204111:Python รายละเอียดที่ละไว้

จาก Theory Wiki
รุ่นแก้ไขเมื่อ 01:31, 24 กันยายน 2553 โดย Jittat (คุย | มีส่วนร่วม)
(ต่าง) ←รุ่นแก้ไขก่อนหน้า | รุ่นแก้ไขล่าสุด (ต่าง) | รุ่นแก้ไขถัดไป→ (ต่าง)
ไปยังการนำทาง ไปยังการค้นหา

มีเนื้อหาหลายส่วนที่ถูกละไว้จากเอกสารเนื่องจากไม่ใช่เนื้อหาหลักที่เป็นหัวใจของแนวคิดการเขียนโปรแกรม อย่างไรก็ตาม รายละเอียดเหล่านี้อาจมีประโยชน์เมื่อเขียนโปรแกรม หัวข้อเหล่านี้หลายหัวข้อเกี่ยวกับไวยากรณ์ของภาษา บางหัวข้อเกี่ยวกับการจัดรูปแบบการแสดงผล

Read this in English

กฎการตั้งชื่อ

เมื่อเราต้องการใช้ตัวแปร เราจะต้องกำหนดชื่อให้กับตัวแปรนั้น เช่นเดียวกัน ก่อนที่เราจะเขียนฟังก์ชันได้ เราก็ต้องคิดชื่อของฟังก์ชันนั้นก่อน การตั้งชื่อที่ดีช่วยทำให้โปรแกรมเข้าใจง่าย

ไพธอนมีกฎที่ระบุว่าชื่อใดใช้ได้ ชื่อใดใช้ไม่ได้ เราสามารถใชืชื่อเช่น "x", "total", หรือกระทั่ง "I_love_You_so_Much", แต่เราไม่สามารถใช้ชื่อ เช่น "2things", "x/y", หรือ "sum of numbers" ได้ จากตัวอย่างข้างต้น เราน่าจะพอคาดเดาได้ถึงเหตุผลของการห้ามนี้ สังเกตว่า ชื่อเหล่านี้ทำให้ตัวแปรโปรแกรมไพธอนสับสน เช่น ถ้าเรามีตัวแปรชื่อ x/y ไพธอนจะไม่สามารถแยกแยะตัวแปรนี้จากนิพจน์ x/y ได้เลย

กฎในการตั้งชื่อเป็นดังนี้:

  • ชื่อจะต้องขึ้นต้นด้วย อักษรภาษาอังกฤษ จะพิมพ์เล็กหรือใหญ่ก็ได้ หรือตัวอักษรขีดเส้นใต้ (_)
  • ตัวอักษรถัด ๆ ไปในชื่อ จะเป็นตัวอักษรภาษาอังกฤษ ตัวเลข หรือตัวอักษรขี

นอกจากนี้ ยังมีหลายชื่อที่เราไม่สามารถใช้ได้ เพราะว่าไพธอนได้ให้ความหมายพิเศษกับชื่อเหล่านั้นแล้ว ยกตัวอย่างเช่น เราไม่สามารถมีตัวแปรชื่อ "def" ได้ ชื่อพิเศษเหล่านี้ เราเรียกรวมกันว่า keywords ซึ่งแสดงดังรายการด้านล่าง

and       del       from      not       while
as        elif      global    or        with
assert    else      if        pass      yield
break     except    import    print
class     exec      in        raise
continue  finally   is        return
def       for       lambda    try

ตัวอย่างของชื่อที่ใช้ได้เช่น: total, is_correct, MeaningOfString, _when, number2, primeCount,

ด้านล่างเป็นตัวอย่างของชื่อที่ไม่สามารถใช้ได้ พร้อมทั้งเหตุผล:

  • 16monkeys --- เริ่มต้นด้วยตัวเลข
  • number-of-primes --- มี "-" ในชื่อ
  • def --- "def" เป็น keyword

การสุ่มตัวเลข

ไพธอนมีโมดูล random ที่รวบรวมฟังก์ชันเกี่ยวกับการสุ่มตัวเลขไว้ ตัวอย่างของฟังก์ชันดังกล่าวเช่น

  • random() คืนค่าสุ่มระหว่าง 0 ถึง 1 โดยทุกค่ามีความน่าจะเป็นเท่า ๆ กัน
  • randint(a,b) คืนค่าสุ่มเป็นจำนวนเต็มตั้งแต่ a ถึง b (รวม a และ b ด้วย)

ตัวอย่างการใช้งานฟังก์ชัน random() (แสดงที่ Python Shell)

>>> import random
>>> random.random()
0.6694009930242254
>>> random.random()
0.36492046796694855
>>> random.random()
0.5763012603131443

ถ้าเราต้องการสุ่มตัวเลขจำนวนจริงระหว่าง 0 ถึง 10 เราสามารถสั่ง

>>> random.random() * 10
0.08349265344413381
>>> random.random() * 10
4.228638705049377
>>> random.random() * 10
9.60064331579777

ตัวอย่างการใช้งานฟังก์ชัน randomint() (แสดงที่ Python Shell)

>>> random.randint(1,10)
9
>>> random.randint(1,10)
1
>>> random.randint(1,10)
5
>>> random.randint(1,10)
10

การจัดรูปแบบสตริง

จะเพิ่มรายละเอียดต่อไป

ลำดับความสำคัญของตัวดำเนินการที่สมบูรณ์ขึ้น

จะเพิ่มรายละเอียดต่อไป