การจัดการงาน IOI Thailand League 2010

จาก Theory Wiki
ไปยังการนำทาง ไปยังการค้นหา

เอกสารนี้ใช้เป็นหน้าหลักเกี่ยวกับการจัดการงานการแข่งขัน IOI Thailand League 2010

ลิงก์ย่อ http://theory.cpe.ku.ac.th/wiki/index.php/League2010

แนวคิด

ปัญหา: ปัจจุบันการแข่ง TOI ที่จัดอยู่ค่อนข้างยากสำหรับคนหัดใหม่และอาจจะเข้าถึงยาก

ทางคณะกรรมการจัดงาน IOI 2011 จึงได้ประสานงานกับทางวิชาการ.คอม ให้เข้ามาช่วยในการประชาสัมพันธ์และการจัดการ ทำให้ ส่วนหลักของการแข่งขัน TOI จะเปลี่ยนไปเป็น IOI Thailand League 2010 โดยมีการเปลี่ยนแปลงคร่าว ๆ ดังนี้

  • มีการแข่งขันหลายระดับ ตอนนี้จะมี 3 ระดับ ระดับบนควรจะเป็นประมาณ TOI.C
  • จัดแข่งรายเดือน ทุกเดือน และมีการเลื่อนระดับ ลักษณะนี้จะคล้าย ๆ กับลีคของกีฬา เพื่อให้ผู้เข้าแข่งขันเห็นการพัฒนาของตนเอง
  • กำหนดการแข่งที่ยืดหยุ่นมากขึ้น มีการแข่งขันออนไลน์ ที่ไม่กำหนดเวลาแค่ 3 - 5 ชั่วโมง แต่ให้เวลานักเรียนเข้ามาทำตอนไหนก็ได้
  • ประชาสัมพันธ์ถึงโรงเรียน มีการไปจัดแข่งที่โรงเรียนต่าง ๆ ด้วย โดยตระเวนไปเดือนละหนึ่งโรงเรียน (ทางวิชาการ.คอมจะช่วยจัดให้ แต่เราสามารถไปเดินสายด้วยก็ได้)

ส่วนการแข่งขันระดับที่สูงขึ้น เช่น TOI.CPP จะยังจัดเหมือนเดิม เป็นครั้งคราวไป

สำหรับทีมงาน

ช่องทางติดต่อ

ในการสื่อสารจะใช้เมล์เป้นหลัก โดยจะมีเมล์ลิสต์สองอัน คือ

  • เมล์ลิสต์ของทีมงานทั้งหมด คนที่สนใจช่วยเหลือจะได้รับการเชิญเข้าเมล์ลิสต์นี้ หลัก ๆ จะเอาไว้ประกาศข่าว หรือแจ้งเวลามีคนเพิ่มโจทย์เข้าในระบบเป็นต้น จะเป็นเมล์ลิสต์ที่ส่งเมล์ไม่มากนัก
  • เมล์ลิสต์ของทีมหลัก สมาชิกในเมล์ลิสต์นี้จะเปลี่ยนไปตามแต่ละครั้ง สมาชิกจากในเมล์ลิสต์ของทีมงานสามารถสมัครเข้าเมล์ลิสต์ทีมหลักเพื่อระบุว่าพร้อมจะช่วยการจัดครั้งนั้น ๆ ได้ เมล์ลิสต์นี้จะมีการสนทนาที่มากกว่าเมล์ลิสต์แรก

ส่วนโจทย์และข้อมูลทดสอบจะแชร์ผ่านระบบของ dropbox ที่จะแชร์ให้กับทีมงาน

การพัฒนาโจทย์และข้อมูลทดสอบ

โจทย์ จะมีการเตรียม template ไว้ให้ โดย template นี้จะเป็น .doc (เพื่อความสะดวก) สำหรับทีมงานที่ไม่สะดวกกับรูปแบบดังกล่าวสามารถส่งในรูปแบบอื่นได้เช่นกัน

โจทย์จะต้องระบุ: (1) ขอบเขตทั้งเวลาและหน่วยความจำให้ชัดเจน

ข้อมูลทดสอบ ระบบ grader ปัจจุบันสามารถอัพโหลดข้อมูลทดสอบและโจทย์ได้ทางหน้าเว็บแล้ว โดยจะอัพโหลดเป็นแฟ้ม .zip, .tar, .tar.gz, หรือ .tgz โดยไฟล์ดังกล่าวจะต้องมีรูปแบบดังนี้

  • ไฟล์ข้อมูลนำเข้าจะมีชื่อ เช่น 1.in, 2.in หรือถ้าต้องการ group หลาย test case ให้ใช้ a, b, c ในการระบุต่อท้ายหมายเลขข้อมูลทดสอบ เช่น 1a.in, 1b.in, 1c.in
  • ไฟล์ข้อมูลผลลัพธ์ มีนามสกุล .sol
  • ไฟล์เนื้อหาโจทย์ จะเป็นไฟล์ชื่ออะไรก็ได้ที่ถูก zip อยู่ด้วย มีนามสกุล .html หรือ .markdown (หมายเหตุ จะเน้นเฉพาะใส่ pdf ซึ่งระบบจะรองรับแน่นอน)
  • FUTURE: ไฟล์โจทย์จะชื่ออะไรก็ได้ ให้มีนามกสุล pdf จะถูก link จากโจทย์ให้โดยอัตโนมัติ

มีไอเดีย แต่ไม่มีเวลาพัฒนาโจทย์

ต้องการเข้าร่วมทีมงาน

ติดต่อไปที่รายชื่อต่อไปนี้ (ชื่อจะเพิ่มขึ้นในภายหลัง)

  • จิตร์ทัศน์ ฝักเจริญผล
  • ทักษพร กิตติอัครเสถียร
  • วิชชากร กมลพรวิจิตร
  • อาภาพงศ์ จันทร์ทอง

แล้วคำเชิญต่าง ๆ จะตามมาเอง