รายงาน SIGGRAPH Asia 2009

จาก Theory Wiki
ไปยังการนำทาง ไปยังการค้นหา

เกี่ยวกับงาน

งาน SIGGRAPH Asia 2009 (http://www.siggraph.org/asia2009) เป็นงานสัมมนาทางวิชาการและแสดงนวัตกรรมทางคอมพิวเตอร์กราฟิกส์ ซึ่งจัดขึ้นในระหว่างวันที่ 16-19 ธันวาคม พ.ศ. 2552 ณ เมืองโยโกฮามา ประเทศญี่ปุ่น ภายในงานมีกิจกรรมที่หลากหลายดังต่อไปนี้

  1. การนำเสนอผลงานวิจัย ส่วนใหญ่มีเนื้อหาเกี่ยวกับการประยุกต์ใช้คอมพิวเตอร์เพื่อสร้างสื่อวิทัศน์ โดยเน้นการสร้างภาพนิ่งและภาพยนตร์สามมิติ นอกจากนี้ยังมีการนำเสนองานวิจัยทางด้านความสามารถในการมองเห็นของมนุษย์ (perception) และการประยุกต์ใช้คอมพิวเตอร์กับการถ่ายภาพ (computational photography) อีกด้วย งานวิจัยที่ได้รับคัดเลือกให้นำเสนอในงาน SIGGRAPH Asia 2009 จะถูกตีพิมพ์ลงใน special issue ของ ACM Transaction on Graphics ซึ่งเป็นวารสารวิชาการที่ได้รับการยอมรับและอ้างอิงถึงมากที่สุดในด้านคอมพิวเตอร์กราฟิกส์ และมี impact factor มาที่สุดเป็นอันดับที่ 5 ของวารสารทางวิทยาการคอมพิวเตอร์ทั้งหมดในปี พ.ศ. 2551 [1] อนึ่ง ในงานนอกจากจะมีการนำเสนอผลงานวิจัยเต็มแล้ว ยังมีการแสดงโปสเตอร์และการแสดงผลงานความยาวสั้น (sketches) อีกด้วย
  2. คอร์สเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์กราฟิกส์ โดยมีนักวิจัยทางคอมพิวเตอร์กราฟิกส์ชั้นนำ ตัวแทนจากบริษัทเกี่ยวกับเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ มาให้ความรู้ที่หลากหลาย ตั้งแต่ความรู้ทางเทคนิคเกี่ยวกับหัวข้อวิจัย ความรู้เกี่ยวกับการเขียนโปรแกรมขั้นพื้นฐาน ไปจนถึงทักษะในการสร้างภาพยนตร์สั้น ถ่ายภาพ และการพากย์เสียงในภาพยนตร์การ์ตูน
  3. โปรแกรมสำหรับนักการศึกษา ประกอบด้วย (1) การนำเสนอผลงานวิจัยทางด้านการศึกษาทางด้านคอมพิวเตอร์กราฟิกส์ หรือการใช้คอมพิวเตอร์กราฟิกส์ช่วยจัดการศึกษา (2) การนำเสนอแนวทางการศึกษาด้านคอมพิวเตอร์กราฟิกส์ของบริษัทหรือสถาบันศึกษาต่างๆ และ (3) การแสดงปาฐกถาของผู้ทรงคุณวุฒิ
  4. งานออกร้าน ของบริษัทที่เกี่ยวข้องกับคอมพิวเตอร์กราฟิกส์ เช่น Nvidia, Intel, และ Square-Enix และสถาบันการศึกษาที่มีหลักสูตรทางคอมพิวเตอร์กราฟิกส์ เช่น มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีโตเกียว, มหาวิทยาลัยเคโอ, และมหาวิทยาลับ Academy of Art เป็นต้น
  5. งานแสดงศิลปะ ซึ่งโดยมากเป็นสื่อประสมที่ผู้ใช้สามารถจับต้องและมีปฏิสัมพันธ์ด้วยได้ เช่น การจำลองสิ่งมีชีวิตเสมือนซึ่งเคลื่อนที่มาเต็มบริเวณหน้าจอเมื่อผู้ใช้ส่งเสียง (http://artificialnature.mat.ucsb.edu/) เป็นต้น
  6. การฉายอนิเมชันที่สร้างจากคอมพิวเตอร์ งาน SIGGRAPH เปิดให้บริษัททำอนิเมชันและนักศึกษาทางศิลปะส่งภาพยนตร์อนิเมชันมาประกวด ภาพยนตร์ที่ได้รับคัดเลือกจำนวนหนึ่งจะถูกนำไปฉายในหอประชุมใหญ่ในตอนเย็นของทุกวันที่มีงานประชุม อีกส่วนหนึ่งจะนำไปฉายเป็นรอบๆ ในห้องขนาด 60 ที่นั่งตลอดทั้งวัน

การนำเสนอผลงานวิจัย

กระผม (นายประมุข ขันเงิน) ได้เข้าฟังการนำเสนอผลงานวิจัยดังต่อไปนี้

  1. Micro-Rendering for Scalable, Parallel Final Gathering โดย Tobias Ritschel, T. Engelhardt, T. Grosch, Hans-Peter Seidel, Jan Kautz, และ Carsten Dachsbacher
  2. All-Frequency Rendering of Dynamic, Spatially-Varying Reflectance โดย Jiaping Wang, Peiran Ren, Minmin Gong, John Snyder, และ Baining Guo
  3. Depth-of-Field Rendering with Multiview Synthesis โดย Sungkil Lee, Elmar Eisemann, และ Hans-Peter Seidel
  4. Amortized Supersampling โดย Lei Yang, Diego Nehab, Pedro V. Sander, พิชญะ สิทธิอมร, Jason Lawrence, และ Hugues Hoppe
  5. Adaptive Wavelet Rendering โดย Ryan S. Overbeck, Craig Donner, และ Ravi Ramamoorthi
  6. Stochastic Progressive Photon Mapping โดย Toshiya Hachisuka, Henrik Wann Jensen
  7. Automatic Bounding of Programmable Shaders for Efficient Global Illumination โดย Edgar Velazquez-Armendariz, Shuang Zhao, Milos Hasan, Bruce Walter, และ Kavita Bala
  8. Virtual Spherical Lights for Many-Light Rendering of Glossy Scenes โดย Milos Hasan, Jaroslav Krivanek, Bruce Walter, และ Kavita Bala
  9. Structured Annotations for 2D-to-3D Modeling โดย Yotam Gingold, Takeo Igarashi, และ Denis Zorin
  10. Analytic Drawing of 3D Scaffolds โดย Ryan Schmidt, Azam Khan, Karan Singh, และ Gord Kurtenbach
  11. DiagSplit: Parallel, Crack-Free, Adaptive Tessellation for Micropolygon Rendering โดย Matthew Fisher, Kayvon Fatahalian, Solomon Boulos, Kurt Akeley, William R. Mark, และ Pat Hanrahan
  12. Approximating Subdivision Surfaces with Gregory Patches for Hardware Tessellation โดย Charles Loop, Scott Schaefer, Tianyun Ni, และ Ignacio Castano
  13. Debugging GPU Stream Programs Through Automatic Dataflow Recording and Visualization โดย Qiming Hou, Kun Zhou, และ Baining Guo
  14. Real-Time Parallel Hashing on the GPU โดย Dan A. Alcantara, Andrei Sharf, Fatemeh Abbasinejad, Shubhabrata Sengupta, Michael Mitzenmacher, John D. Owens, และ Nina Amenta
  15. RenderAnts: Interactive REYES Rendering on GPUs โดย Kun Zhou, Qiming Hou, Zhong Ren, Minmin Gong, Xin Sun, และ Baining Guo
  16. Optimizing walking controllers โดย Jack M. Wang, David J. Fleet, และ Aaron Hertzmann
  17. Robust Task-based Control Policies for Physics-based Characters โดย Stelian Coros, Philippe Beaudoin, และ Michiel van de Panne
  18. Modeling Spatial and Temporal Variation in Motion Data โดย Manfred Lau, Ziv Bar-Joseph, และ James Kuffner
  19. Real-Time Prosody-Driven Synthesis of Body Language โดย Sergey Levine, Christian Theobalt, และ Vladlen Koltun

คอร์สเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์กราฟิกส์

กระผม (นายประมุข ขันเงิน) ได้เข้าฟังคอร์สต่อไปนี้

  1. Build Your Own 3D Scanner: Optical Triangulation for Beginners
  2. Casting Shadows in Real Time
  3. Theory and Methods of Lightfield Photography