204111:lab1

จาก Theory Wiki
ไปยังการนำทาง ไปยังการค้นหา

ปฏิบัติการแรกของวิชา 20411 ตามแผนร่างหัวข้อวิชา 204111 มีเป้าหมายดังนี้

  • หัดใช้ WingIDE และรู้จักความผิดพลาดและปัญหาในโปรแกรมภาษาไพธอนที่เกิดจากการพิมพ์ผิด
  • หัดใช้ Python แบบโต้ตอบ ผ่านทาง Python Shell
  • ทดลอง Turtle Graphics
  • หัดพิมพ์และทดลองโปรแกรมภาษา Python

รู้จักกับ WingIDE

เมื่อเราเข้าสู้โปรแกรม Wing IDE 101 เราจะพบหน้าจอดังรูปด้านล่าง

Wingide1.png

หน้าจอดังกล่าวโดยปกติจะถูกแบ่งออกเป็น 3 ส่วน ดังนี้

  • ส่วนที่ 1 คือส่วนสำหรับพิมพ์และแก้ไขโปรแกรม ถ้าส่วนนี้ว่างอยู่ สามารถกดปุ่ม New ที่บนทูลบาร์เพื่อเปิดไฟล์โปรแกรมว่างมาเพื่อแก้ไขได้
  • ส่วนที่ 2 และ 3 คือส่วนพื้นที่เครื่องมือ โดยปกติในส่วนที่ 3 จะมีแท็บ Python Shell อยู่ ซึ่งเราจะใช้เพื่อพิมพ์คำสั่งโต้ตอบกับ Python

ส่วน Python Shell แสดงดังรูปด้านล่าง สังเกตว่าเราเลือกแท็บ Python Shell อยู่ไม่ใช่แท็บ Debug I/O (แสดงเป็นแถบสีส้ม)

Wingide-python-shell.png

เราจะทดลอง Python โดยพิมพ์คำสั่งลงในส่วนดังกล่าวของ Wing IDE 101 เพื่อสร้างความคุ้นเคยกับแนวคิดพื้นฐานต่าง ๆ สิ่งที่เราทดลองนี้จะได้ไปเรียนอย่างละเอียดอีกครั้งในการบรรยายครั้งที่ 2

หัดพิมพ์โปรแกรมและทดลองแบบโต้ตอบ

ทดลองพิมพ์คำสั่งต่อไปนี้ (พิมพ์ต่อเครื่องหมาย >>> )

2 + 3

เมื่อพิมพ์แล้วให้กด Enter จะได้ผลลัพธ์ดังต่อไปนี้ (ในรูปเน้นส่วนที่พิมพ์เป็นสีเขียว ส่วนผลลัพธ์เป็นสีแดง)

Wingide-expr1.png

ในส่วนต่อ ๆ ไป เราอาจจะแสดงผลลัพธ์จากการโต้ตอบกับ Python Shell ในลักษณะคล้ายกับรูปข้างต้นนี้ กล่าวคือ บรรทัดที่เราป้อนเข้าไปจะขึ้นต้นด้วยเครื่องหมาย >>> พร้อมทั้งเน้นด้วยตัวหนา ส่วนบรรทัดที่ Python ตอบมาจะแสดงเป็นบรรทัดที่ไม่มีเครื่องหมายดังกล่าวขึ้นต้นแต่จะแสดงด้วยตัวอักษรเอียงแทน เช่นจากตัวอย่างข้างต้น แทนที่จะใช้รูปเราอาจจะเขียนได้ดังนี้

>>> 2 + 3     # นี่คือบรรทัดที่เราพิมพ์
5                     # นี่คือผลลัพธ์

ในการใช้งาน Python Shell ระบบจะรับสิ่งที่เราพิมพ์เข้าไปแล้วนำไปประมวลผล ถ้าเป็นนิพจน์ (เช่น 2 + 3) ระบบจะคำนวณค่าแล้วแสดงผลลัพธ์ออกมา

นิพจน์นั้นอาจจะเป็นแค่ค่าคงที่ธรรมดา เช่น

>>> 100
100

หรืออาจมีความซับซ้อนก็ได้ เช่น

>>> 1+2+3+4+5+6+7*100-30
691

หรือ

>>> 1/2 + 1/4 + 1/8 + 1/16
0.9375

เป็นต้น

ในส่วนต่อ ๆ ไป ให้นิสิตทดลองกับ Python Shell โดยพิมพ์คำสั่งที่ระบุให้ตามลำดับ

วงเล็บ

เราสามารถใช้ Python เป็นเหมือนเครื่องคิดเลขได้ ทดลองพิมพ์นิพจน์สองนิพจน์นี้

2 + 3 * 5
(2 + 3) * 5

ผลลัพธ์ของทั้งสองคำสั่งต่างกันเพราะอะไร?

พิจารณาคำสั่งด้านล่าง และให้คาดการณ์ผลลัพธ์ก่อนที่จะทดลองพิมพ์ใน Python Shell

2 + (3 * 5)

ตัวแปร

สำหรับนิพจน์ที่ได้คำนวณค่าแล้ว เราสามารถนำค่าที่ได้นั้นมาใช้ได้อีก โดยไม่ต้องคำนวณซ้ำ ๆ ผ่านทาง ตัวแปร

เราสามารถกำหนดค่าให้กับ ตัวแปร ได้โดยใช้เครื่องหมาย = เช่น (ทดลองพิมพ์ตามไปด้วย)

g = 9.81

การกำหนดค่าให้กับตัวแปรเป็นการสั่งให้ตัวแปร อ้างถึง ค่านั้น เขียนอธิบายเป็นรูปได้ดังนี้

Var-assignment.png

หมายเหตุ: ระหว่างตัวแปรและเครื่องหมายเท่ากับไม่จำเป็นต้องเว้นช่องว่างก็ได้ อย่างไรก็ตามเราแนะนำให้เว้นเพื่อให้อ่านได้ง่าย

เราสามารถนำตัวแปรมาใช้งานได้ดังนี้

>>> g
9.81
>>> 10 * g
98.10000000000001

หมายเหตุ: เครื่องหมาย * คือเครื่องหมายแทนการคูณ สังเกตว่าความละเอียดของการคำนวณบนคอมพิวเตอร์มีจำกัด แทนที่เราจะได้ค่า 98.1 พอดี กลับมีเศษเล็กน้อยรวมมาด้วย

เราเรียกตัวแปรว่าตัวแปร เพราะว่าเราสามารถกำหนดค่าใหม่ให้กับมันได้ ดังเช่นการทดลองต่อไปนี้

>>> g
9.81
>>> g + 5
14.81
>>> g = 100
>>> g + 5
105

พิจารณาการทำงานต่อไปนี้ (ทดลองพิมพ์ไปด้วย)

>>> a = 100
>>> b = a + 10
>>> b
110
>>> a = 200
>>> a + 10
210
>>> b
110

เราสังเกตอะไรได้จากการทดลองนี้?

ทดลองพิมพ์คำสั่งทั้ง 3 นี้

x
x = 10
x

เปรียบเทียบคำตอบที่ได้จากคำสั่งทั้ง 3

ทดลองคำสั่งต่อไปนี้ (พิมพ์ไปตามลำดับ)

x * 5
y = 20
y * x
y = x
y * x
y = y + 1
y * x

อธิบายได้หรือไม่ว่าคำสั่ง y = y + 1 ทำอะไร

เต่ายนต์

Turtle.png

ในส่วนนี้เราจะทดลองการสั่งงานคอมพิวเตอร์ให้สร้างสรรค์งานศิลปะแบบง่าย ๆ เพื่อฝึกการคิดแบบเป็นขั้นตอน เราจะได้ทดลองวาดภาพโดยการควบคุม เต่ายนต์ ให้นึกถึงว่าเต่ำนี้เป็นเต่าที่ถือปากกา และเราจะสามารถสั่งเต่าให้เดินไปมาพร้อม ๆ กับลากปากกาดังกล่าวสร้างสรรค์รูปออกมาได้

สิ่งสำคัญที่สุดของการทำแบบฝึกหัดนี้ก็คือ อย่ากลัวที่จะผิดพลาด!!!

เปิดหน้าต่างเต่า

เราจะทำงานที่ส่วน Python Shell เป็นหลัก อย่างไรก็ตามส่วนนี้มีขนาดเล็กเมื่อเทียบกับหน้าจอทั้งหมดของ Wing IDE 101 ดังนั้นให้ขยายขนาดของส่วนดังกล่าว โดยกดลากที่บริเวณขอบของส่วนดังกล่าว (อาจจะมองไม่เห็นขอบ แต่ให้บริเวณลูกศรเปลี่ยนเป็นสัญลักษณ์ลูกศรสองหัวสำหรับลาก) เมื่อขยายแล้วให้ได้หน้าจอลักษณะดังรูปด้านล่าง

Wingide-big-python-shell.png

เมื่อปรับดังกล่าวได้แล้วให้ย่อหน้าต่าง Wing IDE ให้มีขนาดประมาณ 1/2 ของหน้าจอ (ถ้าหน้าต่างขยายเต็มที่อย่าลืมกดปุ่มมุมบนขวาให้หน้าต่างเลิกขยายเต็มจอก่อน) ดูขนาดโดยประมาณได้จากรูปหลังจากการเปิดหน้าต่างเต่าแล้ว

เราจะเริ่มใช้งานระบบ Turtle graphics โดยการประกาศเรียกโมดูล turtle ก่อน โดยพิมพ์คำสั่งด้านล่างลงใน Python shell

from turtle import *

จากนั้นให้สั่ง สร้าง เต่า แล้วกำหนดค่าให้ตัวแปร t อ้างถึงเต่าตัวนั้น โดยพิมพ์คำสั่ง

t = Turtle()

จะมีหน้่าต่างชื่อ Python Turtle Graphics ปรากฏขึ้น หน้าต่างนี้อาจจะใช้เวลาเล็กน้อยก่อนจะปรากฏขึ้น และอาจจะอยู่ด้านหลังหน้าต่าง Wing IDE ให้กดเลือกเพื่อเลื่อนขึ้นมาด้านหน้า

จากนั้นปรับขนาดของหน้าต่างทั้งสองหน้าต่างให้เห็นได้ทั้งคู่พร้อม ๆ กัน เพราะว่าเราจะสั่งงานที่ Wing IDE แต่ภาพวาดของเต่าจะแสดงที่หน้าจอใหม่นี้ ตัวอย่างแสดงดังรูปด้านล่าง

Wingide-and-turtle-windows.png

เมื่อได้ดังนี้แล้ว ลองพิมพ์

t.forward(100)

จะเห็นเส้นลากไปทางขวา (ผลจากการลากปากกา) พร้อมเครื่องหมายลูกศร (แสดงถึงตำแหน่งและทิศทางการหันของเต่า) นั่นคือเราพร้อมจะทดลองกับเต่ายนต์แล้ว

ทดลองคำสั่ง

จากเส้นดังกล่าว ทดลองสั่งคำสั่งต่อไปนี้ทีละคำสั่ง และสังเกตพฤติกรรมของเต่ายนต์

t.right(90)
t.forward(200)

การสั่ง forward และ right ทำให้เต่ายนต์ทำอะไร?

ทดลองสั่งให้เต่ายนต์เคลื่อนที่จนกระทั่งได้รูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าขนาด 100 x 200 ดังตัวอย่างด้านล่าง

Turtle-rectangle.png

ทดลองสั่งให้เต่ายนต์เคลื่อนที่ต่อจนกระทั่งได้รูปบ้านดังตัวอย่างด้านล่าง

มาวาดรูปกัน!

วงกลม

ทดลองเขียนโปรแกรม

เกมทายเลข