ผลต่างระหว่างรุ่นของ "204111:lab1"

จาก Theory Wiki
ไปยังการนำทาง ไปยังการค้นหา
แถว 29: แถว 29:
 
  2 + 3
 
  2 + 3
  
เมื่อพิมพ์แล้วให้กด Enter จะได้ผลลัพธ์ดังต่อไปนี้  (ส่วนที่พิมพ์แสดงเป็นสีเขียว ผลลัพธ์เป็นสีแดง)
+
เมื่อพิมพ์แล้วให้กด Enter จะได้ผลลัพธ์ดังต่อไปนี้  (ในรูปเน้นส่วนที่พิมพ์เป็นสีเขียว ส่วนผลลัพธ์เป็นสีแดง)
  
 
[[Image:Wingide-expr1.png]]
 
[[Image:Wingide-expr1.png]]
  
พิมพ์คำสั่งต่อไปนี้ตามลำดับ
+
ในส่วนต่อ ๆ ไป เราอาจจะแสดงผลลัพธ์จากการโต้ตอบกับ Python Shell ในลักษณะคล้ายกับรูปข้างต้นนี้ กล่าวคือ บรรทัดที่เราป้อนเข้าไปจะขึ้นต้นด้วยเครื่องหมาย >>> พร้อมทั้งเน้นด้วยตัวหนา ส่วนบรรทัดที่ Python ตอบมาจะแสดงเป็นบรรทัดที่ไม่มีเครื่องหมายดังกล่าวขึ้นต้นแต่จะแสดงด้วยตัวอักษรเอียงแทน  เช่นจากตัวอย่างข้างต้น แทนที่จะใช้รูปเราอาจจะเขียนได้ดังนี้
 +
 
 +
'''>>> 2 + 3'''
 +
''5''
 +
 
 +
ให้นิสิตทดลองกับ Python Shell โดยพิมพ์คำสั่งต่อไปนี้ตามลำดับ
  
 
  2 + 3 * 5
 
  2 + 3 * 5

รุ่นแก้ไขเมื่อ 14:30, 29 พฤษภาคม 2553

ปฏิบัติการแรกของวิชา 20411 ตามแผนร่างหัวข้อวิชา 204111 มีเป้าหมายดังนี้

  • หัดใช้ WingIDE และรู้จักความผิดพลาดและปัญหาในโปรแกรมภาษาไพธอนที่เกิดจากการพิมพ์ผิด
  • หัดใช้ Console
  • ทดลอง Turtle Graphics
  • หัดพิมพ์และทดลองโปรแกรมภาษา Python

รู้จักกับ WingIDE

เมื่อเราเข้าสู้โปรแกรม Wing IDE 101 เราจะพบหน้าจอดังรูปด้านล่าง

Wingide1.png

หน้าจอดังกล่าวโดยปกติจะถูกแบ่งออกเป็น 3 ส่วน ดังนี้

  • ส่วนที่ 1 คือส่วนสำหรับพิมพ์และแก้ไขโปรแกรม ถ้าส่วนนี้ว่างอยู่ สามารถกดปุ่ม New ที่บนทูลบาร์เพื่อเปิดไฟล์โปรแกรมว่างมาเพื่อแก้ไขได้
  • ส่วนที่ 2 และ 3 คือส่วนพื้นที่เครื่องมือ โดยปกติในส่วนที่ 3 จะมีแท็บ Python Shell อยู่ ซึ่งเราจะใช้เพื่อพิมพ์คำสั่งโต้ตอบกับ Python

ส่วน Python Shell แสดงดังรูปด้านล่าง สังเกตว่าเราเลือกแท็บ Python Shell อยู่ไม่ใช่แท็บ Debug I/O (แสดงเป็นแถบสีส้ม)

Wingide-python-shell.png

เราจะทดลอง Python โดยพิมพ์คำสั่งลงในส่วนดังกล่าวของ Wing IDE 101

หัดพิมพ์โปรแกรมและทดลองแบบโต้ตอบ

ทดลองพิมพ์คำสั่งต่อไปนี้ (พิมพ์ต่อเครื่องหมาย >>> )

2 + 3

เมื่อพิมพ์แล้วให้กด Enter จะได้ผลลัพธ์ดังต่อไปนี้ (ในรูปเน้นส่วนที่พิมพ์เป็นสีเขียว ส่วนผลลัพธ์เป็นสีแดง)

Wingide-expr1.png

ในส่วนต่อ ๆ ไป เราอาจจะแสดงผลลัพธ์จากการโต้ตอบกับ Python Shell ในลักษณะคล้ายกับรูปข้างต้นนี้ กล่าวคือ บรรทัดที่เราป้อนเข้าไปจะขึ้นต้นด้วยเครื่องหมาย >>> พร้อมทั้งเน้นด้วยตัวหนา ส่วนบรรทัดที่ Python ตอบมาจะแสดงเป็นบรรทัดที่ไม่มีเครื่องหมายดังกล่าวขึ้นต้นแต่จะแสดงด้วยตัวอักษรเอียงแทน เช่นจากตัวอย่างข้างต้น แทนที่จะใช้รูปเราอาจจะเขียนได้ดังนี้

>>> 2 + 3
5

ให้นิสิตทดลองกับ Python Shell โดยพิมพ์คำสั่งต่อไปนี้ตามลำดับ

2 + 3 * 5
(2 + 3) * 5

เปรียบเทียบคำตอบที่ได้จากสองคำสั่ง

x
x = 10
x

เปรียบเทียบคำตอบที่ได้จากคำสั่งทั้ง 3

ทดลองคำสั่งต่อไปนี้ (พิมพ์ไปตามลำดับ)

x * 5
y = 20
y * x
y = x
y * x
y = y + 1
y * x

Turtle Graphics

เกมทายเลข