Python Programming/Objects
ไพทอนสนับสนุนการเขียนโปรแกรมเชิงวัตถุ (OOP) ในระัดับหนึ่ง object ค่าทุกค่าในไพทอนล้วนเป็น object ทั้งสิ้น นี่รวมไปถึงค่าที่เป็น primitive type อย่างค่าประเภท int, float, string, และ boolean นอกจากนี้ list, tuple, และ dictionary ก็เป็น object เช่นกัน
การเรียก method ของ object ในภาษาไพทอนจะเหมือนกับการเรียก method ในภาษา Java โดยมีรูปแบบดังนี้
<<object>>.<<ชื่อ method>>(<<parameter 1>>, <<parameter 2>>, ...)
ส่วนที่เหลือของหน้านี้จะกล่าวถือ method ของ object ต่างๆ ที่เราเคยพูดถึงมาแล้ว
Method ของ List
ส่วนนี้ลอกมาจาก Python Tutorial: 5. Data Structures
ชื่อ | หน้าที่ |
---|---|
append(x) | เพิ่ม x ต่อท่าย list |
insert(i,x) | แทรก x ที่ำตำแหน่ง i ใน list |
remove(x) | ลบ x ออกจาก list |
pop([i]) | ลบสมาชิกที่ตำแหน่งที่ i ออกจา่ก list และคืนมันกลับให้ผู้เรียก method ถ้าไม่ให้ค่า i มันจะลบสมาชิกตัวสุดท้ายใน list |
index(x) | คืนตำแหน่งแรกใน list ที่ค่าของ list ที่ำตำแหน่งนั้นเท่ากับ x |
count(x) | นับจำนวน x ที่ปรากฎใน list |
sort() | เรียงลำดับค่าใน list |
reverse() | กลับลำดับของค่าใน list จากหน้าไปหลังเป็นหลังไปหน้า |
ตัวอย่าง
>>> a = [66.25, 333, 333, 1, 1234.5] >>> print a.count(333), a.count(66.25), a.count('x') 2 1 0 >>> a.insert(2, -1) >>> a.append(333) >>> a [66.25, 333, -1, 333, 1, 1234.5, 333] >>> a.index(333) 1 >>> a.remove(333) >>> a [66.25, -1, 333, 1, 1234.5, 333] >>> a.reverse() >>> a [333, 1234.5, 1, 333, -1, 66.25] >>> a.sort() >>> a [-1, 1, 66.25, 333, 333, 1234.5]
Method ของ Dictionary
ชื่อ | หน้าที่ |
---|---|
has_key(k) | ตรวจสอบว่าใน dictionary มีคีย์ k หรือไม่ |
items() | คืน list ของคู่ลำดับ (key, value) ทั้งหมดใน dictionary ออกมา |
keys() | คืน list ของค่าคีย์ทั้งหมดใน dictionary ออกมา |
values() | คืน list ของค่า value ทั้งหมดใน dictionary ออกมา |
clear() | ลบการจับคู่ทั้งหมดออกจาก dictionary |
>>> tel = {'guido':4127, 'jack':4098, 'sape':4139}
>>> tel.keys()
['sape', 'jack', 'guido']
>>> tel.values()
[4139, 4098, 4127]
>>> tel.items()
[('sape', 4139), ('jack', 4098), ('guido', 4127)]
>>> tel.has_key('guido')
True
>>> tel.clear()
>>> tel
{}
Method ของสตริง
ชื่อ | หน้าที่ |
---|---|
count(sub[, start[, end]]) | นับจำนวนสตรีิง sub ใน method receiver ถ้าระบุ start และ end มาด้วยจะนับเฉพาะระหว่างตัวอักษรตำแหน่งที่ start ถึงตำแหน่งที่ end-1 |
find(sub[, start[, end]]) | คืนตำแหน่งที่สตริง sub ปรากฎอยู่ใน method receiver ถ้า sub ปรากฎอยู่หลายที่จะคืนตำแหน่งที่น้อยที่สุด ถ้าระบุ start และ end มาด้วยจะค้นหาเฉพาะระหว่างตัวอักษรตำแหน่งที่ start ถึงตำแหน่งที่ end-1 |
index(sub[, start[, end]]) | เหมือน find แต่จะเกิด error ขึ้นถ้าไม่พบ sub ใน method receiver |
join(seq) | ถ้า seq เป็น list หรือ tuple เมธอดนี้จะคืนสตริงที่เกิดจากการนำสตริงใน seq มาต่อกันโดยใช้ method receiver เป็นตัวคั่นระหว่างสตริงสองตัวใดๆ |
replace(old, new[, count]) | คืนสตริงที่เกิดจากการแทนสตริง old ทุกตัวที่ปรากฎอยู่ใน method receiver ด้วย new ถ้ากำหนด count มาด้วยจะแทนเฉพาะ old เพียง count ตัวแรกเท่านั้น |
split([sep [,maxsplit]]) | คืน list ของสตริงที่เกิดจากการแบ่ง receiver ออกเป็นส่วนๆ โดยมี sep เป็นตัวคั่นระหว่างส่วน ถ้าไม่ให้ระบุ sep มาให้จะใช้ช่องว่างหรือตัวอักษรประเภท whitespace อื่นๆ เป็นตัวขั้น ถ้าระุบุ maxsplit มาด้วยจะมีการแบ่งเพียง maxsplit ครั้งเท่านั้น |
strip([chars]) | คืนสตริงที่ได้จากการตัด whitespace ออกจากหัวและท้ายของ method receiver |
>>> s = " spam sausage spam spam bacon spam tomato and spam " >>> s.strip() 'spam sausage spam spam bacon spam tomato and spam' >>> s.count("spam") 5 >>> s.find("spam") 3 >>> s.replace("spam", "ham") ' ham sausage ham ham bacon ham tomato and ham ' >>> s.split() ['spam', 'sausage', 'spam', 'spam', 'bacon', 'spam', 'tomato', 'and', 'spam'] >>> '--'.join(s.split()) 'spam--sausage--spam--spam--bacon--spam--tomato--and--spam' >>> s.index("spam") 3 >>> s.index("ham") Traceback (most recent call last): File "<stdin>", line 1, in <module> ValueError: substring not found
หน้าก่อน: Dictionaries | สารบัญ | หน้าต่อไป: Classes |