edge ครับ ในการแก้ปัญหานี้ก็จะมี Data Structure ที่น่าสนใจที่นำมาใช้ได้ครับ
โดยในเปเปอร์ด้านบน พูดถึงปัญหาหลายปัญหาครับ ซึ่งผมน่าจะพูดแค่ Connectivity และ บางส่วนของ MST (ถ้าทัน)
|
10 |
17 ธค. 56 |
ธรรมรักษ์
|
Path coverage in wireless sensor networks [10]
จะสนใจในเรื่องของการหาเส้นทางของ target ที่เคลื่อนที่เข้ามาใน wireless sensor networks อย่างมีเงื่อนไขค่ะ
เงื่อนไขแรกคือต้องการให้ target เสี่ยงต่อการถูกตรวจจับได้จาก sensor น้อยที่สุด ส่วนอีกเงื่อนไขหนึ่งกลับกัน
คือต้องการให้ target ถูกตรวจจับได้มากๆ ซึ่งจะมีรายละเอียดของปัญหาอยู่ค่ะ
เปเปอร์เพิ่มเติม
http://ieeexplore.ieee.org/xpl/articleDetails.jsp?tp=&arnumber=1204831&queryText%3DCoverage+in+Wireless+Ad+Hoc+Sensor+Networks+X-Y+Li
|
11 |
21 มค. 57 |
วิศรุต
|
Internet load balancing ใน High-speed Network [11]
สวัสดีครับ
ในวันอังคารที่ 21 ม.ค.นี้ผมจะพูดเรื่อง Internet load balancing ใน High-speed Network นะครับ
โดยจะสนใจในเรื่องของการทำ balancing ใน network ขนาดใหญ่โดยใช้ hash function เป็นหลักนะครับ
|
12 |
11 กพ. 57 |
กฤษฎิ์
|
Object recognition in 3D scenes with occlusions and clutter by Hough voting [12]
เป็นเรื่องเกี่ยวกับ object recognition โดยใช้ข้อมูล 3D ที่ได้จาก kinect ครับ
|
13 |
11 มี.ค. 57 |
อ.ภารุจ
|
Threads cannot be implemented as a library [13]
เราอยู่ในยุคของมัลติคอร์และการโปรแกรมแบบขนาน และเมื่อนึกถึงการโปรแกรมแบบขนาน
โปรแกรมเมอร์ก็มักจะใช้เลือกใช้ thread library เพื่อแตก thread ย่อยและทำการสื่อสารระหว่าง thread
แต่การใช้ thread library ในโปรแกรมแบบขนานที่เขียนด้วยภาษาอย่าง C/C++ มีปัญหาในเบื้องลึกที่จะต้องเยียวยากันให้ถูกต้องทีเดียว
ใน grad talk คราวนี้เราจะมาทำความเข้าใจเรื่องราวที่มันเกิดเป็นประเด็นขึ้นมา จนกระทั่งการนำไปสู่ความพยายามในการสร้าง
ข้อกำหนดเกี่ยวกับหน่วยความจำที่มีความแข็งแกร่งและชัดเจนกว่าก่อนหน้านี้ี้
|
14 |
25 มี.ค. 57 |
อ.จิตร์ทัศน์
|
A fast solver for a class of linear systems. [14]
ผมจะพูดเกี่ยวกับ development ของ algorithm ที่แก้สมการเชิงเส้นที่มีเงื่อนไขเป็นเมตริกซ์ที่มาจากกราฟ (laplacian matrices of graphs)
ในไม่กี่ปีที่ผ่านมา มีการพัฒนาอัลกอริทึมที่ทำงานเร็วขึ้นเพื่อประมาณค่า max flow บนกราฟที่ไม่มีทิศทางอย่างต่อเนื่อง
หรือล่าสุดได้มีการค้นพบอัลกอริทึมที่หา bipartite matching ที่เร็วขึ้น (bipartite matching ถ้าพิจารณาเป็นปัญหา max flow จะเป็น max flow บน directed graph)
ปัญหาเหล่านี้ไม่มีพัฒนาการใด ๆ มาหลายสิบปี
เครื่องมือหลักพื้นฐานก็คืออัลกอริทึมที่สามารถแก้สมการเชิงเส้นรูปแบบพิเศษนี้ได้ในเวลาใกล้กับ linear time
การพัฒนาอัลกอริทึมดังกล่าวของ Daniel A. Spielman และ Shang-Hua Teng นับเป็นงานสำคัญมาก ๆ
และได้มีการพัฒนาเครื่องมีหลายชิ้นเพื่อจะให้ถึงเป้าหมายดังกล่าวนอกจากนี้ยังเป็นการนำเครื่องมือเชิง algebraic เข้ามาในพื้นที่ที่เคยมีแต่อัลกอริทึมแบบ combinatorial ด้วย
ผมจะพยายามเล่าที่มาที่ไปและแสดงให้เห็นถึงบางองค์ประกอบที่น่าสนใจของพัฒนาการนี้
หน้าเว็บที่เกี่ยวข้อง: http://www.cs.yale.edu/homes/spielman/precon/precon.html
|
15 |
3 มิ.ย. 57 |
อ.ธนาวินท์
|
How to do good research, get it published in SIGKDD and get it cited! [15]
ผมหมดมุขแล้วครับ เลยจะพูดกว้างๆ เรื่องการทำวิจัยครับ ในหัวข้อ
"How to do good research, get it published in SIGKDD and get it cited!" ของคุณ Eamonn Keogh ครับ
คงจะพูดๆ ข้ามๆ ครับ เพราะว่างานนี้เป็น talk ยาว 3 ชม. ครับ
|
16 |
24 มิ.ย. 57 |
อ.ชัยพร
|
Networking Named Contents [16]
หัวข้อที่จะขอนำมาเล่าให้ฟังคือ Content-Centric Networks (CCN) หรืออีกชื่อหนึ่งคือ Named Data Networks (NDN)
ซึ่งเป็นความพยายามที่จะทำให้เครือข่ายอินเตอร์เน็ตรองรับการขนส่งข้อมูลแบบเจาะจงเนื้อหาแทนที่จะเป็นแบบเจาะจงโฮสท์
เพื่อให้สอดรับกับลักษณะการใช้งานอินเตอร์เน็ตของผู้ใช้ส่วนใหญ่ในปัจจุบันที่สนใจว่าข้อมูลมีเนื้อหาอะไรมากกว่าอยู่ที่เครื่องไหน
จริง ๆ แล้วแนวคิดนี้เคยถูกนำเสนอมาแล้วบ่อยครั้งในหลายสิบปีที่ผ่านมา แต่งวดนี้หนึ่งในตัวตั้งตัวตีคือคุณ Van Jacobson
เจ้าพ่อ TCP/IP ผู้พัฒนา flow/congestion control algorithm ที่เราคุ้นเคย
อีกทั้งยังได้รับทุนสนับสนุนจากมูลนิธิวิทยาศาสตร์แห่งชาติสหรัฐอเมริกา (NSF) เพื่อวิจัยและพัฒนาสถาปัตยกรรมเครือข่ายอินเตอร์เน็ตแห่งอนาคต
จึงน่าลุ้นว่าแนวคิดนี้จะประสบความสำเร็จเพียงใดต่อไป
และถ้ามีเวลาอาจจะโฉบมาคุยเรื่องการหาเส้นทางและการประยุกต์ใช้ NDN ในเครือข่ายระหว่างยานพาหนะ (VANET) อีกสองเปเปอร์ดังนี้ครับ
NLSR: Named-data Link State Routing Protocol
http://dl.acm.org/citation.cfm?id=2491231
VANET via Named Data Networking
http://named-data.net/publications/vanet_via_ndn_infocom_nom/
|
17 |
8 ก.ค. 57 |
อ.ภารุจ
|
Anti-kobpae [17]
GradTalk ในวันพรุ่งนี้ ผมขอปาดหน้า อ. จิตรทัศน์ เนื่องจากอยากจะนำงานที่กำลังดำเนินการอยู่มาให้ทางทีมได้ช่วยกันวิจารณ์ครับ
โดยในการพูดคุยคราวนี้ ผมจะนำแนวคิดและแนวทางปฏิบัติในการปรับปรุงสมรรถนะระบบตรวจสอบการคัดลอก anti-kobpae มานำเสนอครับ
โดยจะพูดถึงการปรับปรุงทั้งในมุมของอัลกอริทึมและสถาปัตยกรรมการคำนวณ โดยในมุมแรกนั้น จะพูดถึงเทคนิคการใช้ locality sensitive hashing
เป็นตัวกรองในชั้นแรก ก่อนที่จะตรวจสอบความคล้ายคลึงในระดับหน่วยย่อยโดยใช้ edit distance ในขั้นต่อมา
ในแง่มุมที่สอง จะพูดถึงการกระจายไฟล์ข้อมูลที่เป็นฐานในการตรวจสอบ เพื่อใช้การคำนวณแบบขนานในการเพิ่มสมรรถนะ
โดยจะเทียบเคียงการประมวลผลโดยใช้ MapReduce กับ parallel RDBMS
ลิงค์ไปหารายละเอียดและบทความที่เกี่ยวข้องครับ
http://web.mit.edu/andoni/www/LSH/index.html
http://research.google.com/archive/mapreduce.html
http://research.google.com/pubs/pub38125.html
|
18 |
22 ก.ค. 57 |
อ.จิตร์ทัศน์
|
Small-World Phenomenon [18]
ผมจะมาพูดเกี่ยวกับเรื่อง Small-World Phenomenon นะครับ โดยจะเริ่มจากข้อสังเกตและการทดลองต่าง ๆ
เกี่ยวกับปรากฏการณ์ที่เรียกรวม ๆ กันว่า small-world ที่หลาย ๆ คนเคยได้ยิน (เช่นเรื่องพวก six-degree of separation)
และจะแสดงให้เห็นว่า model พื้นฐานของ random graph สองแบบที่มีใช้อยู่ก่อนหน้ามีการศึกษาเรื่องนี้ ไม่เหมาะสมกับการศึกษาปรากฏการณ์นี้
จากนั้นผมจะอธิบายโมเดลที่นำเสนอโดย Kleinberg ที่ปรับมาจากโมเดลของ Watts และ Strogatz
เพื่อที่จะศึกษาปรากฏการณ์ดังกล่าวในมุมมองของอัลกอริทึม เปเปอร์ที่อ้างอิงคืออันนี้นะครับ
J. Kleinberg. The small-world phenomenon: An algorithmic perspective. Proc. 32nd ACM Symposium on Theory of Computing, 2000.
อ่านแบบ html: http://www.cs.cornell.edu/home/kleinber/swn.d/swn.html
pdf: http://www.cs.cornell.edu/home/kleinber/swn.pdf
|
19 |
26 ส.ค. 57 |
ธานี
|
Balloon Popping With Applications to Ascending Auctions [19]
เป็นหัวข้อที่ว่าด้วยการตั้งราคา(หรือประมูล)ขายสินค้าดิจิตอลอย่างไร เพื่อให้ผู้ขายได้รับผลประโยชน์สูงสุด
โดยในเปเปอร์นี้ได้พิสูจน์ว่ากลไกการตั้งราคาที่ดีที่สุด ก็ไม่ได้ผลประโยชน์มากไปกว่าการตั้งราคากลางสักเท่าใดนัก
คือมากกว่าเป็นแค่ค่าคงที่ไม่เกินประมาณ 5 เท่าครับ
โดยการอธิบายนั้น ใช้วิธีการสร้างโมเดลของการประมูลนี้ให้เป็นปัญหาการเป่าลูกโป่ง เพื่อให้ได้อากาศรวมเยอะที่สุดแทนครับ
ผมคิดว่าจะอธิบายโมเดล และยกตัวอย่างให้เห็นภาพรวมถึงอธิบายในส่วนการพิสูจน์ได้บ้างครับ
|
20 |
8 ก.ย. 57 |
กฤษฎิ์
|
scan algorithm and its application (Radix sort) [20]
จะพูดเรื่อง parallel computing บน GPU เป็น technical report
|
21 |
23 ก.ย. 57 |
ธรรมรักษ์
|
On mobile sensor assisted field coverage [21]
คราวนี้จะยังคงอยู่ที่เรื่อง Coverage ใน wireless sensor networks อยู่
แต่ว่าเป็นงานค่อนข้างใหม่ ออกมาในปี 2013 นี่เองค่ะ หวังว่าจะยังไม่เบื่อกันเสียก่อนนะคะ :D
โดยในงานนี้จะสนใจว่าจะเคลื่อนที่ mobile sensors ไปที่ไหนดีเพื่อที่จะให้ static sensors ทำงานน้อยๆ
จะได้ประหยัดพลังงานของ static sensors อันจะส่งผลให้ network lifetime สูงขึ้นโดยที่ยังคงรักษา coverage ไว้ได้ด้วยค่ะ
|
22 |
7 ต.ค. 57 |
วิศรุต
|
Parallel Firewall Designs for High-Speed Networks [22]
งานที่จะพูดเป็นเรื่องเกียวกับการออกแบบ parallel firewall สำหรับ high speed network
ซึ่งมีเป้าหมายให้ delay ที่เกิดขึ้นจากการทำงานของ firewall น้อยที่สุด
(เริ่ม 12.05)
|
23 |
21 ต.ค. 57 |
อ.จิตร์ทัศน์
|
Quantum Algorithm []
ผมจะมาเล่าเกี่ยว quantum algorithm ครับ ถ้าเป็นไปได้ จะพยายามไปให้ถึง quantum fft ครับ (คงไม่ถึง factorization)
ขึ้นกับว่าผมสามารถทบทวนความเข้าใจทันไม่ทันนะครับ 555
รบกวนขอเจอกัน 12:05 นะครับ
|
24 |
4 พ.ย. 57 |
ภัทร
|
Approximation algorithms for NP-complete problems on planar graphs [23]
ผมจะหยิบงานของ Brenda S. Baker
ชื่อ Approximation algorithms for NP-complete problems on planar graphs มาพูดครับ
งานนี่นำเสนอ เทคนิคที่สามารถใช้ ประมาณคำตอบปัญหา NP-complete หลาย ๆ ปัญหาบน Planar Graphs ได้
โดยมีความแม่นยำ และเวลาในการทำงานแปรตามค่า k ซึ่งกำหนดได้ครับ
|